-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนา เถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Concept and Practice of Penance in Theravada Buddhism and Brāhmanism-Hinduism
- ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์สุพจน์ พุทฺธธมฺโม (กลิ่นเกตุ)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาจรูญ กิตฺติปญฺโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กฤต ศรียะอาจ
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/833
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 469
- จำนวนผู้เข้าชม 742
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนา เถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในศาสนาพราหมณ์ฮินดู 3) เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดและการบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ผลการศึกษาพบว่า
การบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการฝึกความเพียรเพื่อเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดกิเลสและมีเป้าหมายเพื่อบรรลุนิพพาน โดยการปฏิบัติตามหลักของไตรสิกขา ได้แก่ 1) อธิศีลสิกขา ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศีล 2) อธิจิตตสิกขา ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสมาธิ และ 3) อธิปัญญาสิกขา ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับปัญญา และเมื่อปฏิบัติตบะตามหลักไตรสิกขานั้นแล้วสามารถพัฒนาให้เกิดปัญญาในขั้นโลกุตระธรรม คือ การเห็นแจ้งในสรรพสิ่ง กำจัดกิเลสและอวิชชาพร้อมทั้งใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างในการดำเนินชีวิตได้
การบำเพ็ญตบะในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เป็นการบำเพ็ญเพียรในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการทรมานกาย เช่น การตากแดด ผึ่งลม เป็นต้น เพื่อให้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติอันสะอาดดั้งเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด (โมกษะ) โดยหลอมรวมอาตมันของตนเข้าสู่ปรมาตมัน หรือ การทำให้วิญญาณของตนเข้าร่วมอยู่กับปฐมวิญญาณ เรียกว่าเข้าถึงโมกษะอันเป็นความหลุดพ้นจากสังสารวัฏแห่งชีวิตของมนุษย์ โดยอาศัยการหลักปฏิบัติ 2 ประการ คือ โยคะ 4 และโยคะ 8 เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุสู่จุดมุ่งหมายสูงสุด 4 ประการคือ อรรถ กามะ ธรรมะ และโมกษะ
การบำเพ็ญตบะในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีนัยที่เหมือนกันในจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของการฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลสภายในตัวเอง ส่วนประเด็นที่ต่างกันคือพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นหลักมัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นทางสายกลางในการปฏิบัติ โดยอาศัยเครื่องมือคือไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีการบำเพ็ญเพียรหลายรูปแบบรวมทั้งการทรมานตน โดยอาศัยหลักปฏิบัติ 2 ประการ คือ โยคะ 4 และโยคะ 8
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Comparative Study of Concept and Practice of Penance in Theravada Buddhism and Brāhmanism-Hinduism” has three objectives: 1) to study the concept and practice of penance in Theravada Buddhism, 2) to study the concept and practice of penance in Brāhmanism-Hinduism, and 3) to comparatively study the concept and practice of penance in Theravada Buddhism and Brāhmanism-Hinduism. This study is of documentary research. The sources of this study have been collected from documents and research papers related to this thesis.
The results of the study were as follows:
The practice of penance (tapa) in Theravada Buddhism is of training Perseverance for overcoming defilements aiming at eliminating defilements and attaining nibbāna by following three training (Ti-sikkhā), i.e., training in morality (Sīla Sikkhā), training in concentration (Citta Sikkhā), and training in wisdom (Paññā Sikkhā). When the practitioners follow three trainings, then they would develop wisdom into the level of supermundane, that is to say, realizing all things, removing all defilements and illusion, at the same time, living life with wisdom as the light of life.
The practice of penance in Brāhmanism-Hinduism uses many ways of practices including the extreme way such as drying oneself with harsh sunlight, and air drying etc., in order to balance oneself with the original pure nature aiming at reaching the ultimate goal (Moksha). It is the unification of one’s soul (Ātman) with Paramātaman or making one’s soul unified with the first spirit. It is called “the attining of Moksha that emancipate oneself from transmigration of human beings by following two ways of practices, namely, four Yoga and eight limbs of Ashtanga yoga. When the practitioners follow these kinds of practice, then they would be able to attain the four ultimate goals of being human (Puruṣārtha) viz., Artha, Dharma, Kāma, and Moksha.
From the comparison of the practice of penance between Theravada Buddhism and Brāhmanism-Hinduism, it was found that both of them has the similar aspect on objective and the goal of practice, i.e., eliminating defilements inside themselves till they fulfill the ultimate goal as the belief in their own religion, but the differences of them is on the way of practice; Theravada Buddhism emphasizes on the middle way of practice (Majjhimāpaṭipadā) by following three training (Ti-sikkhā), i.e., training in morality (Sīla Sikkhā), training in concentration (Citta Sikkhā), and training in wisdom (Paññā Sikkhā), whereas Brāhmanism-Hinduism had many ways of practice including the extreme way such as mortifying oneself by following three stages of practice, viz., four Yoga and eight limbs of Ashtanga yoga.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.3 MiB | 469 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 03:53 น. | ดาวน์โหลด |