-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของเซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ดกับพุทธปรัชญา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Soren Abbey Kierkegaard’s Existentialism and Buddhist Philosophy
- ผู้วิจัยนางสาวศรุตานนท์ ไรแสง
- ที่ปรึกษา 1พระครูโกศลศาสนบัณฑิต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ศ.ดร. สมภาร พรมทา
- วันสำเร็จการศึกษา07/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/844
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,050
- จำนวนผู้เข้าชม 571
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด กับพุทธปรัชญา” นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด , 2) เพื่อศึกษาปรัชญาอัตถิภาวนิยมในพุทธปรัชญา และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ดกับพุทธปรัชญา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและประเภทวิเคราะห์เอกสาร
จากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด เสนอว่าชีวิตมนุษย์จะดำรงอยู่ โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสังคมและผู้อื่น ซึ่งมนุษย์แต่ละคนก็ต้องมีความเป็นตัวตนแบบปัจเจกชน (individual) และต้องมีเป้าหมายของชีวิตหลายมิติ (ontic dimension) ในโลกจริงๆ ไม่ใช่โลกสมมติขึ้นมา ซึ่งต่อมาแนวคิดปัจเจกชนก็ได้ขยายฐานแนวคิด ออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) อัตถิภาวะกับสุนทรียศาสตร์ (Aesthetical stage) 2) อัตถิภาวะกับจริยศาสตร์ (Ethical stage) 3) อัตถิภาวะกับศาสนา (Religious stage) เพื่อเชื่อมโยงศรัทธา (faith) ที่มีต่อพระเจ้าขัดเกลาจิตใจของตนเองอย่างบริสุทธิ์
วัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 พบว่า พุทธปรัชญามองโลกและชีวิตที่ปรากฎในพุทธประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่มองเห็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์จึงได้เริ่มดำริหาวิธีแก้ไข ในที่สุดได้เลือกทางแห่งการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตตนนั้นตกอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขังอนัตตา แต่ด้วยความที่ไม่รู้ของมนุษย์จึงเข้าไปหลงยึดหลงติดอยู่กับความเป็นกลุ่มก้อนของธาตุทั้งหลาย ด้วยอำนาจของความอยากอย่างเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตน แต่ความจริงมันคือ สภาพของความว่างเปล่า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า ซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ดให้ความสำคัญในหลักศรัทธา (faith) ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อไม่ให้จิตสำนึกหมกหนุนไปกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบๆ ตัวเอง เพราะจะทำให้ตัวเองไปกระทำสิ่งที่ผิดต่อพระเจ้า แต่ในพุทธปรัชญาให้ความสำคัญในกฎไตรลักษณ์ ดังนั้นปรัชญาอัตถิภาวนิยมของทั้ง 2 จึงมุ่งไปถึง “แก่นแท้ของศาสนา”ทั้งสิ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This Dissertation “A Comparative Study of Soren Abbey Kierkegaard’s Existentialismand Buddhist Philosophy” is of 3 objectives: (1) to study Soren abbey Kierkegaard’s concept of the Existentialism; (2) to study the concept of the Existentialism in Buddhist philosophy; and (3) to Comparative study of Soren abbey Kierkegaard’s existentialism and Buddhist Philosophy. This is a qualitative research.
In the study of the first objective, it was found that the Soren Abbey Kierkegaard’s suggesting that human life will exist by interacting with society and others In which each human being must have an individual identity and must have the goal of an ontic dimension in the real world, not a fictional world. Which later, the individual concept was expanded to 3 levels: 1) Aesthetical stage , 2) Ethical stage , 3) Religious and religious status to connect. Linking faith to God, purifying his mind purely.
In the analysis of the second objective, Buddhist philosophy looking at the world and the life that appears in the history of Prince Siddhartha Who saw the big problems of human beings, therefore began to find solutions Finally, choosing the way of seeking truth and the meaning of his life falls under the laws of trinity, namely every Aniccatà, Dukkhatà, Anattatà, but with the unaware of the human being enters into capturing the group of elements. All with the power of a misunderstood desire to be an individual but the truth is Condition of emptiness.
In the analysis of the three objective Soren Abbey Kierkegaard’s giving importance to the faith which is the anchor of the mind In order not to raise consciousness with the social environment around himself because it will make himself go wrong with God But in Buddhist philosophy, it is important in the Three Characteristics ( Tilakkhana). Therefore, the two existential philosophies therefore focus on the "essence of religion".
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.45 MiB | 1,050 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 06:22 น. | ดาวน์โหลด |