-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPolitical awakening on democracy of the people in Nong Chang District, Uthai Thani Province.
- ผู้วิจัยนายชลิต วงษ์สกุล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พรรษา พฤฒยางกูร
- วันสำเร็จการศึกษา12/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/811
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 12
- จำนวนผู้เข้าชม 15
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาการตื่นตัวทางการเมือง 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจับแบบผสานวิธีประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 13 รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.905 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรภาครัฐและภาคประชาชนจำนวน 398 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.17) ค่าเฉลี่ยรายด้าน พิจารณาเรียงลำดับจากสูงมาต่ำตามลำดับดังนี้ ด้านสถาบันสื่อมวลชน
( =3.60,S.D.=0.64), ด้านสถาบันทางการเมือง ( =3.31,S.D.=0.72), ด้านสถาบันครอบครัว ( =2.91,S.D.=0.85), ด้านกลุ่มเพื่อนและชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.84 , S.D.=0.88)
2. การตื่นตัวทางการเมือง จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ประชาชนควรเข้าใจว่าตนมีสิทธิในการออกเสียงเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองได้อย่างเท่ากันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนในฐานะสมาชิกของสังคมสามารถพัฒนาสังคม ประเทศชาติของตนได้ คนทุกคนไม่สามารถไปบังคับใครให้มีความคิดเห็นตามตนได้ ด้านการรับรู้ข่าวสาร ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมืองในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยรับจากสื่อ หรือได้รับโดยตรงจากการที่ได้ไปรับรู้เองอยู่ในเหตุการณ์ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนซึ่งประชาชนมีความสนใจและติดตามประเด็นทางการเมืองอยู่เป็นประจำ เกาะติด เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองในชุมชนสังคมของตน เข้าร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นในโครงการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของตนและมีส่วนในการกระตุ้นหรือชักชวนให้เพื่อนและคนอื่น ๆ ในสังคมร่วมแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชาชนมีการพูดคุยสนทนาเรื่องการเมืองกับบุคคลอื่น ๆ อยู่บ่อย ๆ แสดงความคิดเห็นทางการเมือง และแลกเปลี่ยนประเด็นทางการเมืองเป็นประจำ
3. แนวทางการส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ทำได้โดยการส่งเสริม การกล่อมเกลาทางการเมืองให้กับประชาชน ประชาชนควรได้รับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากกลุ่มเพื่อนและชุมชนมากยิ่งข้นโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง และการกระทำกิจกรรมร่วมกับประชาชนในครอบครัวควรมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น ประชาชนควรใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองโดยหมั่นเข้าร่วมประชุมทางการเมือง มีการพร้อมเพรียงกันในการประชุม ไม่ตั้งกฎระเบียบที่ขัดต่อระเบียบเดิม มีความเคารพและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองเคารพต่อสตรีเพศให้ความดูแลเอาใจใส่ต่อผู้ที่มาเยือน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are: 1) To study the level of political socialization 2) To study political awakening 3) To study guideline for promoting on democracy of people in Nong Chang District, Uthaitani Province.
Research methodology is a mixed method which consists of a qualitative research by collecting data from 13 key informants and using in-depth interview. Data analysis is descriptive. A quantitative research collects data by using questionnaires which reliability value 0.905. samples are 398 government officers and people by using a simple random sampling. Data analysis descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation.
Findings :
1. From a survey of people’s opinion toward political socialization it found that the level of political socialization by overall was at level ( =0.61) The means considered in order from high to low were as : mass media was = 3.60, political institution was = 3.31, family was = 2.91 and peer group was = 2.84 respectively.
2. From in-depth interview concerning each aspect lf political awakening, it found as following aspect. Regarding democratic knowledge aspect, people should understand that they have rights to vote for showing their equal political stand. It is fundamental rights of democracy. As members of society, everyone can develop society and country. They are not able to force people have perception about local and center political situation by mass media or direct perception. Regarding participation aspect, people are interested in always follow and participate in Sharing their opinions about political issues in Community. Moreover, they share their opinions about Various projects which affect their living. They stimulate or persuade peer group and other people to share their political opinions. Regarding, opinion sharing aspect, people always have conversation, show opinions and exchange about politics with other people.
3. To promote political awakening of people in democracy, it can be done by supporting People’s political socialization. people should have more perception from peer group and community by exchanging their opinions and doing activities, Moreover, members in family should have more conversations, People should apply Aparihaniyadharma for promoting political awakening by following items: Always have political meeting, all together for meeting, no setting rule against old standard, political tolerance, respect to female and take care of visitors.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204018 | 6201204018 | 9.14 MiB | 12 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 12:47 น. | ดาวน์โหลด |