โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ลักษณะขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Characteristic of the Bodhisattva’s Patience (Khanti) in Mahānipāta Jātaka
  • ผู้วิจัยพระอธิการทองหนัก กตสาโร
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธจารุธรรม, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร. ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ,
  • วันสำเร็จการศึกษา19/09/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/85
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,482
  • จำนวนผู้เข้าชม 827

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ลักษณะขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายขันติในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาลักษณะขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เนื้อหา
 
                  ผลการวิจัยพบว่า
                  1)  ความหมายขันติในพระพุทธศาสนา ขันติในความหมายของพระพุทธศาสนา หมายถึง  อดกลั้นต่อความทุกข์ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น อดทนต่อสภาพของปัจจัยความร้อนหรือความเย็น อดทนต่อความทุกขเวทนาของร่างกายเมื่อเจ็บป่วย อดทนต่อคำด่า คำดูหมิ่น และอดทนต่อความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นคือ ความอดทน อดกลั่น ต่อความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การระงับความต้องการทางใจของตนเพื่อไม่ได้ตามต้องประสงค์ รู้จักทนไว้เมื่อไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ด้วยการรู้จักอดทน และอดกลั้นไม่แสดงอาการประพฤติที่ไม่ดีอันจะมีผลร้ายต่อตนเอง และผู้อื่น และยังหมายถึง ความเข็มแข็งของจิตใจของบุคคลในการที่จะละทิ้งความชั่ว การกระทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ แม้จะกระทบกระทั่งในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาก็ตามการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
              2) ลักษณะขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก  ขันติในมหานิบาตชาดก ตั้งแต่เตมียชาดก – เวสสันดรชาดก โดยภาพรวมผู้วิจัยได้พบว่า ขันติที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกแต่ละชาดก มีขันติปรากฏชัดเจน แต่บางชาดกก็อาศัยบริบทรอบข้างที่มีความเกี่ยวเนื่องถึงกัน ผู้วิจัยเองก็จับเอาประเด็นมาขยายเนื้อความมาวิเคราะห์ตามเนื้อเรื่อง ที่ปรากฏอยู่ในมหานิบาตชาดก ซึ่งจะสรุปดังต่อไปนี้ ขันติเป็นหลักธรรมสำคัญต่อชีวิตของพระโพธิสัตว์ทั้ง 10 พระองค์ ในเนื้อหาตั้งแต่ต้นเห็นได้ว่า พระโพธิสัตว์อาศัยหลักขันติเป็นลักษณะขันติธรรมดา ขันติอย่างกลาง ขันติอย่างสูงสุด ถึงขั้นเสียชีวิตทั้ง 3 อย่างนี้ ปรากฏแทรกแซงอยู่ในเนื้อหาทั้งหมดของแต่ละเรื่อง ตัวอย่างเช่น พระสุวรรณสามที่ถูกยิงโดยลูกศรที่เสียชีวิตแล้ว แต่ด้วยบุญกุศลช่วยจึงฟื้นชีวิต ในขณะเดียวกันพระสุวรรณสามมีความอดทน ไม่กลัวเสียชีวิต แต่กลับเป็นห่วงบิดามารดานี้ แสดงว่าลักษณะขันติธรรมอย่างกลางอย่างสูงสุดจะอยู่ด้วยกัน ประคับประคองไม่ให้หลงสติ เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์ทุกคนตั้งแต่ตัวเล็กๆ จำความจนถึงเติบโตขึ้นมา แต่ละช่วงวัยก็ต้องปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของแต่ละช่วง ไปมีหน้าที่การงานของแต่ละวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยนักเรียนปฐม จนถึงระดับอุดมศึกษา วัยทำงานมีครอบครัวจนถึงวัยผู้สูงอายุ วัยแต่ละช่วงนี้กว่าจะผ่านมาได้จะต้องอาศัยธรรมจากพระโอษฐ์นั้นก็คือ ขันติ เป็นหลักธรรมที่ง่ายๆ ในการดำรงชีวิต หรือเหมือนกับคนไม่มีกระดูก ไม่สามารถเดินไปได้ ขาดบางสิ่งบางอย่างไปก็ทำให้ชีวิตไม่ราบรื่น ถ้าพระโพธิสัตว์ขาดขันติ ก็ไม่สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้ ถ้าต้องการพุทธภูมิต้องรออีกเป็นเวลานาน มนุษย์ที่มีขันติมาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา เหมือนกับพระโพธิสัตว์ถือว่าเป็นที่ฝึกฝนมาโดยตลอด จึงทำให้ชีวิตมีความสุข ถึงแม้ว่าชีวิตในตอนต้นจะมีอุปสรรคมามากมายขัดขวาง ก็สามารถที่จะผลิตเอาชนะได้ เหมือนกับชีวิตของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาต ที่ผ่านอุปสรรคมามากมาย ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ขันติมีบทบาทสำคัญต่อพระโพธิสัตว์ทั้ง 10 พระองค์ ไม่ว่าพระองค์จะอยู่ที่ไหน 
เวลาไหน สถานการณ์อย่างไร ก็ไม่ขาดขันติ เอาขันติเป็นหลักในการใช้ชีวิต จะสุขหรือทุกข์อย่างไร เอาขันติแก้ปัญหา 
          3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก การประยุกต์ใช้หลักขันติของพระโพธิสัตว์ในมหานิบาตชาดก เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถประยุกต์ใช้โดยการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันๆ ในชีวิตประจำวันที่เรานั้นต้องพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่มากระทบแก่ร่างกายและจิตใจของเราให้อ่อนแอและก่อเกิดเป็นความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น เพราะโทษแห่งการขาดขันติบารมีนั้นสามารถสร้างความเดือดร้อนและเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น เช่น ความโทสะ ทำให้ทำร้ายร่างกายของผู้อื่นได้ เพราะขาดขันติ  เป็นต้น เมื่อสามารถบำเพ็ญขันติบารมีธรรมได้แล้วก็จะได้รับประโยชน์ของขันติ 6ประการกล่าว คือ 1) ทำให้เป็นคนหนักแน่น ไม่อ่อนแอ ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญชีวิตทุกชนิดได้  2) ทำให้บุคคลมีมารยาทที่ดีงาม  ไม่วู่วาม มักโกรธ  3)  ความอดทนช่วยพัฒนาคนให้เป็นบัณฑิต เป็นคนมีเสน่ห์น่ารัก 5) ความอดทนเป็นบ่อเกิดของศีล สมาธิ และปัญญา  5) ความอดทนเป็นเครื่องมือตัดต้นเหตุของความชั่วทั้งหลาย 6) ความอดทนช่วยให้บุคคลประพฤติพรหมจรรย์บรรลุธรรมได้รวดเร็ว ดังเช่นที่ได้ปรากฏการบำเพ็ญขันติบารมีในชาดกของพระโพธิสัตว์  ผู้ปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล และขันติของพระโพธิสัตว์เป็นคุณธรรมสำคัญประจำตัวปัจเจกบุคคลในการดำรงชีวิตทั้งเพื่อประโยชน์ชีวิตในปัจจุบันประโยชน์เบื้องหน้าและประโยชน์สูงสุดแห่งชีวิตตามลำดับแห่งการพัฒนาตนเองในพระพุทธศาสนาจากสิ่งที่ทำได้ง่ายไปสู่สิ่งที่ทำได้ยากขันติก็เช่นเดียวกัน บุคคลใช้ขันติตั้งแต่ระดับสามัญในการดำรงชีวิตทางโลกเมื่อจะพัฒนาตนเองย่อมต้องอาศัยขันติที่ได้รับการฝึกฝนดีแล้ว เพื่อเป็นฐานในการเจริญคุณธรรมในระดับที่สูงขึ้นนอกจากจะเป็นประโยชน์ตนแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย เพราะคนที่รู้จักอดทนยับยั้ง ใจตนได้ จะไม่เบียดเบียนคนอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน แต่จะเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น จึงทำให้ตนเองและสังคมเป็นสุข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The title of research study is the characteristic of the Bodhisattva’s patience (Khanti) in Mahānipāta Jātaka. The objectives are 1) to study of the meaning of patience (Khanti) in Buddhism, 2) to study of the characteristic of the Bodhisattva’s patience in Mahānipāta Jātaka, and 3) to apply the Bodhisattva’s patience in Mahānipāta Jātaka into daily life. In this study, the researcher has studied the documentary research which has collected the data, has studied from the documents and related research for analysis the detail.
