-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาชีวิตด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of Life Quality Development by IV Sangahavatthu-Dhammas of Ethnic Group in Sisaket Province
- ผู้วิจัยพระครูกิตติพลาธร (กัด กิตฺติธโร)
- ที่ปรึกษา 1พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/809
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 229
- จำนวนผู้เข้าชม 452
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสังคหวัตถุ 4 ที่นำมาใช้ในการพัฒนาชีวิต 2) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตของชนชาติพันธุ์ ในจังหวัดศรีสะเกษและ 3) ศึกษารูปแบบการพัฒนาชีวิตด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักการสงเคราะห์มนุษย์ให้อยู่รวมกันอย่างมีความสงบเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลให้สร้างสานความสามัคคี โดยผ่านการให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเสียสละ และการแบ่งปัน ปิยวาจา การพูดด้วยน้ำใจ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ตนและผู้อื่น สมานัตตา ความมีตนเสมอคือทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย
สภาพคุณภาพชีวิตของชนชาติพันธุ์ ในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีการย้ายถิ่นฐานและอยู่อาศัยอยู่บ่อยครั้ง มีวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมทางภาษา วัฒนธรรมการกินเป็นต้น เป็นชนชาติพันธ์ที่ผสมผสานกันในความหลากหลายจึงทำให้มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
รูปแบบการพัฒนาชีวิตด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า รูปแบบการการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทาน ชาวชุมชนมีการจัดกิจกรรมหรือจัดทำกองทุนเพื่อช่วยเหลือชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ด้านหลักปิยวาจาผ่านหลักรัฐธรรมนูญหมู่บ้านเป็นกฎที่หมู่บ้านตั้งขึ้น หลักอัตถจริยา ผ่านกิจกรรมทำความสะอาดร่วมกัน และหลักสมานัตตตา การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจักทำให้เกิดความสุขความเจริญในชีวิตและสังคม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: 1) to study the principles of the four bases of social solidarity (Sangahavatthu-dhamma) to be applied in live quality development; 2) to study the conditions of life quality of the ethnic group in Sisaket province; 3) to study the model of life quality development by using the principles of the four bases of social solidarity. The study was conducted by the qualitative research methodology from the study of academic documents and in-depth interview of 32 targeted informants. The gathered data were analyzed by the descriptive analysis based on the analytic induction.
The research results were as follows:
The four bases of social solidarity is the principles of human assistance leading to peaceful coexistence, the anchor of the person mind to have harmony through generosity (dāna), sacrifice, good speech (piyavācā), useful conducts (atthacariyā) and equality consisting in impartiality (samānattatā) among people.
The study of the conditions of life quality of the ethnic group in Sisaket province indicated that there are frequent relocation of people, specific traditions in terms of language and eating cultures etc. It is an ethnic group that blends in diversity, making it constantly adaptable.
The model of life quality development by using the principles of the four bases of social solidarity is the model of life quality development by the principles of generosity by organizing the activities and funding to help the ethnic groups, the principles of good speech by setting up the village constitutions, by the principles of useful conducts by arranging the cleaning activities and by the principles of equality consisting in impartiality by training oneself to have equality causing happiness and prosperity in life and society.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.37 MiB | 229 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 10:17 น. | ดาวน์โหลด |