โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStrategy for Teacher Competency Development as Buddhist Integration under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3
  • ผู้วิจัยนายหวิน จำปานิน
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา21/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/802
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 331
  • จำนวนผู้เข้าชม 598

บทคัดย่อภาษาไทย

  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ของสมรรถนะข้าราชการครู (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะครู (3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการ ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เป็นพระภิกษุ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา  กลุ่มศึกษานิเทศก์ และกลุ่มข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 30 คน และในเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3  จำนวน 223 คน        

   ผลการวิจัยพบว่า

   1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไป ในการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการครู พบว่า การพัฒนาสมรรถนะครูมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องของภารกิจหลัก คือการเรียนการสอน และภารกิจเสริม คือ ธุรการ การเงิน พัสดุ วิชาการ งานทั่วไป และสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โครงสร้าง และระบบการบริหารจัดการ  จึงทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาตนเอง และจากการแจกแบบสอบถามครู พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดในด้านการรักษาวินัยของข้าราชการครู และตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ นอกนั้นอยู่ในระดับมาก

                2. ผลการศึกษาหลักพุทธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะครู พบว่า ผู้วิจัยได้บูรณาการ กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะครูให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามแนวทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรสิกขา และหลักอิทธิบาทธรรม

                3. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองที่ใช้กระบวนการตามหลักไตรสิกขา และอิทธิบาท 4  ด้านศีล พบว่า การรักษาระเบียบวินัย  การแต่งกาย มีมนุษยสัมพันธ์ พูดจาไพเราะ ด้านสมาธิ พบว่า มีความตั้งใจและตระหนักในภาระหน้าที่ มีสติ ตระหนักในหน้าที่ ด้านปัญญา พบว่า กรสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ด้านฉันทะ พบว่า ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ พอใจในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านวิริยะ พบว่า ความมุ่งมั่นแสวงหาความรู้และเสียสละต่อผู้รับบริการ มีความรับผิดชอบ ด้านจิตตะ พบว่า ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้รับบริการ ตะหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบ และด้านวิมังสา พบว่า การรวบรวม สังเคราะห์ใช้สติไตร่ตรองข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนางาน

   กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองตัวชี้วัด ด้านการศึกษาค้นคว้า คือ ปลูกฝังให้รักการค้นคว้า ใฝ่รู้ด้วยตนเอง นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน การประชุม หรือสัมมนา และการศึกษาดูงาน ด้านการรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ในการพัฒนา คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ มีโครงการ และมีการประเมินผลโครงการเพื่อปรังปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน หลากหลายช่องทาง กำหนดเป้าหมายการแบ่งปัน สร้างผู้นำที่เป็นแบบอย่าง และสร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             The aims of this research were: 1) to study the general conditions of government teachers’ competency; 2) to study the Buddhist dhammas to promote the teachers’ competency; 3) to present the Buddhist integrative strategy of the government teachers under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3. This study was carried out by using the mixed research methodologies including both quantitative and qualitative methods. In regards to the qualitative research, the study of relevant documents and interview of the key informants including 30 of monks, deputy directors of the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3, educational administrators and educational supervisors were conducted. In relations to the quantitative research, the data were collected from the samples as 223 teachers in the schools under the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 3.

              The research results were as follows:

              1) Based on the study of t the general conditions of government teachers’ competency, it was found that there were two problems and obstacles of teacher competency development in the areas of primary missions: learning and teaching, and additional tasks such as administration, finance, supplies, general affairs, and social, cultural natural environment changes, structure and management systems, causing problems in self-development. From the distribution of the questionnaires, it was found that the statistical score in the overall perspective was rated at a high level. When considering each aspect, it was found that the scores of the aspects: the discipline keeping of teachers and intension to perform the duties were rated at the highest level. The other aspects were rated at a high level. 

 

   2) The result of the study the Buddhist dhammas to promote the teachers’ competency was that the researcher has integrated the process to enhance the teachers’ competency to perform the quality work based on Buddhist principles: the Threefold Training (tisikkhā) and the Path of Accomplishment (iddhipāda).

   3) The strategy for developing teachers’ competencies in self-development that use the process of the Threefold Training and the Path of Accomplishment is that in the aspect of morality (sīla), maintaining discipline, dressing, human relations, kindly speaking were seen; in the aspect of meditation (samādhi), intension, awareness, consciousness of their duty performance were found; in the aspect of wisdom (paññā), creating of the body of knowledge and transfer of knowledge, knowledge network have been seen; in the aspect of aspiration (chanda), love and belief in profession, satisfaction with incompliance with professional ethics were seen; in the aspect of energy (viriya), the commitment to seek knowledge, sacrifice to the service recipients, responsibility were seen; in the aspect of thoughtfulness (citta), the intension to perform the duties in servicing the recipients, duty and responsibility awareness were found; in the aspect of investigation (vīmaṁsā), collecting, synthesizing the data and knowledge exchange, work development were found.

              There were the indicators of the teachers’ competency development strategies in self-development; namely, for the aspect of research, cultivating love in seeking knowledge and self-learning, using technology at work, meeting or seminar, a study visit; for the aspect of collecting, analyzing and synthesizing, the promotion of personnel participation to create innovation and development of the body of knowledge, thinking outside the box, creative thought, project creation and evaluation for the continuous development; for the aspect of knowledge exchange, knowledge exchange, network creation to work together in various domains, determination of co-targets, generosity, creation of the example leader, inspiration creation to support the generosity and knowledge exchange.

 

.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9.13 MiB 331 16 มิ.ย. 2564 เวลา 07:44 น. ดาวน์โหลด