-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษReconciliation Promotion for Social Peace by Administrative Monks in Pathumthani Province
- ผู้วิจัยพระมหาอำนาจ อจฺฉริยเมธี (ดีรัตน์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา20/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/830
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 116
- จำนวนผู้เข้าชม 328
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนรอบวัดในจังหวัดปทุม ธานี ในการเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบในการพัฒนาการเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุขโดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี
การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อ มูลสำคัญ จำนวน 22 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 รูป/คน การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 194 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของชุมชนรอบวัดในการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อสังคมสันติสุขของพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1) ด้านหลักความถูกต้อง พระสังฆาธิการ มีการบรรยายธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง ไม่บิดเบือน 2) หลักความเหมาะสม พระสังฆาธิการบรรยายธรรมโดยการให้นำหลักความเหมาะสมมาใช้ในการปฏิบัติ 3) หลักความบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นแนว ทาง และให้ปฏิบัติในหมู่คณะด้วย 4) นำหลักความยุติธรรม มาใช้ให้เสมอหน้ากัน 5) หลักพรหมวิหารธรรม พระสังฆาธิการ นำหลักธรรมคำสอนในด้านเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ใช้ในการดำเนินชีวิต 6) หลักความเสียสละ สอนให้อยู่ในสังคมต้องเสียสละให้กับส่วนรวม
2. องค์ประกอบของการเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการ จังหวัดปทุมธานี พบว่า การเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี ด้านแนวคิดเรื่องปรองดอง 6 ด้าน โดยมีภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านพรหมวิหาร 4 ให้ความช่วยเหลือ ปรับทุกข์ แนะนำ เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ใจของประชาชน (X̅ = 3.93) รองลงมา คือ ความเสียสละ บริจาคทรัพย์ในโอกาสต่างๆ ให้กับนักเรียน โรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน หมู่บ้าน (X̅= 3.91) ด้านความถูกต้อง บรรยายธรรมปลูกฝัง ให้ประชาชนที่มาวัดรู้ถึงการรู้รักสามัคคี ปรองดอง แบ่งปันกัน (X̅ = 3.90) ด้านความเหมาะสม ให้ความร่วมมือกับประชาชน ชาวบ้าน ในการพัฒนาเพื่อสร้างความสามัคคี (X̅= 3.88) ด้านความบริสุทธิ์ บรรยายธรรมโดยนำหลักธรรมคำสอนของพระศาสนา ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (X̅ = 3.81) และด้านความยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่น สนับสนุนและชี้ทางให้ประชาชนเคารพกฎหมายบ้านเมือง (X̅= 3.78)
3. นำเสนอรูปแบบในการเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1) ด้านหลักความถูกต้อง พระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ ตามภารกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์อย่างเคร่งครัด ในการเผยแผ่พุทธศาสนา โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่อยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง และไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย 2) ด้านความเหมาะสมพระสังฆา ธิการ เสริมสร้างความปรองดองโดยใช้หลักความเหมาะสมมาดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ประมาท รู้จักพิจารณาเหตุ พิจารณาผล รู้จักกาลเวลา รู้จักประมาณ 3) ด้านความบริสุทธิ์นำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ใจ 4) ด้านความยุติธรรม พระสังฆาธิการจะต้องเสริมสร้างความปรองดองด้วยการยึดหลักความยุติธรรม และให้ความรู้ด้านยุติธรรมกับประชาชน 5) ด้านพรหมวิหาร พระสังฆาธิการ จะต้องมีความรู้ด้านหลักธรรมคำสอนในด้านพรหมวิหารธรรม เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้นำแนวทางมาปฏิบัติได้ 6) ด้านหลักความเสียสละ พระสังฆาธิการจะต้องปลูกฝังบรรยายธรรมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ เข้าใจถึงความเสียสละเพื่อส่วนรวม และดำเนินชีวิตไปอย่างถูกต้อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the communities around monasteries in Pathumthani Province to create by Administrative Monks in Pathumthani Province, 2.To study components of reconciliation promotion for social peace by administrative monks in Pathumthani Province And 3. To propose a model of reconciliation promotion for social peace by administrative monks in Pathumthani Province. Methodology was the mixed methods: The qualitative research collected data from 22 key informants by in-depth-interviewing and 12 participants in focus group discussion and analyzed data by descriptive interpretation. The quantitative research collected data with questionnaires from 194 samples and analyze data with statistical program for social research. The statistics used to analyze the data were Frequency, Percentage, deviation, SD.
Findings of the research were as follows
1. General conditions of communities around monasteries to create reconciliation for social peace by administrative monks in Pathumthani Province were that: 1) Righteousness; administrative monks delivered buddhism according to Buddha’s teachings, correctly, not deviated from principles, 2) appropriateness; administrative monks delivered Dhamma appropriately and suggested audiences to use the appropriateness principle to use as the guideline for live, 3) Purity; using Buddha’s teachings as the guideline for practice with sincerity, 4) Justice; the administrative monks must promote conciliation adhering to the justice principle, and deliver knowledge of justice principle to people, 5) Brahmaviharadham; administrative monks must have knowledge of Brahmaviharadham to be able to guide Buddhists to the right method of practice, 6) Sacrifice; Administrative monks must lecture Dhamma to the people to understand that to live in society ones must sacrifice for all.
2. Components of the reconciliation promotion for social peace by administrative monks in pathumthani province were found that the 6 concepts of reconciliation promotion by overall were at higt levels (X̅=3.87), Each aspect was at the levels, from higt to lows as follows: First Brahmaviharadhamma 4, helping, consoling people to overcome sufferings, was at (X̅=3.93), Secondly the sacrifice, occasionally donating properties to students, hospitals, schools, communities and villages was at (X̅=3.91), Righteousness; delivering Dhamma to cultivate love, unity, reconciliation and sharing among laities who came to monasteries was at (X̅=3.90), Appropriateness; to cooperate with people, villagers to develop the unity was at (X̅=3.88), Purity; lecturing Dhamma, the Buddhist teachings with sincerity was at (X̅=3.81), Justice; promoting just and self confidence, supporting and guiding people to abide by laws and orders of country (X̅=3.78)
3. The proposals reconciliation promotion for social peace by administrative monks in pathumthani province were found that: 1) Righteousness; administrative monks in pathumthani province must perform tasks in 6 areas according to sangha missions strictly. Buddhism dissemination must be carried out along with the Buddha’s teachings strictly, not deviate Dhamma the principle, not against Dhamma and vinaya. 2)Appropriateness; administrative monks promoted social conciliation with appropriateness for daily living such as, heedfulness, cause and effects, time awareness and moderation. 3) Purity; using Buddhist principle for guideline of behavior with sincerity. 4) Justice; administrative monks promoted conciliation with justice principle and give knowledge about justice to people. 5) Brahmaviharadhamma; administrative monks must have knowledge about Brahmaviharadham so that they could guide people to practice in daily life. 6) sacrifice; administrative monks must cultivate Dhamma in youths, new generation to understand the principle of sacrificing for all and how to live life righteously.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 21.18 MiB | 116 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 03:13 น. | ดาวน์โหลด |