-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบเมตตาในพุทธเถรวาทกับศาสนาขงจื้อ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Mettā in Theravada Buddhism and Confucianism
- ผู้วิจัยพระสมุห์พงศกร กิตฺติโก (นาคสกุล)
- ที่ปรึกษา 1พระศรีรัตโนบล, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กฤต ศรียะอาจ
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/837
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 262
- จำนวนผู้เข้าชม 462
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ประสงค์ที่จะศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบเมตตาในพุทธเถรวาทกับศาสนาขงจื้อ เพื่อค้นหาความเหมือนและความต่างระหว่างแนวคำสอนทั้งสองระบบ
ผลการศึกษาพบว่า
ในแง่ของบทนิยามและความหมาย เมตตาเพ่งถึงเรื่องของจิตใจที่มุ่งดี ปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น เป็นความรู้สึกดีงามที่ต้องการให้ทุกคนในสังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยไม่เบียดเบียนกัน แต่ก็มีประเด็นที่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่น เมตตาในพุทธศาสนาเถรวาทมีการกำหนดลงไปชัดเจนว่า ความรู้สึกหรืออารมณ์ดังกล่าวนั้นจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องตัณหา หรือราคะ ขณะที่ขงจื๊อไม่ได้ย้ำถึงประเด็นดังกล่าว อีกทั้งเมตตาในขงจื๊อเป็นเรื่องธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ขณะที่พุทธศาสนาเถรวาทไม่ได้ถือเช่นนั้น
ในประเด็นเกี่ยวกับสารัตถะ และปัจจัยสนับสนุนให้เกิด เมตตาเริ่มต้นจากจิตใจ จากนั้นก็พัฒนาไปสู่พฤติกรรมทางกาย และวาจาในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาศัยการฝึกฝนอบรมตนเองอย่างสม่ำเสมอ แต่ส่วนที่แตกต่างกันก็มีเช่นกัน เช่น เมตตาในพุทธศาสนาเถรวาทมีส่วนที่เมตตาในขงจื๊อไม่มี ได้แก่เมตตาระดับฌาน หรือเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาในขงจื๊อเน้นเฉพาะสังคมมนุษย์ ขณะที่พุทธศาสนาเถรวาทไม่จำกัดขอบเขตเฉพาะสังคมมนุษย์เท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตไปยังสรรพสัตว์ด้วย
ในประเด็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและความสำคัญ เมตตาเน้นเรื่องความสงบสุขของสังคม และเป็นคุณธรรมที่สามารถใช้ได้ในที่ทั่วไป ในส่วนที่แตกต่างกัน น้ำหนักคำสอนเรื่องเมตตาของขงจื๊ออยู่ที่สังคม และการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่พุทธศาสนาเถรวาทโดยเฉพาะตามหลักฐานที่ปรากฏในชั้นบาลี เมตตาถูกย้ำมากที่สุดในสังคมสงฆ์ และก็ผูกติดอยู่กับเรื่องกัมมัฏฐาน ในฐานะเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน
เมื่อกล่าวถึงฐานะของเมตตา เหรินถือว่าเป็น “หัวใจ” ของคำสอนในขงจื๊อ ขณะที่เมตตา แม้จะมีความสำคัญ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะเป็น “หัวใจ” ของคำสอน
ในแง่ของความสัมพันธ์กับหลักธรรมอื่น ๆ เมตตามีคุณธรรมอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมเพื่อให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันหลายประเด็น เช่น เหรินผูกติดอยู่กับคุณธรรมอื่นอย่างชนิดที่ขาดไม่ได้ หมายความว่า ถ้าไม่มีคุณธรรมอื่น ๆ มาช่วยสนับสนุน เมตตาก็จะขาดความสมบูรณ์ ขณะที่เมตตามีความสมบูรณ์อยู่ในตัว ยิ่งไปกว่านั้น เมตตายังช่วยทำให้คุณธรรมอื่น ๆ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย
ในส่วนของแนวทางปฏิบัติ เมตตาเริ่มต้นฝึกจากตัวเองก่อนเป็นลำดับแรก โดยขงจื๊อและพุทธศาสนาเถรวาท เน้นที่การขัดเกลาทางด้านจิตใจ และการระมัดระวังกิริยามารยาทที่แสดงออก ส่วนที่แตกต่างกันคือ ขงจื๊อนำหลักเมตตาไปผูกติดอยู่กับหลักจารีต(หลี่) ทั้งรูปแบบในการปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ไม่อาจกำหนดชัดตายตัวได้ ขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาทมีรูปแบบที่ชัดเจนกว่า
ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ทั้งเมตตาขงจื๊อและเมตตาพุทธศาสนาเถรวาทมักจะถูกนำเสนอเฉพาะในส่วนที่เป็นแง่บวก แต่ก็มิได้หมายความว่า เมตตาจะไม่มีผลในทางที่เสีย โดยเฉพาะหากปฏิบัติไปโดยขาดปัญญา และเมื่อพิจารณาในส่วนของการประยุกต์ใช้ในปัจจุบันก็ทำให้พบว่า หลักเมตตา ในพุทธศาสนาเถรวาท มีความหลากหลายมากกว่าหลัก เมตตาในขงจื๊อ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this thesis are to study of the comparative study of Mettā in Theravada Buddhism and Confucianism to find out the similar and the different teachings of them.
The result of study found that:-
The term of definition and meaning of Mettā, it focused on the matter of good mind, to be compassionated to others. It is good feeling that wishing people all in the society living together happily without other’s encroachment. There are different issues in some points such as Mettā in Theravada Buddhism is clearly fixed by the feeling or emotion that is not concerned by the craving. While, Confucianism does not emphasize that issue. Moreover, Mettā in Confucianism is one of the human’s nature. Then Theravada Buddhism does not emphasize like that.
The essence and factor of supporting to be Mettā is begun by mind. And it is developed to the physical and verbal behavior in various forms. It is depended on the regularly self-training. Then, it also has the different point such as there is Mettā in Buddhism, but there is no Mettā in Confucianism, for example, Mettā in the level of absorption or Mettā in the deliverance of mind. Mettā in Confucianism has emphasized only human society, then, Theravada Buddhism hasn’t limited only human society, it also is expanded into human scope.
The purpose and importance of Mettā is emphasized on the peace of society, and the virtue applying into everywhere. The different point, Mettā of Confucius is mostly emphasized on the society and the politics. While, Theravada Buddhism, especially, the evidence appearing in Pali Texts, Mettā is mostly emphasized on the Sangha Community and Mediation as the sense-objects of Tranquility Meditation.
When referring the status of Mettā, Rén is held that “Heart” of Confucius teachings, although Mettā is important but it is not “Heart” of teaching.
In term of the relationship with other principles, Mettā has other virtues as the important factor to promote completely. But there are many different points such as Rén is deepened on the other virtues which means that if it is no have any virtues supporting, Mettā is lack of completed, while Mettā is complete in itself. Moreover, Mettā also helps other virtues had more completed.
In the practical way, Mettā has firstly started from self-training. Theravada Buddhism and Confucianism emphasized on mental refining and carefulness of manner expressed. The different point is Mettā of Confucius is attached by mores (li) including the form of practice depend on situation, it can not be fixed, then, Theravada Buddhist Philosophy is clearly more form.
The result of practice, Mettā both Theravada Buddhism and Confucianism are often presented in the positive aspects only, but it does not mean that Mettā is no negative result, if especially he has practiced lack of wisdom. And when considering the current application is found that the principle of Mettā in Theravada Buddhism has more varieties than Confucianism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 826.45 KiB | 262 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 05:32 น. | ดาวน์โหลด |