-
ชื่อเรื่องภาษาไทยผลของกิจกรรมกลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษResult of Group Activity according to Principles of Proper Attention (Yonisomanasikāra) in Chronic Patients’ Self- treatment.
- ผู้วิจัยนางสาวจันทรัตน์ อินทโรหิต
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เริงชัย หมื่นชนะ
- ที่ปรึกษา 2ดร.นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
- วันสำเร็จการศึกษา25/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาชีวิตและความตาย
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/838
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 342
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยผลของกิจกรรมกลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการและวิธีการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง (2) เพื่อพัฒนากิจกรรมตามหลักโยนิโสมนสิการในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง และ (3) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมตามหลักโยนิโสมนสิการในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง ศึกษาแนวคิดจากพระพุทธศาสนาว่าด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีวิธีคิด 10 รูปแบบในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะวิธีรู้คุณโทษและทางออก มาบูรณาการกับทฤษฎีการดูแลตนเองแล้วจัดเป็นรูปแบบของกิจกรรมกลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ศึกษาในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่มีค่าอัตราการกรองของไตอยู่ระหว่าง 16-45 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 30 คน 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้กิจกรรมกลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการที่ผู้วิจัยบูรณาการขึ้นมาใช้ร่วมกับการประเมินผลการดูแลตนเองเป็นแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 3 ด้าน คือ ด้านรู้คุณ ด้านรู้โทษ และด้านรู้ทางออก สำหรับการวิเคราะห์ผลการวิจัย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยไตเรื้อรังมีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ยมากกว่า 61 ปีขึ้นไป มีโรคร่วมคือโรคเบาหวานและความดันโลหิตมากที่สุด และผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า 1) ก่อนการทดลองระดับการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุม 2) หลังการทดลองกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการมีระดับคะแนนที่มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ค่าเฉลี่ยของอัตราการกรองของไตขอผู้ป่วยไตเรื้อรังของกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการหลังการทดลองเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research study of a group activity’s result according to principles of Proper Attention in the chronic patients’ self-treatment had three purposes like: 1. to study a theoretical concept about Proper Attention a process of chronic patients self-treatment, 2. to develop activity according to principles of Proper Attention in Chronic patients’ self-treatment and 3. to study the result of activity according to principles of Proper Attention in Chronic patients’ self-treatment. The study of concept of Buddhism about Proper Attention had ten models of thinking way. In this research the researcher studied a particular learning of merit and demerit and a way of solution to be integrated with the theory of self-treatment into the format of a group activity which was an experimental research. The study of chronic patients had the rate of filtering Kidney at intervals of 16-45 milliliter a minute equal 1.73 square meter there were a number of 60 people who came to get a treatment at Makarak Hospital, Kanchanaburi Province and who were divided into two groups of which each was 30 people. Group 1 was an experimental one and Group 2 was a controlling one by using a group activity according to principles of Proper Attention which the researcher integrated to use with an evaluation of self-treatment which was a pattern of behavior to chronic patients’ self-treatment in three ways: to know merit, to know demerit and to know the way of resolution.
To an analysis of research result, there was a use of content analysis for qualitative and quantitative data by depending upon statistic ready-made programme, such as percentage, average standard-bias and T-test.
The result of research was found that the sampling group of chronic patients were women move than men. Everage ages were more than 61 years up. They had common diseases like: mostly diabetes and blood-pressure and the result of statistic data analysis was found that
1. Before the experiment at the level of the sampling group’s self-treatment was different from a controlling group.
2. After the experiment of a group participating in a group activity according to principles of Proper Attention there was a level of marks more than experiment in the statistic significance at .05 .
3. After experiment there was a level of self-treatment greater than a controlling group M a statistic significance at .05 .
4. An average of rate in fintering chronic patients’ nephritis of a group participating in activity according to principles of Proper Attention after increased experiment at the same as a group getting some advice as usual.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|