                  The result of research found that:-
1) The meaning of Khanti in Buddhism is it should be endured when faced with physical and mental suffering such as to endure with the condition of heat or cold, to endure from the physical suffering when being illness, to endure on dispraise, and to endure with greed, anger, and delusion.  That is the patience with the physical and mental suffering, to control one’s mind not following the desire, to be patient when getting undesirable thing, to know how to be a patient endurance which do not show any bad behavior to oneself and others. In other hand, it means the strength of a person's mind to avoid evil, do goodness, and purify the mind. Although he is attached by the undesirable thing, but he can protect oneself from the desirable or undesirable things. He is a strong as the earth; he is not vacillated ever though people poured the waste of the scent of the dirty or the good.
2) The characteristic of the Bodhisattva’s patience in Mahānipāta Jātaka, Khanti in Mahānipāta Jātaka from Temiya-jataka to Vessantara-jātaka, and the researcher totally found that Khanti appearing in each Mahānipāta Jātakahas appeared clearly, but some Jātaka has depended on around content which related each other. The researcher took the issue to expand the detail for analysis in the story which appeared in Mahānipāta Jātaka. It can be concluded as follow, Khanti is the important dhamma to the ten Bodhisattva’s lives, from the beginning issue saw that Bodhisattva has depended on the Khanti in common, middle Khanti, and supreme Khanti which is to devote life. These three inserted in the entire contents of each story, for example Suvannasāma tāpasa was shot by the arrows but he was revived by the meritorious making. At the same time, Suvannasāma tāpasa has patience, he was not afraid of death, but he was worried about his parent. It means that the characteristic of middle and supreme Khanti live each together, he had controlled his mindfulness without lost, etc. So, all human beings from the beginning have remembering until grown up. In each age they will practice the daily routine of each period, they have their duty of each age from the primary school to the higher education, and working age has the family to old age. The overcoming in each age has depended on the Buddha’s word, which is Khanti. It is a simple principle for living. Without any bone, the person cannot walk; lack of something to make life is not smooth. If without patience the Bodhisattva cannot be achieved. If he wishes to be Buddhahood, he must wait for a long time. The patient one from the childhood to old age as the bodhisattva who has always practice. It is to make life happy. Although in the beginning life has many barriers to obstruction. He can be overcome, it likes as the life of Bodhisattva in Mahānipāta who had overcome many obstructions. All the mentioned, Khanti is the important role to the ten Bodhisattvas, no matter where he is, what’s time, or how the situation is, he was lived by Khanti. Khanti is the principle of living, happiness or unhappiness in your life was solved by Khanti. 
3) The application of Khanti of the Bodhisattva in Mahānipāta Jātakainto daily life, it can be applied by the consideration what happened to the life in every day such as religion, politics, economics, and society, that having affected to mind and body, and make it weak. It is the cause of greed, anger, and delusion. The penalty of lack of patience can make suffering to oneself and others such as angry one can hurt the other because of without patience. When you can cultivate Khanti perfection, then you will get the six advantages of Khanti, e.g., 1) to be a strong person, dare face on the problems, 2) to be a good manner person, not be anger, 3) to endure for development person to be a wise, to be seductive one, 5) the patience is the tool for cutting down of the causes of evil, 6) the patience helps people who practice to attain enlightenment quickly as appearing in the Khanti perfection in the Jataka of Bodhisattva, one who wish to be a Buddhahood in the future. The Bodhisattva’s patience is the individual virtue in living for benefit in both the present and future, and for the highest benefit of life respectively for self-development in Buddhism as the easy thing to be the difficulty thing as the patience. Person has used common Khanti for living in the worldly, when having developed himself, he has depended on the patience as well-being, to be the base for moral development in higher levels, in addition to his self-interest, and it also is benefit of others. One who knows how to restrain one’s own mind, not violent other, but he will do benefit to others, so it makes him and society happy.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.73 MiB 1,482 20 พ.ค. 2564 เวลา 18:00 น. ดาวน์โหลด