โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดสระบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel Development of Cultural Tourism Management in Saraburi Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการสุรศักดิ์ สุขุมาโล (คงเมือง)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระปลัดระพิน พุทธิสาโร, ผศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา21/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/799
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 42
  • จำนวนผู้เข้าชม 60

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค ของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรี 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรี 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรี

ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 18 รูปหรือคน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มี โครงสร้าง ใช้การศึกษาเอกสาร ประวัติศาสตร์ บทความ ผู้วิจัย และดำเนินการสนทนากลุ่มเฉพาะกับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงพรรณนาประกอบบริบท และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทาง สังคมศาสตร์เสนอข้อมูลประกอบเป็นตาราง

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรี บริหารจัดการโดยมีส่วนร่วมของชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยงานรัฐ มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สิ่งปลูกสร้างที่มีความวิจิตรสวยงามเหมาะแก่การศึกษา ประวัติศาสตร์และศิลปะประติมากรรม และมีการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีในวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนาที่โดดเด่นที่ชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การเดินทางก็สะดวก มีป้ายบอกทางใกล้กรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปกลับในวันเดียวได้ ส่วนปัญหา อุปสรรค ด้านชุมชนที่อยู่อาศัยรอบ ๆ บริเวณจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สุนัขจรจัดและคนจรจัดใช้ เป็นที่พักผ่อนขอทานสร้างความรำคาญให้แก่นักท่องเที่ยว รวมถึงร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านขายลอตเตอรี่ จัดวางขายไม่เป็นระเบียบ

2. กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรีด้านการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ของสถานที่ท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมงานวัฒนธรรมประเพณีโดยใช้ การพิมพ์ซอง รถเร่ประชาสัมพันธ์ติดป้ายไวนิล ด้านบุคลากรส่วนมากเป็นผู้มีอายุและเป็นคนในพื้นที่ ที่มีจิตอาสารวมทั้งพระภิกษุสามเณรในวัดมาช่วยดูแลสถานที่และจัดงานกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการ บริการข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ของสถานที่ แนะนำเส้นทาง และการจัดสถานที่เป็นจุดเด่นเพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ส่วนด้านการรักษาความปลอดภัยได้ตั้งจุดคัดกรองวัดไข้ แจกใช้ ผ้าปิดจมูก แอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือเพื่อป้องกันไวรัสโควิด 19 ติดตั้งกล้องวงจรปิดและมีเจ้าหน้าที่ คอยดูแลตลอดเวลา

3. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสระบุรี ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์การจัดทำแผนที่การท่องเที่ยว สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ (Web Site), เพจ (Page), Facebook, Instagram, Line, YouTube ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน ด้านการจัดการ บุคลากรการมีส่วนร่วม ฝึกอบรมด้านทักษะการเพิ่มความรู้ฝึกอบรมด้านภาษาต่างประเทศ ปลูกฝัง จิตสำนึกที่ดีในการงาน ด้านการบริการให้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง รับฟังข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ด้านการรักษาความปลอดภัยตรวจตราในบริเวณลาน จอดรถดูแลรักษาความสงบติดตั้งกล้องวงจรปิดให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ให้มีความปลอดภัยแก่ นักท่องเที่ยวหรือผู้แสวงบุญอยู่ตลอดเวลา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this Dissertation were: 1. To analytically study the present condition, problems and obstacles of model development of cultural tourism management in Saraburi Province, 2. To study the model development process of the cultural tourism management in Saraburi Province and 3. To propose the model development of cultural tourism management in Saraburi Province.

Methodology was the mixed-methods: The qualitative research, data were collected from 18 key informants by structured in-depth-interview, history documents and articles and from 9 participants in focus group discussion. Data were analyzed by descriptive interpretation. The quantitative research, data were collected from 359 samples with questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation and presented in form of tables.

The research findings were as follows;

1. The present conditions of the management of cultural tourism management in Saraburi Province were found that there were participatory management from communities, monasteries, schools, government agencies. There were many tourism resources, such as ancient places, antiques, beautiful buildings suitable for historical studies arts and crafts, prominent cultural activities in important Buddhist holidays that Thai and foreign tourists were interested in. Communication is convenient with direction signs all the way. The round trip travelling from Bangkok to Saraburi can be done in one day. As for problems and obstacles, communities surrounding the cultural tourist attraction were not orderly. Stray dogs and cats, vagrants and beggars used the places as home, annoying tourists. Convenient shops, lottery hawkers were not placed orderly.

2. Management process of cultural tourism in Saraburi Province, advertising and public relations for tourist attractions and cultural activities used travelling vehicles with vinyl billboard. Personnel mostly were seniors from the communities with volunteering minds including monks and novices to look after the places and organize cultural activities, information of historical sites, route direction, landmark for souvenir picture. As for the safety and security, there were screening points to check temperature, mask wearing and jell for hand cleaning to prevent Covid 19 with close circuit cameras with personnel on duty at all times.

3. The model development of cultural tourism management in Saraburi Province: Advertising and public relations; the map of tourist sites with print media, Websites, page, Facebook, Instagram, Line, YouTube in English and Asian languages. Participatory personnel; training for skills and foreign languages, implanting good attitude for working, good service and correct information and recommendation. Recommendation; tourist satisfaction, safety and peace surveillance in the parking lots, closed circuit cameras installment covering the whole areas for safety protection for tourists and pilgrims at all times.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101104022 6101104022 8.39 MiB 42 16 มิ.ย. 2564 เวลา 07:02 น. ดาวน์โหลด