โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ที่มีผลต่อชาวพุทธบ้านหนองคอน ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Parivāsakamma of the Buddhist Monks Towards the Buddhists in Nongkhon Village, Phonphaeng Sub-District, Ratanavapee District, Nongkhai Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการธงชัย โกวิโท (วงษ์ศรีแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาปริญญา วรญาโณ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. บุญส่ง สินธุ์นอก
  • วันสำเร็จการศึกษา27/08/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/822
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 310
  • จำนวนผู้เข้าชม 577

บทคัดย่อภาษาไทย

                    การศึกษาเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในวัดหนองคอน ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย และ 3) ศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ที่มีผลต่อชาวพุทธบ้านหนองคอน ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย  การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และลงภาคสนามเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์

                  ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุมีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลดังที่เห็นจากอาทิกัมมิกะหมายถึงพระภิกษุผู้ที่เป็นต้นแห่งบัญญัติสิกขาบทสังฆาทิเสส ที่ปรากฏรวมถึงเรื่องของการอยู่ปริวาสกรรม ที่ปรากฏในพระธรรมวินัย มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่างคือ อัปปฏิจฉันนปริวาส ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส สุทธันตปริวาส แต่ละอย่างจะมีมูลเหตุของการอยู่ปริวาสกรรม เพื่อที่จะทำตนให้ออกจากอาบัตินั้นๆ

                   สภาพปัจจุบันการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในวัดหนองคอน ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย พบว่า ที่ปฏิบัติเป็นประเพณีกันอยู่เป็นแบบสุทธันตปริวาส เฉพาะจูฬสุทธันตปริวาสเท่านั้น ในเขตภาคอีสาน นิยมจูฬสุทธันตปริวาสนั้น เนื่องจากการอยู่ปริวาสแบบนี้ง่ายต่อการปฏิบัติ ไม่มีขั้นตอนมากมายเหมือนกับปริวาสแบบอื่น เพราะถ้าภิกษุรูปใดต้องอาบัติที่มีโทษหนักแล้ว ภายหลังระลึกได้ว่าตนเองได้ล่วงละเมิดอาบัติมาแล้วเป็นเวลากี่วัน กี่เดือน ก็ขอปริวาสเท่ากับวันที่ตนได้ปกปิดไว้เหล่านั้นก็ดี เป็นเวลา 10 วัน 9 คืน เท่านั้น ประเพณีการอยู่ปริวาสกรรมในสมัยปัจจุบันเน้นหนักไปในด้านการฝึกฝนอบรมข้อวัตรปฏิบัติตลอดจนพระกรรมฐาน เพื่อผลคือช่วยจรรโลงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มั่นคงและแผ่หลายออกไป      

                   การเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ที่มีผลต่อชาวพุทธบ้านหนองคอน ตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย พบว่า การเข้าอยู่ปริวาสกรรมเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่ โบราณที่ชาวอีสานยังมีการอนุรักษ์ให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของการเข้าอยู่ปริวาสกรรมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านหนองคอน ซึ่งจัดเป็นบุญประเพณีในทุกๆ ปี ของการอยู่ปริวาสกรรมของวัดหนองคอน ที่มีผลต่อด้านวัฒนธรรม บุญอยู่ปริวาสกรรม นับว่าเป็นหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน ของชาวอีสานที่ชาวบ้านหนองคอน ให้ความสำคัญเสมอมา สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ด้านสังคม ประเพณีบุญอยู่การอยู่ปริวาสกรรมทำให้ประชาชนในเขตวัดบ้านหนองคอน ได้สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้านการศึกษา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการเข้าอยู่ปริวาสกรรม ให้คนรุ่นใหม่สืบทอดประเพณีต่อไป ด้านเศรษฐกิจ พ่อค้าแม่ขายมามาก ก็จะทำให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านที่จัดการเข้าอยู่ปริวาสดีขึ้น การค้าขายในชุมชนมีปริมาณมาก เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                   The purposes of this study were: 1) to study Parivāsakamma in Theravada Buddhism 2) to study Parivāsakamma of the Buddhist Monks in Wat Nongkhon, Phonphaeng District, Nongkhai Province and 3) to study the results of Parivāsakamma of the Buddhist monks towards the Buddhists in Nongkhon Village, Phonphaeng District Nongkhai Province. This research was the qualitative research by studying the data from the documents and field study in order to collect the data from the interview.

                  The results of the research were found that for the background of Parivāsakamma in the Theravada Buddhism, Parivāsakamma of the Buddhist monks has come from the time of the Buddha as appeared in ādhakammika it means the Buddhist monk who was the beginner of an ordinance of Sanghādisesa as appeared including the act of probationary ritual and as appeared in Dhamma and Vinaya consisting of Four divisions, that is, Appaticchannaparivāsa, Paticchannapivāsa,  Samodhāparivāsa and Suddhantaparivāsa. Each one has the cause of the act of probationary ritual in order to from that offence.

                  The present situation of Parivāsakamma of the Buddhist monks in Wat Nongkhon Phonphaeng Sub-district, Ratanavapi District, Nongkhai Province was found that the ritual is practiced as the tradition that is called “Suddhantaparivāsa”. It is only a Curasuddhantaparivāsa in E-san region, on because of this, it is very easy for practice, not to have a lot of steps just like the other probationary rituals. If any Buddhist monk violates the heavy offence, he realizes of his own offence how long he violates and he asks for the act of probationary ritual in accordance with the number of days as he keeps it as top secrete or for 10 days and 9 nights only. The tradition of Parivāsakamma in the present, emphases the practical training including the subjects of meditation to maintain and to propagate Buddhism for stability and prevalence.

                  The Parivāsakamma of the Buddhist monks resulting in the impact on the Buddhists in the region of Wat Nongkhon, Phonphaeng Sub-district, Ratanavapi District, Nongkhai Province was found that the  Parivāsakamma is one of the ancient Heet Sibsong traditions and Kongsibsi of E-san people. All these traditions have been still preserved in the present. The relationship of Parivāsakamma and the  way of life of Nongkhon people is managed as the yearly merit- making of Parivāsakamma of Wat Nongkhon that impacts on the cultural aspect. Parivāsakamma is considered as the important tradition in 12 months of E-san people. Nongkhon people take this tradition as the importance continuously in order to prolong Buddhism. In the social aspect, the tradition of Parivāsakamma encourages people in the area of Wat Nongkhon create the unity by living together happily. In the educational aspect, it encourages people to learn Parivāsakamma in order to encourage the offsprings to inherit all these tradition. In the economical aspect, the majority of merchants will make the economic atmosphere better in the village that is the place of Parivāsakamma. It creates a lot of trades and it spreads out the profits to the community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.53 MiB 310 17 มิ.ย. 2564 เวลา 01:29 น. ดาวน์โหลด