-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromotion of the Patimokka Reciting Monks at Chokchai District Nakorn Ratchasima Province
- ผู้วิจัยพระมหามนัสวี ฐิตธมฺโม (อารยะนรากูล)
- ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, ผศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- วันสำเร็จการศึกษา01/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/815
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 824
- จำนวนผู้เข้าชม 295
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อแนวทางการส่งเสริมพระทรงพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อแนวทางการส่งเสริมพระทรงพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในอำเภอ
โชคชัย จำนวน 208 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับ
( X̅ =3.65,S.D.=0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มากที่สุดคือ ด้านการปรับปรุงให้เหมาะสม (Action) (X̅ = 3.69, S.D.= 0.68) รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบ (Check) (X̅ = 3.64, S.D. = 0.73 ) ถัดลงมาคือ ด้านการวางแผน (Plan) (X = 3.65, S.D.= 0.72) น้อยที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) (X̅ = 3.60, S.D. = 0.69 )
2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม (แผนกธรรม) วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม (แผนกบาลี) และวุฒิการศึกาสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.04 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1. ด้านการวางแผน (Plan) ขาดความพร้อมในการจัดฝึกอบรมที่ดี และการวางงานแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ๒.ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) ขาดบุคลากรที่พร้อมในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ทำงานตามที่กำหนดในแผนที่วางไว้ 3. ด้านการตรวจสอบ (Check) การตรวจสอบไม่เป็นไปตามกระบวนการที่วางแผนไว้
4. ด้านการปรับปรุงให้เหมาะสม (Action) ไม่มีการแก้ไขปรับปรุงการอบรมให้เหมาะสมกับหลักสูตร การอบรมยังคงเป็นรูปแบบเก่า ๆ ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมการในการจัดฝึกอบรมให้เป็นระบบมากขึ้น มีการมอบหมายการทำงานให้ชัดเจนขึ้น และเหมาะสมกับบุคลากรนั้น ๆ ควรมีการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการจัด มีการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้อย่างดี ควรมีการตรวจสอบโดยผู้เชียวชาญโดยเฉพาะ ควรปรับปรุงหลักสูตรการอบรมให้ทันสมัย มีการใช้สื่อที่มีความน่าใจและเหมาะสมกับการอบรม โดยสำนักฝึกอบรมต่าง ๆ จึงต้องมีการนำเอาหลักการบริหารการฝึกอบรมเข้ามาพัฒนาร่วมด้วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการว่างแผนการทำงานต่าง กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรม ให้เป็นไปตามขึ้นตอน มีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจนไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เรียนมีความอยากเรียนอยากเข้ามาฝึกอบรมให้ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงตามกระบวนการที่วางแผนไว้ การปฏิบัติต้องเป็นสิ่งที่ง่ายและดึงดูดใจให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นอย่างไร ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้อบรมมา แล้วนำมาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นไปในอนาคต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the conditions of the promotion of the Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province, 2. To study the comparison of monks 'opinions on the promotion of the Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province Classified by personal factors and 3. To study promotion of problems, obstacles, and recommendations for the ways to promote the Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method, collected data from 208 samples who were monks at Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province with questionnaires that had reliability value at 0.976 and analyzed data with social research statistical program. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, SD, t-test, F-test by one way ANOVA. The qualitative research collected data from 8 key informants by in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Monks had opinions on promoting Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province, by overall were high level with the mean, standard deviation values at(X̅ = 3.65, SD = 0.63. Each aspect considered was also at high level. The aspect that was at highest level was appropriately improvement(Act) at(X̅ = 3.69, SD = 0.68. Secondly, the monitoring(Check) was at( X̅ = 3.65, SD = 0.73.Thirdly was planning(Plan) at(X̅ = 3.65, SD = 0 .72. The aspect that was at the least level was doing as planned(Do) at(X̅ = 3.60, S.D. = 0.69.
2. The results of the hypothesis testing were found that monks with different ages did not have different opinions on the promotion of the Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province, rejecting the set research hypothesis. As for the monks with different Buddhist Lents, Dhamma Studies (Dharma Division), Dhamma Studies (Pali Section) and general educational levels had different opinions on the promotion of the Patimokkha reciting monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province with statistical significant value at 0.05, so accepting the set research hypothesis.
3. Problems, obstacles and recommendations regarding the promotion of the Patimokkha reciting Monks at Chok Chai District Nakhon Ratchasima Province were found that: 1) Plann; lack of readiness to organize good training and the division of responsibilities was not clear as it should be, 2) Do; lack of personnel who were ready to work efficiently and did not work as planned, 3) Check; inspection did not follow the planned process. 4) Act; there was not improvement of training curriculum. Training was still carried out in old fashion. Therefore, there should be appropriate preparation for more systematic training. Division of works must be clearer and more appropriate for assigned personnel. There should be recruitment for more qualified personnel to handle the training according to the set plans. Inspection of the operation must be specifically checked by experts. There should be up-to-date curriculum improvement with new and interesting media and appropriate for training. Findings from in-depth-interviewing the training monasteries were found that, the training should be integrated with management for effective development in the areas of planning, step-by-step objectives setting, clear division of works, redundancy avoidance, publicity to encourage trainees to participate in training, training by doing as set plans. Training must be easy and attractive the trainees can use in the real life with more efficiency. There should be continuously checked and evaluated how the trainees felt, what the trainees gained for more appropriate improvement of the training curriculum in the future.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.89 MiB | 824 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 21:30 น. | ดาวน์โหลด |