-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPolitical socialization in democracy of youth, Nong Chang District, Uthai Thani Province
- ผู้วิจัยพระณัฐพงษ์ ณฏฺฐวํโส (สุดใจ)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พรรษา พฤฒยางกูร
- วันสำเร็จการศึกษา12/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/790
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 16
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.979 กลุ่มตัวอย่างคือเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 363 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 3,894 คน จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสถาบันศาสนา ( =3.92) อยู่ในระดับมาก ด้านสถาบันการศึกษา ( =3.58) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน ( =3.55) และด้านสถาบันครอบครัว ( =3.42) อยู่ในระดับปานกลางและสถาบันทางการเมือง ( =3.12, S.D.=0.92) อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า เยาวชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนเยาวชนที่มีเพศ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ด้านสถาบันครอบครัว ปัญหาคือ การแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นการสร้างความกดดันทางการเมืองสำหรับคนที่ต้องการอำนาจแนวทางแก้ไขคือ การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่างร่วมกัน หันหน้าปรึกษาหาแนวทางร่วมกัน ด้านสถาบันการศึกษาปัญหาคือ การสนทนาการเมือง ส่วนใหญ่ทำให้เกิดความแตกแยก ขาดการเปิดใจยอมรับ ไม่ค่อยจะเกิดความสามัคคีแนวทางแก้ไขคือ จัดเวทีให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้เสนอตน แสดงภูมิรู้ และความสามารถให้ประชาชนได้พิจารณา ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อนปัญหาคือ เจ้าหน้าบางคนทำตัวชี้นำ แสดงออกให้เห็นว่า ฝ่ายไหนควรชนะการเลือกตั้ง แนวทางแก้ไขคือเจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องวางตัวเป็นกลางด้านการจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง ด้านสถาบันศาสนา ปัญหาคือ ประชาชนโดยทั่วไปจะไม่ค่อยทราบว่าการเข้าร่วมพรรคการเมือง ควรส่งเสริม สนับสนุนประชาชน ให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ด้านสถาบันทางการเมืองคือ เจ้าหน้าบางคนทำตัวชี้นำ แสดงออกให้เห็นว่า ฝ่ายไหนควรชนะการเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องวางตัวเป็นกลาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the Political socialization in democracy of youth, Nong Chang District, Uthai Thani Province 2. To compare Political socialization in democracy of youth, Nong Chang District, Uthai Thani Province classified by personal data, and 3. To study problems obstacles and recommendations for Political socialization in democracy of youth, Nong Chang District, Uthai Thani Province
Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data with questionnaires that had total reliability value at 0.976 from 363 samples, derived from 3,494 at youth, Nong Chang District, Uthai Thani Province, using Taro Yamane’s formula with significance level set at 0.05. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, SD, hypothesis tested by t-test, F-test. The open-ended questionnaires were analyzed by frequency. The qualitative research collected data from 8 key informants by in-depth-interviewing, analyzed data by descriptive interpretation.
Findings of the research were as follows:
1. The level of political support in the democratic system of youths in Nong Chang District Uthai Thani Province Overall, at a high level (= 3.58) When classified by side, the mean from descending order was as follows: Religious Institutions (= 3.92) were at a high level. Educational institutions (= 3.58), community and peer groups (= 3.55) and family institutions (= 3.42) were at the moderate level and political institutions (= 3.12, SD = 0.92 ) Is at a low level, respectively.
2. The comparison results showed that Youth of different ages There are opinions on the political persuasion in the democratic system of youth in Nong Chang District. Uthai Thani Province, Overall, the difference was statistically significant at the 0.05 level, so the research hypothesis was accepted. As for youth with different sex, education and occupation, There is no different opinion on political conditioning in youth democracy. Therefore reject the research hypothesis.
3. Problems, obstacles and recommendations on the political persuasion in youth democracy gave the following opinion: Family institution. The problem is party division. This creates political pressure for people who need power. Open-mindedness and acceptance of differences, Turned to consult to find a solution together As for educational institutions, the problem is Political conversation Most of them cause breakage. Lack of open-minded acceptance, Rarely will a unity occurs, the solution is Organize a forum for the candidates to present themselves to show their knowledge and abilities for the people to consider. the community and peers, the problem is Some officials took the lead. Showed that Which side should win the election, The solution is that government officials have to be neutral in organizing and joining political groups. As for religious institutions, the problem is that people generally do not know that joining a political party, Should promote and support the people Educate people About joining as a member of a political party, The political institutions are Some officials took the lead. Showed that Which side should win the election? And government officials must be neutral.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204013 | 6201204013 | 5.96 MiB | 16 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 05:49 น. | ดาวน์โหลด |