-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธา ของประชาชน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMonastery Management of Sangha Administrators for People’s Faith Promoting in Klongluang District of Pathumthani Province
- ผู้วิจัยพระธีรภัทร์ นาถสีโล (นาคกลั่น)
- ที่ปรึกษา 1พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ,ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา19/02/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/816
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 238
- จำนวนผู้เข้าชม 262
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชนอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี ๒. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชนอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี ๓.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชนอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี
การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.921 จากกล่มตัวอย่าง 400คนได้แก่ ประชาชนในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดประทุมธานี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ =3.45 , S.D.= ๐.๗๔๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ด้านการวางแผน ( Planning ) (X̅ =3.71, S.D.= 0.834) ด้านการอำนวยการ ( Directing ) (X̅ = 3.60, S.D. = 0.850)ด้านการจัดการองค์กร ( Organizing ) (X̅ =3.43, S.D.= 0.887) ด้านการควบคุมกำกับดูแล ( Controlling ) (X̅ =3.43, S.D.= 0.887) ด้านการจัดสรรและบริหารบุคลากร (Staffing )X̅ =3.09, S.D.= 1.051) ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของ พระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชนอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ คือ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา มีรายได้ต่อเดือน และจำนวนครั้งในการเข้าวัดทำบุญต่อสัปดาห์ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีอายุต่างกัน และมีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ประชาชนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธาของประชาชน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๑) พระสงฆ์ขาดความรู้เรื่องการวางแผนการจัดการองค์กร2) ไม่มีการส่งเสริมให้บุคลากรภายในวัดมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3)ไม่มีกระบวนการคัดสรรพระภิกษุสามเณรในการเข้ามาบวช 4) การอำนวยความสะดวกให้แก่ญาติโยมที่เข้ามาติดต่อวัดยังไม่ดีเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรมีการจัดอบรมถวายความรู้แก่พระสงฆ์เรื่องการวางแผน 2) พัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการความรู้ในแต่ละด้าน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรภายในวัดมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้๓)ควรมีการใส่ใจพระภิกษุสามเณร ตั้งแต่การคัดสรรเข้ามาบวช 4) ควรมีการอำนวยความสะดวกให้แก่ญาติโยมที่เข้ามาติดต่อวัดมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1.To study the monastery management of Sangha Administrators for people’s faith promotion at Klongluang District, PathumThani Province, 2.To study people’s opinion levels on monastery administration of Sangha administrators for people’s faith promotion at Klongluang District, Pathum Thani Province, and 3. To study problems, obstacles and recommendations for the monastery management of Sangha Administrators for people’s faith promotion at Klongluang District, PathumThani Province,
Methodology was the Mixed Methods of both quantitative and qualitative researches. The qualitative research collected data from 8 key informants, purposefully selected, with structured in-depth-interview script, by face-toface-in-depth-interviewing. Data were analyzed by descriptive interpretation. The quantitative research, using survey method, collected data with questionnaires with the confident value at 0.921 from 400 samples who were people at Khlong Luang District. Pathum Thani Province, by the researcher. Data were analyzed using statistical frequency, percentage, average, standard deviation.
Findings were as follows:
1. Level of people’s opinions on the monastery management of Sangha Administrators at Klongluang District, Pathum Thani Province, by overall, were at middle level (X̅ =3.45, SD = 0.742) Each aspect was at middle level from high to low as: Planning was at(X̅ =3.71,SD=0.834, Directing was at(X̅ =3.60,SD=0.850, Organizing was at(X̅ = 3.43, SD = 0. Controlling was at(X̅ =3.43, SD = 0.887, Staffing was at(X̅ =3.09,.SD=1.051, respectively.
2. The comparison of people’s opinions on the monastery management of Sangha Administrators at Klongluang District, Pathum Thani Province, to promote the faith of citizens Luang, Pathum Thani, classified by personal factors: such as age, gender, educational level, monthly income. and numbers of time in merit making at monasteries per week indicated that peoples with different genders, ages, incomes per month did not have different opinions on opinions on the monastery management of Sangha Administrators for the peoples’ faith promotion at Klongluang District, Pathum Thani Province, rejecting the set hypothesis. People with different educational level had different opinions on the monastery management of Sangha Administrators to promote people’s faith at Klongluang District, Pathum Thani Province, accepting the set hypothesis.
3. Problems, obstacles and Suggestions were: 1) Sangha lacked knowledge about planning and organization, 2) lack of encouraging monastery staff to exchange experiences and learning, 3) there was not selection process of laity to be ordained monks and novices, 4) support and facilitation of laities who come to contact monasteries were not as good as they should be.
Suggestions were that 1) there should be training in planning for monks 2) there should be development and improvement of knowledge management in each areas to promote learning exchanges for monastery staff, 3) there should be caring and mentoring process for monks and novices from screening laities to be ordained, and 4) there should be more facilitating supports for laities who come to contactmonasteries
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.17 MiB | 238 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 21:42 น. | ดาวน์โหลด |