โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Leader-Traits in Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity
  • ผู้วิจัยนายปนะวรรตน์ คงสัตย์ชนะค้า
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. ณัทธีร์ ศรีดี
  • ที่ปรึกษา 2พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/778
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 184
  • จำนวนผู้เข้าชม 366

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  โดยการศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์นักวิชาการทั้งสองศาสนา ผลการศึกษาพบว่า

พระพุทธศาสนาเถรวาท มีทัศนะว่า คุณลักษณะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่สามารถชักพาให้คนอื่นเคลื่อนไหวหรือกระทำการในทิศทางที่ผู้นำกำหนดเป้าหมายไว้ ประกอบไปด้วยคุณสมบัติสองประการ ได้แก่ 1) คุณสมบัติภายใน คือ คุณธรรมจริยธรรม 2) คุณสมบัติภายนอก บุคลิกลักษณะที่ดีพร้อมที่สามารถที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น และมีลักษณะของผู้นำที่ยึดหลักธรรมในการปกครอง เรียกว่า ธรรมราชา และ ผู้นำที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ เรียกว่า เทวราชา หลักธรรมของผู้นำแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักธรรม ดังนี้ 1) หลักธรรมในการบริหารตน ได้แก่ สติ และสัมปชัญ ญะ  เบญจศีลและเบญจธรรม  สัปปุริสธรรม  หิริและโอตตัปปะ 2) หลักธรรมในการบริหารคน ได้แก่  พรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรม จริต 6 อคติธรรม 3) หลักธรรมในการบริหารงาน ได้แก่ โยนิโสมนสิ การ อิทธิบาทธรรม ทศพิธราชธรรม 4) หลักธรรมในการบริหารทรัพย์สิน ได้แก่ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 โภควิภาค 4 สมชีวิตาธรรม

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีทัศนะว่า คุณลักษณะผู้นำในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคา ทอลิก คือ ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งด้วยการรับพระพรหรือการเจิมจากพระเจ้า และยังหมายถึงผู้ที่ปรารถนาทำหน้าที่ปกครองดูแลผู้ทุกข์ยากในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นคนของพระเจ้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลบ้านของพระเจ้า และมีหัวใจเป็นผู้รับใช้ด้วยจิตวิญญาณ เป็นผู้ที่มีลักษณะตรงตามอุดมคติของพระเป็นเจ้า หลักธรรมของผู้นำแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักธรรม ดังนี้ 1) หลักธรรมในการบริหารตน ได้แก่ หลักตรีเอกภาพ รับเอาศีลศักดิ์สิทธิ์ บทบัญญัติ 10 ประการ ละบาป หลักพระอาณาจักรของพระเจ้า 2) หลักธรรมในการบริหารคน ได้แก่ หลักความรัก การสง เคราะห์ช่วยเหลือ 3) หลักธรรมในการบริหารงาน ได้แก่ความพอประมาณ ความรอบคอบ ความยุตธรรม และความกล้าหาญ อดทนต่อความโกรธ 4) หลักธรรมในการบริหารทรัพย์สิน ได้แก่ หลักการแบ่งปัน

กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนที่เหมือนกันคือ ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปกครองและมีบท บาทในการชักพาให้ผู้อื่นปฏิบัติตามเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ส่วนที่ต่างกันคือการดำรงตำแหน่งของผู้นำ โดยพระพุทธศาสนาเถรวาท กล่าวถึง การเป็นผู้นำต้องได้รับการยอมรับจากปวงชน ส่วนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก การเป็นผู้นำต้องได้รับการยอมรับจากพระเจ้า

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has three objectives: 1) to study the leader-traits in Theravada Buddhism, 2) to study the leader-traits in Roman Catholic Christianity, and 3) to comparatively study of the leader-traits in Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity by collecting data from documents and interview academicians of both Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity.

The results of study were as follow:

Theravada Buddhism is of the view that the trait of the leader is the leader who can enable others to move or act in the direction, in which the leader has set its goal, consisting of two traits: 1) internal trait—virtue and morality, ,2) external trait—the perfected character that would be able to influence other, and the character of the leader that adheres in dhamma for ruling  is called ‘the Righteous King,’ in addition, the leader who is appreciated to be the leader is called the Divine King.’ Dhammas of the leader has been divided into four groups: 1) dhamma for self-governing—mindfulness and apprehension, five precepts and five ennobling virtues, qualities of a good man, moral shame, and moral dread, 2) dhamma for governing other— four sublime states of mind, principles of service and social integration, six intrinsic natures, and avoiding of three prejudices,  3) dhama for governing work— critical reflection, paths of accomplishment, and tenfold virtues of the ruler, and 4) dhamma for governing properties—four present benefit, four divisions of properties, and balanced livelihood.

Roman Catholic Christianity is of the view that the leader-trait means the leader who was appointed by receiving blessing or anointing from God, and also means one who wishes to govern and take care of the needy as the one who serves others, who has the character suitable for being man of God in order to do duties for taking care of the home of God, who has the spiritual service, and who has the character in accordance with the will of God. The principles of the leader have been divided into four groups: 1) principle for self-governing—trinity, Communion, ten commandments, abandoning of evil, and the kingdom of God, 2) principle for governing other—love, and helping others, 3) principle for governing work—balance, deliberation, justice, courage, and bearing with anger, and 4) principle for governing properties—charity.

In conclusion, the similar leader-trait in the view of Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity was that the leader means one who has knowledge and capability for ruling, and one who has the role for enabling others to follow him in order to lead them to emancipate from suffering; the different point of them was that of the taking position of the leader, Theravada Buddhism mentions of being leader has to  be accepted by people, whereas in Roman Catholic Christianity, being leader has to be accepted by God.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 19.44 MiB 184 16 มิ.ย. 2564 เวลา 03:16 น. ดาวน์โหลด