-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องธรรมชาติของตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาท และปรัชญาจารวาก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Nature of Attachment in Theravāda Buddhist Philosophy and Cārvāka Philosophy
- ผู้วิจัยพระเสินจัง คมฺภีรปญฺโญ
- ที่ปรึกษา 1พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา
- วันสำเร็จการศึกษา15/04/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/848
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 512
- จำนวนผู้เข้าชม 363
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องธรรมชาติของตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาจารวาก มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของตัณหาในปรัชญาจารวาก (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องธรรมชาติของตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาจารวาก การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้
1. ตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ความทะยานอยาก 3 ประการ คือ 1. กามตัณหา ความอยากได้ความใคร่ในกามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่าใคร่น่าพอใจ 2. ภวตัณหา ความอยากได้ในภพ เพื่อให้ความสุขที่จะให้คงอยู่ตลอดไป ไม่เปลี่ยนแปลง 3. วิภวตัณหา ความไม่อยากมีในความทุกข์ อยากพ้นไปจากความทุกข์ อยากให้ทุกข์ดับสูญไป
2. ตัณหาในปรัชญาจารวาก คือ ความอยากมีความสุข มี 3 ระดับ คือ 1. ตัณหาในระดับพื้นฐาน เป็นระดับในการดำรงชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ เช่น อยากได้ปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีพ เป็นต้น 2. ตัณหาในระดับกลาง เป็นระดับที่สร้างแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนาการเสพความสุข ความสะดวกสบาย 3. ตัณหาระดับกิเลส เป็นระดับที่หมกมุ่น ฟุ่มเฟือย เพื่อสนองกิเลสที่ไม่รู้จักพอของตน
3. เปรียบเทียบแนวคิดของตัณหาในพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาจารวาก ดังนี้ พุทธปรัชญามองตัณหาว่า เป็นอกุศลธรรม เป็นรากเหง้าของความทุกข์ทั้งปวง มนุษย์ประสบความทุกข์เพราะมีตัณหา ดังนั้น พุทธปรัชญาจึงสอนให้ดับตัณหาที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ และเพื่อให้ถึงความสุข 3 ประการ คือ 1. ความสุขในโลกนี้ ได้แก่ ความสุขในปัจจุบันนี้ 2. ความสุขในโลกหน้า ได้แก่ สวรรค์ 3. สุขในพระนิพพาน ได้แก่ การดับกิเลสที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ถึงสุขที่ไพบูลย์ ไม่ต้องประสบทุกข์ในวัฏฏสงสารอีกต่อไป ส่วนปรัชญาจารวาก มองตัณหาว่า ไม่ใช่สิ่งชั่วร้าย แต่เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักการเสพสุข ตัณหาเกิดขึ้นพร้อมการเกิด และดับไปพร้อมกับการตาย มนุษย์ผู้ฉลาดต้องรู้จักนำตัณหามาสร้างประโยชน์ ความสุข ความสะดวกสบาย ดังนี้ 1. กระตุ้นให้มนุษย์ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด 2. กระตุ้นให้เกิดการเสพสุข เช่น การคิดสูตรอาหารอร่อย ทำเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 3. กระตุ้นให้เกิดการสร้างเทคโนโลยีและความสะดวกสบาย เช่น ผลิตรถยนต์ ผลิตโทรศัพท์เพื่อใช้สื่อสาร เป็นต้น 4. กระตุ้นให้เกิดการป้องกัน เช่น คิดค้นยารักษาโรค เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการมุ่งเน้นให้เสพสุขให้มากที่สุดและลดความทุกข์ให้เหลือน้อยที่สุดนั่นเอง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled ‘A comparative study of the nature of attachment in Theravada Buddhist philosophy and Cāravāka philosophy’ has three objectives: 1) to study the concept of the nature of attachment in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the concept of the nature of attachment in Cāravāka philosophy, and 3) to compare the concept of the nature of attachment in Theravada Buddhist philosophy and Cāravāka philosophy. This is a documentary research.
In the research, it was found that:
1) According to Theravada Buddhist philosophy, attachment basically means three kinds of desire: 1) craving for sensual pleasure, 2) craving for existence, and 3) craving for non-existence.
2) In Cāravāka philosophy, attachment basically refers to three kinds of craving for happiness: 1) it means basic craving; this is regarded as the basic level where one wants to live life, such as four requisites, 2) it means the middle level of craving; one is motivated to search for certain happiness and comfortability, and 3) it refers to defilement; one becomes indulgent in whatever one really wants where unlimited desire is highly accelerated.
3) In the comparison the concept of the nature of attachment in Theravada Buddhist philosophy and Cāravāka philosophy, it clearly showed that in Buddhist philosophy, such attachment is unwholesome by which the root of suffering is caused; man suffers because of desire. Therefore, Buddhist philosophy suggests man to uproot the attachment whereby three kinds of happiness, 1) the present happiness in this world, 2) the happiness in the next world, heaven, and 3) the happiness in the extinction of suffering where rebirth in the circle of life is not caused, can be obtained. As regards Cāravāka philosophy, the mentioned attachment is not the evil, but the thing being conducive to happiness; such attachment arises at the time of rebirth and ceases to exist at the time of death, then one who is wise should make use of the attachment for his/her benefit in the following ways: 1) it motivates man to survive, 2) it gives happiness to man, delicious recipe, air condition, for instance, 3) it gives rise to new technological advancement and convenience, such as car production, mobile for communication. Therefore, one who is wise should know how to benefit through attachment where a hefty of happiness and convenience could be produced, 4) it leads to protection, such as medicine to preventing diseases. All are more and more done for the sake of human being’s happiness and thereby reducing suffering.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.36 MiB | 512 | 17 มิ.ย. 2564 เวลา 10:10 น. | ดาวน์โหลด |