โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Sangha’s Development of Morality and Ethics to Youths in Bang saphan noi District, Prachuapkhirikhan Province
  • ผู้วิจัยพระไพโรจน์ สุจิตฺโต (เทพพิทักษ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูวาทีวรวัฒน์, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหากังวาล ธีรธมฺโม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/814
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 331
  • จำนวนผู้เข้าชม 372

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามความคิดเห็นของเยาวชน (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพานน้อย ซึ่งมีจำนวนจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (L.S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัย

1. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ด้านสมาธิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และด้านศีล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ระดับความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เยาวชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เยาวชนที่มีสถานภาพส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรมของเยาวชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีผลทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัญหาอุปสรรค (1) ด้านศีล เยาวชนไม่ได้รับการแนะนำสั่งสอน ไม่มีความรู้ในเรื่องของศีล  ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ (2) ด้านสมาธิ ขาดการส่งเสริมให้เยาวชนนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องของสมาธิและหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสมาธิติดรูปแบบเดิมๆ ขาดความอดทนและทักษะในการดำเนินชีวิต พระสงฆ์ไม่เพียงพอในการเข้าไปจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียน (3) ด้านปัญญา พระสงฆ์ที่ให้ความรู้แก่เยาวชนมีจำนวนน้อย ขาดความร่วมมือกับเครือข่ายจัดการเรียนรู้ ขาดการส่งเสริมการเจริญปัญญา ทั้งในโรงเรียน ชุมชนและผู้ปกครอง ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังจากชุมชน ผู้ปกครองยังไม่เข้าใจในหลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักปัญญาอย่างชัดเจน

ข้อเสนอแนะ (1) ด้านศีล เยาวชนควรได้รับคำแนะนำ การพูดคุย และแสดงความคิดเห็นของตน การประพฤติปฏิบัติศีลควรมุ่งพัฒนาเยาวชนทุกช่วงวัย ควรพัฒนาด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมทางสังคมและควรฝึกบุคลากรโดยเน้นการปฏิบัติ (2) ด้านสมาธิ ควรส่งเสริมให้เยาวชนมีการนั่งสมาธิเป็นประจำในทุกวันอย่างต่อเนื่องเยาวชนควรได้รับความเข้าใจในเรื่องของสมาธิและหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสมาธิ เพื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและ (3) ด้านปัญญา ควรนิมนต์พระสงฆ์ที่มีความรู้ด้านปัญญาให้ความรู้แก่เยาวชน การจัดกิจกรรมพื้นฐานเป็นการฝึกให้นักเรียนแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research paper entitled ‘A Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province’ has three objectives: 1) to study a Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province according to Youths’ s opinions, 2) to compare opinions on Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province based on individual factors, and 3) to study problems and obstacles including suggestions to Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province. in this research, 348 youths in Bangsaphan were population. it employed a mixed methods research in collecting data. The statistics, frequency, percentage, average and standard deviation (L.S. D), and t-test including One way ANOVA were used in the analysis.

The research findings were found as follows:

1. A Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province was at the most level in overall where its averages were of 3.98, when considered in each domain, its averages were at the most level in all, when considered from the most level to the lowest level, it showed that in wisdom its average was of 4.04, in concentration it was at 3.98, and in precepts it was of 3.92 respectively.

2. In the comparison, it showed that one the one hand, the levels of youths’ opinions, who were in different gender, on a Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi District, Prachuapkhirikhan province, were of less opinions on a Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province, on the other hand, youths who were of individual status on gender, ages, worldly educational qualification and supramundane educational qualification had no different opinions on a Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province; this was against the setting up hypotheses, it showed that the individual status on gender leads to no different opinions.

3. In the problems, obstacles and suggestions on a Sangha’s development of morality and ethics to youths in Bangsaphannoi district, Prachuapkhirikhan province, this research showed that the problems and obstacles were of: 1) in the precepts, youths were not given the proper instruction; they lack the knowledge on morality due to personal inexperience, 2) in the concentration, youths were hardly and continually supported to practice meditation  where they lack certain understanding of the principle of concentration and practice resulting in not getting the required skills and patience owing to insufficient Buddhist monks who can teach them in the school, 3) in the wisdom, those Buddhist monks who came to instruct youths were of a few numbers where their cooperation with others resulting in not supporting the development intellect in both school and community wherein their parents lack the positive cooperation leading to misunderstanding the management of learning in accordance with the principle of wisdom respectively.

In this research, suggestions were made as follows: 1) in the precepts, youths should be given the proper instruction on their talk and expression of opinions concerning the observation of precepts where they should be developed in all ages according to the process of learning which gives rise to the cultivation of social culture and training of staff whereby practice is prioritized, 2) in the concentration, there should support youths to practice meditation in daily life; youths should be given the proper understanding of concentration and its practices in higher level where their mind can be properly concentrated, and 3) in the wisdom, Buddhist monks who are of wisdom should be timely invited to instruct youths where in the basic activities should be provided on the training of students in solving various problems in their daily life

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.9 MiB 331 16 มิ.ย. 2564 เวลา 21:14 น. ดาวน์โหลด