โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Quality of Life According to Anupubbikathā
  • ผู้วิจัยพระรังสรรค์ ติกฺขปญฺโญ (พิมพา)
  • ที่ปรึกษา 1พระศรีสมโพธิ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สามารถ สุขุประการ
  • วันสำเร็จการศึกษา09/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตนครสวรรค์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/82
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,652
  • จำนวนผู้เข้าชม 827

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาหลักอนุปุพพิกถาในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา

ผลการศึกษาพบว่า อนุปุพพิกถา เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ฆราวาสผู้มีอุปนิสัยวาสนาสามารถเข้าใจธรรมได้โดยง่าย เป็นหัวข้อธรรมแสดงไปโดยลำดับขั้นจากง่ายไปหายาก มี 5 ประการ ประกอบด้วย 1) ทานกถา การพรรณนาทาน 2) สีลกถา การพรรณนาศีล 3) สัคคกถา การพรรณนาสวรรค์ 4) กามาทีนวกถา การพรรณนาโทษแห่งกาม และ 5) เนกขัมมานิสังสกถา อานิสงส์แห่งการออกบวช เมื่อได้รับฟังธรรมแล้วจิตใจของผู้ฟังธรรมมีความบริสุทธิ์ผ่องใส ปีติเบิกบานดีแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมขั้นที่สูงขึ้นไปอีกที่มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นลำดับต่อไป

การพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การทำให้บุคคลมีความเป็นอยู่ที่ดี นักปรัชญาชาวตะวันตกแสดงทัศนะไว้ว่า คุณภาพชีวิต คือการได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกาย จิตใจ วัตถุ สังคม สภาพแวดดล้อม และด้านที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามความพึงพอใจของแต่ละบุคคล ส่วนนักปรัชญาชาวตะวันออกแสดงทัศนะว่า คุณภาพชีวิตเป็นสภาพการดำรงชีวิตที่มีความสุขทางกายและจิตใจ เกิดจากการได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพ มีการหล่อหลอมความเชื่อ ค่านิยม ศีลธรรมและจริยธรรมให้มีความสมดุลกัน โดยมีองค์ประกอบ ตัวชี้วัดในด้านต่างๆ เป็นตัวสะท้อนคุณภาพชีวิต

การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ความสำคัญ 2 ส่วนคือ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตในทางโลก ให้บรรลุความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต 2.พัฒนาคุณภาพชีวิตทางพระพุทธศาสนา ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาแก้ทุกข์ด้วยปัญญา การนำหลักธรรมอนุปุพพิกถามาพัฒนาคุณภาพชีวิตควรนำมาให้ครบองค์ โดยพัฒนาจากสิ่งที่ทำได้ง่ายไปหายากเป็นลำดับขั้น ทานกถาเป็นบันไดขั้นแรก เพราะทานเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ผู้ให้ทานจะมีความเสียสละ มีจิตใจผ่องใส จากนั้นสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศีลให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ทำให้สังคมมีความสงบสันติสุข แนวคิดเรื่องสวรรค์เปรียบดุจเป้าหมายหรือความสำเร็จในทางโลกที่จะไปถึงได้ ด้วยการช่วยกันเคารพกฎกติกาของสังคมและมีอุดมการณ์คือความสุขของสังคม ต่อจากนั้นคือความรู้จักโทษของสิ่งที่ยั่วยวนใจ เห็นโทษของกิเลสและความยึดติดในวัตถุ ประการสุดท้ายคือเห็นประโยชน์ของการพาตนให้ออกจากความสุขทางโลก หรือที่อาจเรียกว่าความสุขทางเนื้อหนัง สู่ความอิสระทางจิตวิญญาณอยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled “The Development of the Quality of Life According to Anupubbikathā” consisted of the following objectives: 1) to study Anupubbikathā in Theravada Buddhism; 2) to study the development of the quality of life; and 3) to propose the guidelines for developing the quality of life according to Anupubbikathā.

            From the study, it is found that Anupubbikathā is the doctrine expounded by the Buddha for laypeople who had a character that can easily understand the Dhamma. The exposition of Anupubbikathā is a gradual dhamma comprising: 1) Dāna-kathā refers to the talk on giving; 2) Sīla-kathā refers to the talk on righteousness; 3) Sagga-kathā refers to the talk on heavenly pleasures; 4) Kāmādīnava-kathā refers to the talk on the disadvantages of sensual pleasures; and 5) Nekkhammānisaṃsa-kathā refers to the talk on the benefits of renouncing sensual pleasures. After one listens to the dhamma, his mind will be purified and joyful. The Buddha, therefore, expounded the higher dhamma that is deeper in detail.

            The development of the quality of life is to improve the well-being of a person. Western philosophers view that the quality of life is the response to the needs of physical, mental, material, social, environmental, and related aspects to living according to the satisfaction of each individual. While Eastern philosophers view that the quality of life refers to the living condition that is happy physically and mentally which is a result from being responded physically, mentally, socially, and related aspects to living. Moreover, balanced beliefs, norms, morals, and ethics are molded with components and indicators in various aspects as a reflection of the quality of life.

            The development of the quality of life has an emphasis on two aspects: 1) the development of the quality of life in worldly aspect by accomplishing the basic necessities in life; and 2) the development of life in Buddhist aspect by living life and solving problems intellectually. Anupubbikathā for developing the quality of life should be applied in all aspects by starting from easy to difficult: dāna-kathā as the first step because dāna (giving) is an easy thing to do. Those who give are ones who have sacrifice and a purified mind; the second step is the building of the body of knowledge and understanding about righteousness as a part of life which will result in a peaceful society; the third step is the concept of heavenly pleasure that can be compared to a goal or worldly success which one can attain through obeying rules and regulations in society; the fourth step is an awareness on the disadvantages of sensual pleasures, defilements, and the attachment to materials; lastly, the fifth step is an awareness on the benefits of renouncing sensual or worldly pleasures which will result in the spiritual liberation that is beyond all kinds of suffering.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.34 MiB 1,652 20 พ.ค. 2564 เวลา 03:00 น. ดาวน์โหลด