โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Teaching Materials for 21ST Century Skills in Economics Khwao Rai Suksa School Kosum Phisai District Maha Sarakham Province
  • ผู้วิจัยนางสาวสรรสยา ขันวิเศษ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประยูร แสงใส
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิทยา ทองดี
  • วันสำเร็จการศึกษา25/02/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/819
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 386
  • จำนวนผู้เข้าชม 774

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระวิชาเศรษฐศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้สื่อประกอบแผนการเรียนการสอนตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้สื่อการเรียนการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดลองก่อนหลัง (One -Group  Pretest –Posttest Design) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 80 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระวิชาเศรษฐศาสตร์ ด้วยการทดสอบ t-test for Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

การพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้สื่อ PowerPoint ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้ หน่วยที่ 1 ระบบเศรษฐกิจ หน่วยที่ 2 สหกรณ์ หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียง หน่วยที่ 4 และ หน่วยที่ 5 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำคะแนนแบบฝึกหัดก่อนเรียนรายหน่วยได้คะแนนเฉลี่ย 41.04 คิดเป็นร้อยละ 82.07 และทำแบบฝึกหัดหลังเรียนรายหน่วยได้คะแนนเฉลี่ย 93.70 จึงกล่าวได้ว่า สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 82.07/ 93.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้สื่อประกอบแผนการเรียนการสอนตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้สื่อประกอบแผนการเรียนการสอนตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนการเรียน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียน

ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อสื่อประกอบการเรียนการสอนสาระวิชาเศรษฐศาสตร์ พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อสื่อประกอบการเรียนการสอนสาระวิชาเศรษฐศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: to develop teaching media to be effective in accordance with the efficiency criterion of 80/80; to compare academic achievement and to study students’ satisfaction in the use of media for teaching of 21st skills, subject 3: economics of the fifth-year high school students. This study was an experimental research which was conducted based on a one-group pretest-posttest design research plan. The statistics used to analyze the data were: Mean (𝑥̅) Standard Deviation (S.D.) and comparison of academic achievement of economics subject was conducted by t-test (Dependent Samples).

The research results were found that

The fifth-year high school students scored the pre-test exercises with an average score of 41.04 or 82.07% and completed the posttest exercises after the class with an average score of 93.70. It is said teaching media for 21st century skills, subject 3: economics had an efficiency value of E1 / E2 = 82.07 / 93.70, which was higher than the established criteria 80/80.

Academic achievement of the fifth-year high school students before and after using the media and the lesson plan based on the 21st century skills concept differed significantly at the statistical significance level of 0.01. The average post-learning score was higher than the score before studying. This can be concluded that the fifth-year high school students had higher achievement in 21st Century skills of the economics than before studying.

The satisfaction of the fifth-year high school students with teaching media and economics subject was at a high level.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6205205078 6205205078 10.19 MiB 386 17 มิ.ย. 2564 เวลา 00:39 น. ดาวน์โหลด