โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potentiality Development of the Moral Teaching Monks in the Schools of Bang Khonthi District
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์ประมวล ปภสฺสโร (นาคะเวช)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต, ผศ. ดร.,
  • ที่ปรึกษา 2พระสมุทรวชิรโสภณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา22/07/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/813
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 638
  • จำนวนผู้เข้าชม 357

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 18 รูป/คน โดยสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปของศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พระสอนศีลธรรมที่สอนก็จะสอนตามเนื้อหาของหลักสูตรเป็นหลัก ซึ่งในเนื้อหาของหน่วยการเรียนรู้ก็จะมีตัวชี้วัด ด้านการเป็นผู้นำนักเรียนเข้าสู่การฝึกสมาธิ ต้องสอนให้เกิดการเรียนรู้ในระดับง่าย ๆ และพัฒนาขึ้นในระดับที่สูงขึ้น โดยการหมั่นฝึกฝนให้ปฏิบัติบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเคยชินเป็นการปลูกฝังให้ให้มองเห็นคุณค่าประโยชน์ และความสำคัญที่ได้จากการปฏิบัติจริง ด้านการเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน พระผู้ที่ทำหน้าที่สอนก็สอนตามเนื้อหาของหลักสูตรของแม่กองธรรมสนามหลวงในแต่ละชั้นที่กำหนดไว้ ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการนำสื่อการสอนวีดีโอมาช่วยเสริมในการดูและทำความเข้าในเนื้อหาของ ศีล โดยควบคุมกาย วาจา ไม่ให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น สอนให้รู้และเข้าใจในการมีจิตและสมาธิที่ตั้งมั่น เพื่อให้การงานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และปัญญาเป็นการนำเอาความรู้ที่ได้เรียนที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นในทางที่ถูกต้อง

2.ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขาดการบูรณาการสื่อการสอนให้เข้ากับเนื้อหาที่สอน ด้านการเป็นผู้นำนักเรียนเข้าสู่การฝึกสมาธิ พระสอนศีลธรรมขาดทักษะความรู้ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็กนักเรียน บรรยากาศในการปฏิบัติไม่มีความพร้อม มีเสียงรบกวนสมาธิในการเรียน ผู้สอนขาดเทคนิควิธีการสอนที่สามารถจูงใจเด็กได้ ด้านการเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน จำกัดด้านระยะเวลาในการเรียนส่วนใหญ่ทางโรงเรียนจะจัดให้พระเข้าไปสอนเพียงอาทิตย์ละ 1 คาบเท่านั้น ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน การพัฒนาสื่อการสอนของพระสอนศีลธรรมยังไม่ทันสมัย ขาดความน่าสนใจ ขาดการบูรณาการสื่อการสอนอื่น ๆ เข้ามาร่วมในการช่วยสอน

3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจะต้องบูรณาการสื่อการสอนให้เข้ากับเนื้อหาที่สอนตามหลักสูตร ด้านการเป็นผู้นำนักเรียนเข้าสู่การฝึกสมาธิ ผู้สอนควรวางานแผนการสอนและจัดกิจกรรมให้เด็กมีการฝึกปฏิบัติอยู่เรื่อย ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและบรรยากาศในการสอน ด้านการเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน ควรให้ทางโรงเรียนมีการจัดเวลาในการสอนเพิ่มขึ้น ให้มีความเหมาะสม สื่อในการสอนรูปแบบใหม่ ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน ผู้สอนควรเตรียมตัวก่อนการสอนให้มากขึ้น พัฒนาสื่อการสอนให้หลากหลายให้เข้ากับผู้เรียนและเข้ากับเนื้อหาในการสอน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis entitled “the potentiality development of the moral teaching Monks in the schools of Bang Khonthi district, Samutsongkham province” consisted of 3 objectives: (1) to study the general conditions of the potentiality of the moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province, (2) to study problems affecting the potentiality of the moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province, and (3) to study ways for the potentiality development of moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province. This was qualitative research with the data collected from 18 key informants. The in-depth interview was used as the research instrument to collect and analyze data.

From the study, it was found as the following:

1. From studying the general conditions of the potentiality of the moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province, it was found as follows: In teaching Buddhism subject, the moral teaching monks mainly taught the contents according to the Basic Education Core Curriculum, in which the indicator was included in the contents of the learning unit; In leading students to practice meditation, the moral teaching monks should begin the teaching from the basic to an advanced level and let the students practice meditation regularly in order for them to get used to it and to develop them to see the values, benefits, and importance of the practice; In teaching or reviewing the Dhamma studies for students, the moral teaching monks should follow the contents according to the Sanam Luang National Dhamma Studies Examination Curriculum as designed for each year; In teaching Buddhism subject for integrating into the daily lives, the moral teaching monks should use the video teaching materials to support the understanding of Morality (Sīla) by controlling the body, speech and mind in order not to harm or take advantages of the others. Including, the understanding that a stable mind and concentration could lead to success in work and with wisdom, students could apply the knowledge for the benefits of themselves and others in the right way.

2. From studying the problems affecting the potentiality of the moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province, it was found as follows: The problem in teaching Buddhism subject according to the basic education core curriculum was a lack of the integration of teaching materials with the contents of teaching; The problems in leading  students to practice meditation were the lack of skills, knowledge, and competencies of moral teaching monks to build motivation for students, the lack of readiness of the atmosphere for practicing as there was noise disturbing the concentration of the students, and the lack of the teaching techniques and methods of teachers to persuade the students; The problem in teaching or reviewing the Dhamma studies for students was the limit of the time of the study as the schools arranged the moral teaching monks to teach only 1 lesson per week; The problem in teaching Buddhism subject for integrating into daily lives was the outdated teaching materials as the materials were not interesting and with a lack of integration with other teaching materials to assist with the teaching.

3. The ways for the potentiality development of the moral teaching monks in the schools of Bang Khonthi district in Samutsongkham province, it was found as follows: In teaching Buddhism subject according to the basic education core curriculum, the moral teaching monks should integrate the teaching materials with the contents of the curriculum; In leading students to practice meditation, the moral teaching monks should plan and organize activities that involved the practice of meditation for motivating students and creating a good atmosphere of teaching; In teaching or reviewing the Dhamma studies for students, the moral teaching monks should encourage the schools to extend more the time of the study; In teaching Buddhism subject to integrate into the daily lives, the moral teaching monks should prepare the teaching in advance, and develop the teaching materials to be more various adapting to the students and consistent with the contents of the teaching

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9 MiB 638 16 มิ.ย. 2564 เวลา 21:00 น. ดาวน์โหลด