โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Elderly’s Health by Using Buddha Paritta
  • ผู้วิจัยพระเดชา สีลเตโช (ศรีภูงา)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/828
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 219
  • จำนวนผู้เข้าชม 299

บทคัดย่อภาษาไทย

                   การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการสวดพุทธปริตรในการรักษาสุขภาพสมัยพุทธกาล 2) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตรโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ อำเภอจตุรพักตรพาน จังหวัดร้อยเอ็ด

                  การสวดพุทธปริตรในการรักษาสุขภาพสมัยพุทธกาลมีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก อรรกถาและฎีกา ซึ่งเริ่มเมื่อผู้ป่วยได้เจริญพระพุทธมนต์หรือได้ฟังเสียงสวดมนต์แล้ว ทำให้สุขภาพร่างกายฟื้นฟูและแข็งแรงขึ้น เพราะเสียงที่เกิดจากการสวดหรือฟังมีผลต่อสภาพจิตใจผู้ป่วยที่เป็นไปในทางบวก

                  ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน) ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานส่วนมากจะป่วยตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอยู่กับครอบครัว ชอบทำบุญที่วัด โดยเฉพาะในวันพระ เพื่อถือศีลแปดมีอาชีพ ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา ค้าขาย เพื่อให้มีรายได้ ชอบอยู่ในบ้านเรือนของตนเอง เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน สุขภาพทางกายโดยภาพรวมมีความแข็งแรงเป็นปกติ และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง แต่ถึงกระนั้นความเจ็บป่วยเริ่มมีให้เห็นปรากฏเป็นไปตามธรรมดาของวัย

                  วิธีการเสริมสร้างสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุมีความต้องการอยากที่จะเขาร่วมกิจกรรมกับลูกหลาน เพื่อที่จะทำให้สุขภาพทางจิตใจดีขึ้น และสุขภาพร่างกายจะดีขึ้นตามได้ก็เพราะจิตใจที่ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ผู้ให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ การตรวจคัดกรองสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้วย และการนำการสวดมนต์บทต่างๆ ในการประกอบพิธีกรรมสวดพระปริตรทำให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตดียิ่งขึ้น

                   การเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตรนั้น พุทธปริตร นอกจากจะเป็นพิธีสร้างขวัญกำลังใจ และทำให้คนได้สำนึกอยู่ในความไม่ประมาทแล้วการสวดพระปริตร ยังถือได้ว่ามีผลหรือประโยชน์ในทางการรักษาสภาวะด้านจิตใจและโรคทางกายเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนานโรคที่ต้องอาศัยการฟื้นฟู ทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจพร้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆเพื่อการมีชีวิตรอดจนสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายของตนเองสู่สภาพปรกติได้

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  The aims of this research were: 1) to study the current conditions and problems of holistic health of the elderly; 2) to study the methods for promoting the holistic health of the elderly; 3) to present the promoting the holistic health of the elderly by using Buddha Paritta.

                  The research results revealed that based on the study of the current conditions and problems with the holistic health of the elderly, it was found that the elderly simply live with their family, like to perform meritorious deeds at temples, especially on the day of the Buddha, to hold the eight precepts, most of them do agriculture by making a small farm to make money for their own income, do not want to disturb their children, like being in their own homes, are respected by people in the community. The holistic physical health is normal and they are able to do their routines on a daily basis. Yet they have problems in the deterioration of the body such as joint degeneration, wrinkled skin and body, sensory perception decreases and illnesses.

                  The methods to strengthen the holistic health of the elderly are that the elderly have a desire to join the activities with their children in order to improve mental health and physical health which can be improved by the better mind. In addition, service providers in promoting elderly health must play a role in providing health news, health screening, health promotion, arranging the health promoting activities for the elderly and introducing various chants in the ritual of Buddha Paritta chanting, causing the betterment of the physical and mental health.

                   In regards to the model for promoting the holistic health of the elderly by using Buddha Paritta, it was suggested that Buddha Paritta is a morale building ceremony, is chanted for security of life, happily living, a normal life and making people aware of their heedfulness. The chant is also considered in terms of its effectiveness or benefits in the treatment of mental conditions, chronic physical diseases that require a long treatment and diseases that require rehabilitation. This makes the mind strong and willing to fight against various obstacles for survival until they can restore their physical condition to normal conditions.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.7 MiB 219 17 มิ.ย. 2564 เวลา 03:15 น. ดาวน์โหลด