โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntergration on Four Iddhipada in Administration of Basic Educational Schools under Udonthani Primary Educational Service Area Office 4
  • ผู้วิจัยนายบวร ปุยะติ
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สังวาลย์ เพียยุระ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธีระศักดิ์ บึงมุม
  • วันสำเร็จการศึกษา19/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/840
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 298
  • จำนวนผู้เข้าชม 523

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4  2. เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน  3. เพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี   เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 414 คน และครูผู้สอน จำนวน 327 รวมทั้งสิ้นจำนวน 468 คน และกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน และครูผู้สอนจำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test แบบ Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) การทดสอบหาค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis)

                ผลการวิจัย พบว่า

                การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.44 โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการบริหารตามหลักวิมังสา     ด้านการบริหารตามหลักวิระยิ ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = 4.37 การเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ และด้านการบริหาร ตามหลักวิมังสา มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการบริหาร ตามหลักวิริยะ มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4  ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีใจรักในการพัฒนาการเรียนการสอนและมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล ด้วยความโปร่งใส ตลาดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักวิริยะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีความเพียรพยายามในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมดูงานติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักจิตตะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีความเอาใจฝักใฝ่ในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษาและด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรพิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The aims of this research were 1) to study the conditions of the integration of the Four Iddhipada (iddhipāda, the paths of accomplishment) in the administration of the basic education schools under the Udonthani Primary Educational Service Area Office 4; 2) to compare the of the integration of the Four Iddhipada in the aforesaid area based on the personal factors of the samples classified by their positions, school sizes and working experiences; 3) to study the suggestion to promote and develop the integration of the Four Iddhipada  in the administration of the basic education schools under the Udonthani Primary Educational Service Area Office 4. The samples of this research included 414 educational administrators and 327 teachers (in total 468). The targeted group included 9 administrators and 12 teachers (in total 21). The research tools were the five rating scale questionnaire with its reliability value of .97 and the interview. The statistics used to interpret the data were: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test (Independent Sample), f-test (One Way ANOVA) and Scheffe’s Method. The gathered data were analyzed by the descriptive analysis.

              The research result were as follows:

              The mean values of both overall and each studied aspect of the conditions of the integration of the Four Iddhipada in the administration of the basic education schools under the Udonthani Primary Educational Service Area Office 4 were rated at a high level ( = 4.44). The highest score can be seen in the aspect of Vīmasā (investigation), followed by that of Viriya (energy); Chanda (aspiration) and the least was found in that of Citta (thoughtfulness), ( = 4.37).

              Based on the comparative study the of the integration of the Four Iddhipada in the aforesaid area based on the personal factors of the samples classified by their positions, the overall mean of this practice was differentiated with the statistical significance value of .01; this accepted the set hypothesis. The mean score of the practice of the administrators was higher than that of the teachers. Seen in the aspects studied, the mean values of the aspects of the administration based on Chanda and Vīmasā were different with the statistical significance value of .01 while that of the aspect of the administration based on Viriya was differentiated with the statistical significance value of .05 and indifference of the practice was seen in the aspect of Citta.

              The suggestion to promote and develop the integration of the Four Iddhipada (iddhipāda, the paths of accomplishment) in the administration of the basic education schools under the Udonthani Primary Educational Service Area Office 4 was that in the aspect of the administration based on Chanda, the school administrators and teachers should have love or aspiration for teaching and learning development and provide a training, a study visits, following up of works with transparency, create morale for personnel in educational institutions; in the aspect of the administration based on Viriya, the school administrators and teachers should have an energy for teaching and learning development and provide a training, a study visits, following up of works with transparency, create morale for personnel in educational institutions; in the aspect of the administration based on Citta, the school administrators and teachers should have mental investigation for teaching and learning development and provide a training, a study visits, following up of works with transparency, create morale for personnel in educational institutions; in the aspect of Vīmasā, the school administrators and teachers should have thoughtfulness for teaching and learning development and provide a training, a study visits, following up of works with transparency, create morale for personnel in educational institutions.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.44 MiB 298 17 มิ.ย. 2564 เวลา 05:53 น. ดาวน์โหลด