-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการสร้างความสัมพันธ์ผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษRelationship Building between the Elderly and Youth based on Buddhist Principles
- ผู้วิจัยพระครูกันตธรรมาภิวัฒน์ (น้อย กนตสีโล)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ. ดร
- ที่ปรึกษา 2พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/04/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/808
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 195
- จำนวนผู้เข้าชม 460
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับเยาวชน และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสร้างความสัมพันธ์ผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ เขตตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการประมวลผลการศึกษาแล้วนำเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
หลักธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ หลักทิศหกโดยเฉพาะหลักข้อที่ 1 ปุรัตถิมทิส หรือ ทิศเบื้องหน้า หลักสังคหวัตถุ 4 และหลักความกตัญญู เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตร่วมกันอยู่ในสังคม มีความสำคัญในการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันของคนที่อยู่ร่วมกัน และรู้จักสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีอุปการคุณต่อตนเอง
สภาพทั่วไปของผู้สูงอายุและเยาวชน ในตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีสภาพความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ อยู่ร่วมกันทั้งพ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย และลูกหลาน ซึ่งมักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างเป็นหลัก ด้านผู้สูงอายุจะมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย บางคนมีทำงานด้านอาชีพรับจ้าง และมีปัญหาทางด้านการเงินและสุขภาพ ส่วนเยาวชนมักจะมีการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย ชอบการแข่งขัน และมีพฤติกรรมเข้าข่ายในการเสพสิ่งเสพติดเป็นบางคน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผลปรากฏว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนซึ่งมีวัยที่แตกต่างกัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคมจะต้องให้แต่ละฝ่ายรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของกันและกันจะทำ ให้มีความเข้าใจกันมากขึ้นจะก่อให้ เกิดความเห็นใจและช่วยเหลือกันและกัน เมื่อผู้สูงอายุเป็นตัวแบบที่ดีเยาวชนก็ย่อมปฏิบัติตาม การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน ทำให้เยาวชนสนใจในตัวผู้สูงอายุและกล้าพูดคุยด้วย ในส่วนของด้านเยาวชนเมื่อได้ร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุบ่อยๆ มีการพูดจากับผู้สูงอายุมากขึ้น เริ่มเกิดความตระหนักในความกตัญญู อยากที่จะช่วยเหลือการงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการให้เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุบ่อยขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: 1) to study the dhamma principles related to relationship in Theravada Buddhism; 2) to study the relationship of the elderly and youth; 3) to analytically study the creation of relationship between the elderly and youth based on Buddhist principles. This study was carried out by means of qualitative research using the documentary research and fieldwork study in Khon Kean sub-district, Mueang district, Roi Et province. The gathered data were interpreted by the descriptive analysis.
The research results were as follows:
The dhamma principles related to relationship in Theravada Buddhism connect to the principles of the six directions (disa), partially the front direction (puratthimadisa), the four bases of social solidarity (saṅgahavatthu-dhamma) and gratitude. These dhammas related to human beings in terms of coexistence in the society, are important to hold the kindness of people, who live together and create a gratefulness for those who give them a support.
The study of the general conditions of the elderly and youth in Khon Kaen sub-district, Mueang district, Roi Et province suggested that they live in a large family and many members live together including parents, grandparents, grandmothers, grandchildren and grandchildren. Most of people are usually agricultural and mercenary workers. The elderly have a simple lifestyle. Some people have a career in hire and have financial and health problems. The youth often have extravagant living, like the competition and some get involved with drug.
From the creating a relationship between the elderly and youth according to Buddhist principles, the results show that the relationship between the elderly and the youth with different ages will change in terms of body, mind, emotion and the society must let each party know each other's changes to have more understanding. This will cause being sympathetic and helping each other. When the elderly are good models, young people will follow. The elderly and young people live together, causing both parties to become close because of joint activities and participation in recreation activities together. This makes the youth interested in the elderly and dare to talk with. In terms of youth, when participating in activities with the elderly frequently, there is more talk to the elderly and then begin to realize the gratitude and would like to provide assistance. This is the result of having to participate in activities with the elderly more often.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.96 MiB | 195 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 10:04 น. | ดาวน์โหลด |