-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Characteristics of Precept for Decent Conduct of Monks in Theravada and Mahayana Buddhism
- ผู้วิจัยพระอธิการสมบัตร จารุธมฺโม (ถาวร)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาจรูญ กิตฺติปญฺโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กฤต ศรียะอาจ
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/839
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,312
- จำนวนผู้เข้าชม 740
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายาน” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท 2) เพื่อศึกษาลักษณะของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของอภิสมาจารสิกขาบทของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับพระภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เกี่ยวกับอภิสมาจารสิกขาบททั้งเถรวาทและมหายาน
ผลการวิจัยพบว่า
ในพระพุทธศาสนาเถรวาท อภิสมาจาร หมายถึงบทบัญญัติทางวินัยที่เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนการประพฤติที่ดีงามที่พระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้เพื่อความผาสุกและงดงามของภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสมาจารสิกขาบทตามสภาพภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง ลักษณะสิกขาบทที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เช่น การอุปสมบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติยกเว้นสำหรับพื้นที่ที่มีพระภิกษุจำนวนน้อยให้อุปสมบทโดยให้มีพระสงฆ์เข้าร่วมสังฆกรรม จำนวน 5 รูป ได้ การสรงน้ำ รวมถึงเรื่องการเก็บภิกษาหารได้ในยามเกิดทุพภิกขภัย สิกขาบทที่เกี่ยวกับสังคมพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้กุลบุตรสามารถเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา โดยไม่มีเลือกชั้นวรรณะ และลักษณะของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมในการบิณฑบาต การนุ่งห่มจีวร เสนาสนะ คิลานเภสัชเป็นต้น
อภิสมาจารสิกขาบท ในพระพุทธศาสนามหายาน มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการแตกต่างไปจากจุดกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ สภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมที่ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดอภิสมาจารขึ้นมา ลักษณะอภิสมาจารด้านภูมิศาสตร์ของพระพุทธศาสนามหายาน เช่น การอุปสมบท และการนุ่งห่มจีวรที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น ส่วนลักษณะของอภิสมาจารด้านสังคม เกิดการพัฒนาการไปตามสภาพสังคมในแต่ละยุค เช่น การประกอบอาหารทานเองได้ การมุ่งบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก ซึ่งเปลี่ยนไปตามสภาพพื้นที่ และลักษณะของอภิสมาจารด้านวัฒนธรรม เช่น การไม่ทานเนื้อสัตว์ การฉันอาหารในเวลาเย็นเป็นต้น
จากการเปรียบเทียบลักษณะของอภิสมาจาร ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน พบว่าโดยมากแล้ว มีความแตกต่างกันเนื่องจากการเกิดขึ้นและพัฒนาการของมหายานได้ขยายขอบเขตและบริบทต่างไปจากจุดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้ขยายไปยังประเทศจีนซึ่งมีสภาพพื้นที่ สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากพื้นที่ที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นอย่างมาก เช่น วิธีการอุปสมบท การห่มจีวร การทำอาหารฉันเอง การฉันอาหารในยามวิกาลเป็นต้น แต่จุดที่มีความเหมือนกันอยู่บ้าง ได้แก่ ปฏิบัติตามฐานะ และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Comparative Study of Precepts for Decent Conducts of Monks in Theravada and Mahayana Buddhism” has three objectives: 1) to study the characteristics of precepts for decent conduct of monks in Theravada Buddhism, 2) to study the characteristics precept for decent conduct of monks in Mahayana Buddhism, and 3) to comparatively study the characteristics of precept for decent conduct of monks in Theravada and Mahayana Buddhism. The study is of documentary research by collecting data from documents and the research papers related to precepts for decent conducts of both Theravada and Mahayana
The results of study were as follows:
In Theravada Buddhism, the precepts for decent conduct of monks (Abhisamãcãra) is the act of Discipline related to order, tradition and custom for good behavior prescribed by the Buddha for the well-being and goodness of monks in Buddhism. The Buddha prescribed Ahisamãcãra as per geography, society and culture that Buddhism reached to. The characteristics of geographical precepts such as ordination in place where there are less monks that the Buddha allowed five monks can pursue the procedure of ordination, bathing, including the keeping of foods in the time of famine; social precepts such as the permission to all men from all walks of life to enter to monastery without discrimination from social status, and cultural precepts such as the culture of receiving alms food, cloth dressing, shelter, medicine etc.
The decent conduct of monks In Mahayana Buddhism has different origin and development from the original point of Buddhism due to the differences of geographical social and cultural status, thereby making the emergences of the precepts for decent conduct. The characteristics of the geographical precepts in Mahayana Buddhism such as ordination, and robe dressing that have different of practice depending on locality; social precepts evolves from time to time such as food cooking, and doing for the sake of the world that has changed in accordance with various places and times, and also the cultural precepts such as eating non vegetarian food, eating food at the night time etc.
From the comparison on the characteristics of precepts for decent conduct of monks in Theravada and Mahayana Buddhism, it was found that they are mostly different due to the occurrence and the development of Mahayana has expanded out of the original point of Buddhism, especially, when Buddhism expanded to China that has geography, society and culture much different from localities that follow Theravada Buddhism, for example, the procedure of ordination, type of robe dressing, cooking by oneselves, eating food at the night time etc. But they have similarity on some points, for example, the practice as per their status, and doing good for the sake of the benefit to the world.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.75 MiB | 2,312 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 05:44 น. | ดาวน์โหลด |