โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการประยุกต์พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Research Synthesis on Application the Buddhadhamma Regarding Problem Solving and Society Development of Buddhist Research Institute
  • ผู้วิจัยพระมหาเสรีชน นริสฺสโร (พันธ์ประโคน)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/805
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 14
  • จำนวนผู้เข้าชม 19

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) สำรวจหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานวิจัยด้านการประยุกต์พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม และ 3) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนการวิจัยระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2559 จำนวน 64 เรื่อง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน แบบบันทึกข้อมูลการสังเคราะห์งานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยมีดังนี้

            1) หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จากรายงานวิจัย จำนวน 147 เรื่อง พบว่าประเด็นสุขภาวะและคุณภาพชีวิต มีหลักธรรมที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดจำนวน 32 หมวดธรรม รองลงมาเป็นประเด็นการบริหารและการจัดการมีหลักธรรม จำนวน 18 หมวดธรรม และน้อยที่สุดเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมีหลักธรรม จำนวน 8 หมวดธรรม อีกประการหนึ่ง หลักธรรมที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ได้แก่ ไตรสิกขา อริยสัจ 4 และศีล 5 รองลงมา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 5 และสาราณียธรรม 6

              2) หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานวิจัยด้านการประยุกต์พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จำนวน 64 เรื่อง พบหลักธรรมที่เด่นชัดใน 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เช่น กตัญญูกตเวที และพรหมวิหาร 4 (2) ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิต เช่น สัมมัปปธาน 4 ไตรสิกขา และอายุสสธรรม (3) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 อิทธิบาท 4 และสังคหวัตถุ 4 (4) ด้านการบริหารและการจัดการ เช่น อธิปไตย สาราณียธรรม 6 สัปปุริสธรรม 7 (5) ด้านผู้สูงอายุ เช่น ภาวนา 4 อริยสัจ 4 และ (6) ด้านการพัฒนาพฤติกรรมเยาวชน เช่น ไตรสิกขา วุฒิธรรม และวัฒนมุข 6

              3) การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์จากรายงานวิจัยจำนวน 64 เรื่อง พบว่า 1) ด้านรูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบพรรณนามากที่สุด มีจำนวน 33 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 51.56 รองลงมาเป็นการวิจัยแบบสังเกตและสำรวจ มีจำนวน ๒๔ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 37.50 และน้อยที่สุดเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีจำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.69 2) ด้านเครื่องมือการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์มากที่สุด จำนวน 31 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 48.44 รองลงมาเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 32.81 และเป็นแบบทดสอบ และเป็นแบบอื่น ๆ เช่น ชุดกิจกรรม โปรแกรมการฝึก แบบประเมินคุณภาพน้อยที่สุด จำนวน 1 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 1.56

              งานวิจัยส่วนมากใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ดังนั้น จากข้อค้นพบในการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการทำวิจัยเรื่องการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมควรเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ การวิจัยเชิงปฏิบัติ หรืองานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เป็นงานวิจัยที่นำองค์ความรู้และแนวปฏิบัติมาสู่  การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              This dissertation entitled A Research Synthesis on Application the Buddhadhamma Regarding Problem Solving and Society Development of Buddhist Research Institutehas three objectives: 1) to study Buddhadhamma regarding the problem solving and social development in Buddhist scripture, 2) to study Buddhadhamma used  in the research studies concerning the problem solving and social development, and 3) to synthesize the application of Buddhadhamma for problem solving and society development from the research projects funded by the Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 64 sampling projects were taken from the fiscal years of 2555-2559 B.E. The research instruments employed the criteria assessment approved by academic scholars, particular form designed to record synthesized research projects, percentage analysis and content analysis.

              The research findings were found as follows:

             1) The Buddhadhamma for the problem solving and social development in the Buddhist scripture in the 147 research reports are obviously divided into 3 categories: 1) the principles for well-being and quality of life 32 groups 2) the principles for management andadministration 18 groups, and 3) the principles for environment and ecology 8 groups. The most favourite group are the Threefold Training (Sikkā), the Four Noble Truths (Ariyasacca) and the Five Precepts (Pañca-Sīla), and the next are the holy abidings (Brahmavihāra), the principles of service (Sagahavatthu) and the states of conciliation (Sārāṇīyadhamma)

              2) The Buddhadhamma for the problem solving and social developmentin the research reports were shown into 6 groups: 1) Environment and ecology system; the grateful person (Kataññukatavedī) and the holy abidings (Brahmavihāra) 2) Well-being promotion and quality of life; the right exertions (Sammappadāna), the Threefold Training (Sikkhă), and the things conducive to long life (Āyussa-dhamma)  3) Economic development; the virtues leading to temporal welfare (Diṭṭhadhammikattha), the basis for success (Iddhipāda), and the principles of service (Sagahavatthu)       4) Management and administration; the dominant influence (Adhipateyya), the states of conciliation (Sārāṇīyadhamma), and thevirtues of a gentleman (Sappurisa-dhamma), 5) Elderly; the cultivation (Bhavană), and the Four Noble Truths (Ariyasacca) 6) behavioural development in youths; the Threefold Training (Sikkhā), the virtues conducive to growth (Vuḍḍhi-dhamma), and the channels of growth (Vaḍḍhana-mukha).

              3) the synthesis on the application of Buddhadhamma for solving problem and developing society by 64 research reports of the Buddhist Research Institute was categorized into 2 dimensions:1) research methodology; descriptive 33 reports (51.56%), observe and survey 24 reports (37.50%), participate 3 reports (4.69%) 2) research instrument ; interview 31 reports (48.44), questionare and interview 21 reports (32.81), others 1 report (1.56)

             The results were clearly shown that most of the research projects were in descriptive methodology, using questionnaire and interview form as research instruments. Suggestions were considerably proposed that research projects should be of more application of Buddhadhamma for problem solving and developing society which should be made by Applied Research, Operational Research, and Research and Development than Survey Research and Basic Research in order to maintain the ongoing and continuity of sustainability of a society as long as it should be.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.92 MiB 14 16 มิ.ย. 2564 เวลา 09:15 น. ดาวน์โหลด