-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษParticipation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนายเอกชัย พรนิคม
- ที่ปรึกษา 1รศ. ประณต นันทิยะกุล
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
- วันสำเร็จการศึกษา12/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/812
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 14
- จำนวนผู้เข้าชม 19
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างไร2) เปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ แตกต่างกันอย่างไร และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนประชาชน ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ควรเป็นอย่างไร
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.861 กลุ่มตัวอย่างคือประชสชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 6,487 คน จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้วอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง( =3.05, S.D.=0.36) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการร่วมรณรงค์การเมืองท้องถิ่น ( =3.19, S.D.=0.57) อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง( =3.04, S.D.=0.47) และด้านการร่วมชุมนุมทางการเมือง ( =2.95, S.D.=0.41) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, การศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการดำเนินการเลือกตั้งเลือกตั้ง ปัญหาคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่สูงมากนักประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่สูงมากนัก และมีความเห็นว่า การเมืองท้องถิ่นยังมีปัญหาในการแบ่งพรรคแบ่งพวก แนวทางแก้ไขคือ ควรให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้มีการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งเป็นอย่างดีและถูกต้อง ด้านการร่วมรณรงค์การเมืองท้องถิ่น ปัญหาคือ การประชาสัมพันธ์ในระดับชุมชนน้อยทำให้ในบางที่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในด้านการไปใช้สิทธิ์ แนวทางแก้ไขคือ ควรมีจุดบริการสำหรับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวิธีการไปใช้สิทธิ์ ด้านการตัดสินใจทางการเมือง ปัญหาคือ ประชาชนส่วนใหญ่มีกระบวนการในการตัดสินใจ เช่นเลือกตามครอบครัวญาติพี่น้องพรรคพวก ไม่ได้เลือกตามผลงาน แนวทางแก้ไขคือควรให้ประชนรับฟังข่าวสาร การติดตามผลงานของผู้สมัครเลือกตั้ง บางส่วนก็ได้รับการชี้นำจากนโยบายของผู้สมัครเองและผ่านกลุ่มหัวคะแนนที่มีส่วนในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และนโยบายการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the people’s opinions on the Participation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province, 2. To study the differences of Participation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province, classified by personal data and 3.To study the method of problem solving of Participation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative research used questionnaires with reliability value at 0.0983 to collect data from samples with the age of 18 years old and over derived from 6,487 people at Muangkaew Municipality, Maerim District, Chiangmai Province using Taro Yamane’s formula with statisticallysignificant level at 0.05. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The data from open
ended questionnaires were analyzed by description with table of frequency. The qualitative research, data were collected from 8 key informants by in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. The levels of Participation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province, by overall were at middle level ( = 3.05, S.D. = 0.36).Classified by sides, from high to low, the findings were that the local politics participation canpaign was at = 3.19, S.D. = 0.57,the election operation was at = 3.04, S.D. = 0.47, the political rally participation was at = 2.95, S.D. = 0.41, the middle level respectively.
2. The comparison results were that people with different sex, age, education and occupation and income per month by overall, did not have different opinions on the people’s local politics participation at Muangkaew Sub-District Municipality, Maerim District, Chiangmai Province,rejecting the set hypothesis.
3.Problems and obstacles and recommendation for the method of Participation in Local Politics of People in Mueang Kaeo Sub-District Municipality Mae Rim District, Chiang Mai Province were that: The election operation; majority of people did not have knowledge local politics participation at a high level. People understood that local politics was still divisive partisan. The solution was to give people knowledge of local political election with well and correct preparation of local election. The local politics campaign participation; the problems were that the public relations was not covered the whole areas. People misunderstood about the right using for voting. The solution were that there should be a center point of public relations for election and voting information. The political decision making; the problem was most people had decision making process such as decision making along with family members and kin, not on the work results. The solution was there should encourage people to follow political information, the work results of the politician candidates. Some parts of information were obtained from the candidates themselves and from the canvassers who disseminated information on the roles, duties, policies, development and people’s problems solving works.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204019 | 6201204019 | 7.88 MiB | 14 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 12:50 น. | ดาวน์โหลด |