-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSelf-care on the Understanding Attitude towards the Death of End-stage Chronic Renal Patients with Hemodialysis at Makarak Hospital, Kanchanaburi Province
- ผู้วิจัยนางสาวนันทวัน ธรรมนิตย์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เริงชัย หมื่นชนะ
- ที่ปรึกษา 2ดร.นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
- วันสำเร็จการศึกษา25/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาชีวิตและความตาย
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/842
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 364
- จำนวนผู้เข้าชม 431
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรีทั้ง 3 ด้านประกอบด้วย การเผชิญภาวะทุกข์ การเข้าใจภาวะทุกข์และการปล่อยวางภาวะทุกข์นั้น เป็นไปในทิศทางใด ตลอดจนท่าที ความเข้าใจ ความรู้สึก การปฏิบัติตามหลักศาสนา การยอมรับกับความตายที่จะเกิดขึ้นและแนวโน้มในการประพฤติปฏิบัติต่อความตายด้วยความไม่ประมาทเป็นเช่นไร เพื่อการเตรียมตัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ในวาระที่จะต้องเผชิญกับความตาย และสามารถยอมรับความตายได้และพร้อมจากไปอย่างสงบ มีชีวิตหลังความตายที่ดี และเพื่อเปรียบเทียบการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ที่ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม ในจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามข้อมูลทั่วไป โดยการทดสอบค่า Independent Samples t-test ,F-test (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่าง เป็นรายคู่ด้วยวิธี (Fisher’s Least-Significant Difference) LSD
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่า ช่วงอายุ อายุที่เริ่มรักษาโรคไต ความถี่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และประสบการณ์การปฏิบัติธรรม มีผลต่อระดับการดูแลตนเองต่อท่าทีการเข้าใจความตายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เฉพาะด้านการเผชิญภาวะทุกข์ สำหรับด้านการเข้าใจภาวะทุกข์ และภาพรวมการดูแลตนเอง พบว่ามีเพียงช่วงอายุ เท่านั้น ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
การเผชิญภาวะทุกข์ การเข้าใจภาวะทุกข์ และการปล่อยวางภาวะทุกข์ โดยการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่า ระดับความคิดเห็นเชิงพฤติกรรมต่อการปล่อยวางภาวะทุกข์ การเข้าใจภาวะทุกข์ การปล่อยวางภาวะทุกข์ และภาพรวมทั้งสามด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม สามารถเผชิญภาวะทุกข์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงด้านเดียว ขณะที่การเข้าใจภาวะทุกข์และการปล่อยวางภาวะทุกข์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยกลุ่มโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มนี้ แม้จะสามารถเผชิญภาวะทุกข์จากโรคไตระยะสุดท้ายได้ก็ตาม แต่ในด้านการเข้าใจต่อภาวะทุกข์จากโรคไต และการปล่อยวางทุกข์จากการเป็นโรคไต ยังไม่สามารถทำได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research was of the purpose and objectives to study a self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis at Makarak Hospital ,Kanchanaburi Provience. The purpose and objects of research could be divided into three catagories. 1.to confront a state of suffering, 2. To understand a state of suffering and 3. to release from a state of suffering. The study of attitude of understanding feeling and practice according to principles of religion had to accept an occurring death and bring that death in practice carefully so that one could be ready for a body and soul whenever one had to confront death which one would be not careless for. In a case of confronting death and accepting death to leave peacefully, one would have good life after death, and to compare self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis at Makarak Hospital, Kanchanaburi Provience. It was a distribution of personal factors in using a quantitative research, and a study of survey research depending on questionaires of 73 sampling people. There was a quantitative analysis of data by using statistics comprised of frequency, percentage, average and standard-bias even a comparison of self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis at Makarak Hospital ,Kanchanaburi Provience. Distribution according to general data by independent samples t-test, f-test (one-way ANOVA) and a comparison of LSD (Fisher’s Least-significant Difference).
The result of research was found that factors which had influence upon the level of self-care to an attitude of understanding death of end stage chronic renal patient with hemodialysis. The period of their ages was found that an age beginning with a treatment of nephritis, a frequency of hemodialysis and experience in dharma practice had a consequence to the level of self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis.In particular, to confront a state of suffering, to understand a state of suffering and overview in self-care were found in the period of only ages which had a statistic significance.
To be faced with a state of suffering, to understand a state of suffering and to release from a state of suffering in the self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis. were found that a level of behavioral opinion to be faced with a state of suffering, to understand a state of suffering and release from the state of suffering of which three overviews were mostly fair. The patients who had experience in dharma practice could confront a state of suffering in a statistic significance for only one side, while to understand a state of suffering and to release from a state of suffering could not be done by this group of patients. This means of self-care on the understanding attitude towards the death of end stage chronic renal patient with hemodialysis. Although this group could confront a state of suffering from the end stage chronic renal patient with hemodialysis, in understanding a state of suffering from nephritis and in releasing from a state of suffering from the so-called disease, they could not do at all.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.05 MiB | 364 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 06:12 น. | ดาวน์โหลด |