โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาผลของอาจิณณกรรมที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธ ณ ชุมชนวัดแม่น้ำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Results of Āciṇṇa-kamma Affecting the Ways of Life of Buddhists of Wat Maenam Community, Ban Rai Sub-District, Sri Samrong District, Sukhothai Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการพรนารายณ์ กิตฺติคุโณ (ปานบุตร)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา03/09/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/820
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 142
  • จำนวนผู้เข้าชม 344

บทคัดย่อภาษาไทย

               งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษากรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  2) เพื่อศึกษาอาจิณณกรรมที่มีผลต่อวิถีชีวิตชาวพุทธ และ  3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลของอาจิณณกรรมของชุมชนวัดแม่น้ำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ศึกษาข้อมูลภาคเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และภาคสนามจากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทำบุญเป็นประจำในพื้นที่ชุมชนวัดแม่น้ำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน  20 คน คัดเลือกโดยผู้มาทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ทำวัตรสวดมนต์ในวัดประจำ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

  ผลการวิจัยพบว่า

                กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ การกระทำด้วยเจตนาดี โดยทางกายสุจริต วจีสุจริต และมโนจริต เรียกว่า กุศลกรรม  ตรงกันข้ามนี้ คือ  อกุศลกรรม การกระทำด้วยเจตนาไม่ดี โดยทางกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต มีน้ำหนัก ๓ ระดับ คือ ระดับหนักสุด เรียกว่า อนันตริยกรรม มีฆ่าพ่อ แม่ เป็นต้น  ผลของอาจิณกรรม คือ จะทำให้ผู้นั้นกลับมาประสบหรืออยู่ในสภาพเดิมทั้งที่ดีและชั่ว เช่น อนาถปิณฑิกเศรษฐีได้ทำบุญเป็นประจำทำให้ท่านได้กลับมาเกิดเป็นเศรษฐีเหมือนเดิม ตามที่พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้บุคคลผู้ทำบาปในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดการที่บาปยังไม่ผลิตผล แต่เมื่อใด บาปของเขาผลิตผล เมื่อนั้น เขาย่อเห็นบาปว่าชั่วแท้ ๆ ฝ่ายบุคคลผู้กระทำดีย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่ผลิตผล แต่เมื่อใด กรรมดีของเขาผลิตผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดีจริง  การให้ผลของกรรมมี  2 แบบ คือ การให้ผลของกรรมตามกฎธรรมชาติและตามกฎศีลธรรม  เช่น คนละเมิดศีล 5 เกิดชาติหน้าเป็นกะเทย  คนที่อิจฉาริษยา จะมีผิวพรรณหม่นหมอง  คนตระหนี่ จะมีฐานยากจน คนที่ทำแท้งจะถูกญาติพี่น้องทอดทิ้งและถูกตำหนิร้ายแรง

                ผลการวิเคราะห์อาจิณณกรรม พบว่า ชุมชนวัดแม่น้ำมีความเชื่อกฎแห่งกรรมที่มีผลมาจากอาจิณณกรรม คือ เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นพื้นฐาน เขาจึงทำกรรมดีละกรรมชั่ว ทำดีมีผลให้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วมีผลให้ตกนรก เสวยกรรมในลักษณะต่าง ๆ  ในทางปฏิบัตินั้นชาวชุมชนวัดแม่น้ำผู้ทำบุญตักบาตรเป็นอาจิณ มีอานิสงส์ทำให้ตนเองมีกินมีใช้ ไม่เป็นคนยากจนขัดสนในชาตินี้และชาติหน้า ผู้รักษาศีลประจำ จะทำให้ผู้นั้นห่างไกลไร้โรคภัย  เป็นที่รักผู้คน เป็นที่ไว้วางใจ เป็นที่เคารพเชื่อถือต่อผู้คนทั้งหลาย  ผู้ปฏิบัติธรรมประจำ จะทำให้เขาจิตใจสงบตั้งมั่น มีสติ มีสมาธิดีขึ้น สิ่งสำคัญคือ มีจริตที่สมดุลไม่มากไปไม่น้อย เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกันตามกำลังของแต่ละคน ผู้ทำวัตรสวดมนต์เป็นประจำ จะทำให้ผู้นั้นมีจิตใจสงบ มีอนุสสติในพระรัตนตรัย เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา ห่างไกลจากสัตว์มีพิษ ได้รับการคุ้มครองจากผีสางนางเทวดา ผ่านพ้นภยันตรายได้โดยง่าย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The thesis entitled “A Study of the Results of Āciṇṇa-kamma Affecting the Ways of Life of Buddhists of Wat Maenam Community, Ban Rai Sub-District, Sri Samrong District, Sukhothai Province” consisted of three objectives, namely: 1) to study the concept of Kamma in the Buddhist scriptures, 2) to study the concept of Āciṇṇa-kamma affecting the ways of life of Buddhists, and 3) to study and analyze the results of Āciṇṇa-kamma affecting the ways of life of Buddhists of Wat Maenam community, Ban Rai sub-district, Sri Samrong district, Sukhothai province. The study employed qualitative method with the data collected from documents and interview. The documents were the Tipitaka, Aṭṭhakathā, textbooks and other Buddhist academic documents. The sample of the interview was drawn from 20 people of those who always made merits (such as those who gave alms to the monks, practiced meditation and did chanting at the temple) on a regular basis in the Wat Maenam community, Ban Rai sub-district, Si Samrong district, Sukhothai province.

     From the study, it was found that Kamma in the Buddhist scriptures refers to the action with good intentions through good conduct in act, in word and in thought which is called Kusala-kamma (wholesome course of action). While the opposite is called Akusala-kamma (unwholesome course of action) through bad conduct in act, in word and in thought. There are three levels of kamma, namely: Anantariya-kamma (immediacy deeds) such as patricide and matricide, etc. The result of Āciṇṇa-kamma  (habitual kamma) is that it will cause the doer to be reborn in a similar state as in the previous life, for example, Anāthapiṇḍika, the wealthy merchant, always made merits which caused him to be reborn as the wealthy person again as in his previous life. The Buddha said that “Even an evil-doer sees good as long as evil doesn’t ripen; but when it bears fruit, then he sees the evil result. Even a good person sees evil so as long as good doesn’t ripen; but when it bears fruit then the good one sees the good result”. The result of kamma could be according to the law of nature and the law of morality such as those who violate the Five Precepts will be reborn as a bisexual person; those who are jealous will be reborn with a gloomy skin; those who are stingy will be reborn as a poor person; those who do abortion will be abandoned by his/her relatives and will be condemned.

              From the study of the results of Āciṇṇa-kamma, it was found that the people in Wat Maenam community believe in the law of kamma resulting from Āciṇṇa-kamma, that is, “As you sow, so shall you reap” ,therefore, they like to make merits and abstain from bad deeds because making merits will cause them to be reborn in heaven while doing bad deeds will cause them to be reborn in hell. In practice, the people in Wat Maenam community believe that those who make merits by always giving alms to the monks will cause them to be more kind, more compassionate and have more earnings in this current life and the next life. Those who always keep the Five Precepts will cause them to be free from disease and illness, be loved, trusted and respected by other people. Those who practice meditation regularly will be mentally calm, stable and with better concentration. The most important thing is that their temperament (Charita) will be more balanced with the constant mindfulness (Anussati) in the Triple Gem. They will also be loved and protected by humans and Devas, free from poisonous animals, and be able to overcome all dangers easily.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.59 MiB 142 17 มิ.ย. 2564 เวลา 00:47 น. ดาวน์โหลด