โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกร ในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษReinforcing Farming Group’s Community Strength Based on Principles of Buddhism’s Economy in Yang Sisurat District of Maha Sarakham Province
  • ผู้วิจัยพระครูประทีปวีรธรรม (ปัญญา ปญฺญาปทีโป)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/825
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 184
  • จำนวนผู้เข้าชม 263

บทคัดย่อภาษาไทย

                   การศึกษาวัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม  โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการประมวลผลการศึกษาแล้วนำเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ พบว่า

                  หลักเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในงานวิจัยมีอยู่ 3 ประการ คือ การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ที่เน้นการมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม มีเหตุ มีผล ในการผลิตมีการจำหน่ายและบริโภควัตถุเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คุ้มค่าด้วยปัญญา ไม่ส่งเสริมการผลิตแบบทุนนิยมและบริโภคด้วยตัณหา แต่เน้นให้ผลิตด้วยปัญญาค่อยเป็นค่อยไปตามเหตุปัจจัยและรู้จักประมาณในปัจจัย 4 ที่สำคัญต้องตั้งอยู่บนประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

                    สภาพทั่วไปของกลุ่มเกษตรในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ได้มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 5 กลุ่มคือ  กลุ่มบำนาญชาวนา กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มทำเครื่องจักสาน  และกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทุกกลุ่มล้วนมีหลักการและวิธีการในการทำงาน กลุ่มบำนาญชาวนาเน้นเรื่อง ดิน นา ป่า น้ำ กลุ่มโรงปุ๋ยจะเน้นปุ๋ยที่เป็นชีวภาพ  กลุ่มเครื่องจักสาน จะเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติในการผลิต กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จะเน้นในเรื่องของการผลิตผ้าไหมส่งออก ทุกกลุ่มล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยปัญหาที่พบแต่ละกลุ่มนั้นส่วนมากจะเป็นในเรื่องของภัยธรรมชาติ  แหล่งน้ำมีสารเคมีตกค้างจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช  เรื่องของการขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน

                   การเสริมสร้างความเข็มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเกษตรกรได้นำหลักสัมมาอาชีวะ หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4, นาถกรณธรรม 10, สังคหวัตถุ 4, การละเว้นอคติ 4, มัตตัญญุตา, โภควิภาค 4 ซึ่งสิ่งสำคัญสุดของกลุ่มเกษตรกรคือการดำรงชีวิตตามหลักสันโดษและหลักมัตตัญญุตา ตรงกับหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การผลิตและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพื่อหวังผลกำไรเท่านั้น แต่หมายเอาการได้พัฒนาองค์ประกอบทุกอย่างของชีวิต เช่น การรู้จักประมาณ การไม่เอารัดเอาเปรียบกันไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                    The aims of this research were: 1) to study the concepts and theories related to community strength creation and Buddhist economy; 2) to study for reinforcing the community strength by using the Buddhist economy of the farming group in Yang Sisurat district, Mahasarakham province. This study was carried out by means of documentary research and fieldwork study. The gathered data were interpreted by the descriptive analysis. The research results were as follows:

                   Economic principles in Theravada Buddhism There are 3 researches in production, distribution and consumption is production, distribution and consumption That emphasizes having a sense of gratitude Rightful, rational, rational opinions in production, there are sales and consumption of objects to create benefits for society. Use natural resources for the best value with wisdom Do not promote capitalist production and consume with passion. But focus on production with gradual intelligence according to the factors and know about in factor 4 Important must be based on the benefits of oneself and others. Correctly and fairly

                     Based on the study of the general conditions of agricultural groups in Yang Sisurat district, Mahasarakham province, there are 5 groups of farmers divided into groups of pensioner farmers, organic vegetable growing, bio-fertilizer production, basketry and mulberry growing and sericulture. All groups have the principles and methods of working. The pensioner farmer group will do in the matter involving soil, water and forest by improving the quality of soil, planting trees along the rice field ridge and digging water wells, etc. The fertilizer plant group focuses on bio-fertilizers used to nourish the soil, rice plants, trees and vegetables. The basketry group focuses on the use of natural materials in production, such as bamboo, and the use of daily life materials in the production. The mulberry growing and sericulture group focuses on the production of exported silk. Every group has a relationship with one another. The problems encountered by each group are mostly natural disasters, water sources containing pesticide residues from the use of pesticides and the lack of public relations to connect with government and private agencies.

                    reinforcing the community's strength based on the Buddhist principles of the farmer group in Yang Sisurat district, Mahasarakham province by using Buddhist economy consists of the structures based on general economic principles, namely production, consumption and distribution (marketing). With the principles of Buddhism inserted in all three principles, the farmers apply the principles as follows: the production must be in a way that does not encroach on others and does not waste resources. The marketing must consider the needs and abilities of consumers including the quality of production. It must be generous to others, not seek for the profit only profit. Buddhist consumption must really focus on the quality of life. The consumption must consist of four requisites as needed and they do not consume because they want to satisfy their passion but based on virtues which make for protection (nāthakaraa-dhamma) or self-reliance.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.68 MiB 184 17 มิ.ย. 2564 เวลา 02:15 น. ดาวน์โหลด