โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Management Model of Monasteries that Created Happiness with the 5 S’s Activities in Singburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน (วิจารณ์ปรีชา)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา02/12/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/851
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 456
  • จำนวนผู้เข้าชม 864

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี

               การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก   กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกเสียง บันทึกภาพ และจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ประกอบตารางความถี่ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 184 รูป เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.978 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. สภาพทั่วไปในการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า การบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี นับเป็นนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์จังหวัดสิงห์บุรี    เพราะเป็นนโยบายจากมหาเถรสมาคมที่กำชับให้วัดทุกวัดทั่วประเทศพัฒนาวัดของตนเองตามหลัก 5 ส เจ้าอาวาสให้ความสนใจ และเอาใจใส่ในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง พระผู้ใหญ่ของจังหวัดสิงห์บุรีให้ความสำคัญกับการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงาน มีการประชุมคณะทำงาน มีการอบรมจากทางคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย 5 ส ได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสิงห์บุรี และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

                2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าปัจจัยด้านการดำเนินการกิจกรรม 5 ส  ตาม กระบวนการ POCCC ประกอบด้วย P = (Planning)  การวางแผน O = (Organizing) การจัดองค์การ C = (Commanding) C = (Coordinating) การประสานงาน   การบังคับบัญชาสั่งการ C = (Controlling)การควบคุม  กับรูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5  มีความสัมพันธ์กันมาก (r= 0.940, sig.= ๐.๐๐๐)และปัจจัยด้านการบริหารวัดสร้างสุขตามหลัก สัปปายะ 4 ประกอบด้วย 1) อาวาสสัปปายะ 2) อาหารสัปปายะ 3) บุคคลสัปปายะ 4) ธรรมสัปปายะคือ กับรูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส มีความสัมพันธ์กันมาก (r= 0.844, sig.= 0.000)

                 3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี คือ  1) ด้านสะสาง มีแปลนวัด แผนผัง ระบุการใช้ประโยชน์พื้นที่ แบ่งพื้นที่เป็น สังฆาวาส และ พุทธาวาส  ถนนทางเข้าและถนนภายในวัด สะอาด สวยงาม ไม่มีสิ่งปฏิกูล อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้สะดวก และปลอดภัย 2) ด้านสะดวก สะดวกในการติดต่อ ที่จอดรถ การขึ้นลง ป้ายบอกทาง ชัดเจน และได้รับการดูแลอยู่สม่ำเสมอ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย    เป็นหมวดหมู่ สะอาดและสะดวกก่อนนํามาใช้สอย แสงสว่าง ระบบไฟฟ้า บริเวณวัด เพียงพอให้เกิดความปลอดภัยในการอยู่อศัยและเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจ 3) ด้านสะอาด มีไม้ยืนต้น (เน้นต้นไม้ในประวัติพระพุทธศาสนา) ให้ความร่มรื่น เย็นสบาย อย่างเพียงพอและเหมาะสม จัดให้มีที่กําจัดหรือรองรับขยะ และทางระบายน้ำ อย่างเหมาะสม เพียงพอ และถูกสุขลักษณะ   ใต้ถุนอาคาร และลานวัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากสิ่งเกะกะ และสิ่งปฏิกูล 4) ด้านสุขลักษณะ โอ่งน้ำ หรือภาชนะกักเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ มีจํานวนเพียงพอ สะอาด จัตวางไว้อย่างเป็นระเบียบ มีฝาปิดมิดชิดถูกหลักสุขอนามัย  5) ด้านสร้างนิสัย ดูแลอาคารเสนาสนะที่ไม่ได้ใช้งาน แต่รือถอนไม่ได้ หรือยังไม่ได้ซื้อถอน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง เกะกะ  บริเวณโดยรวมมีความสงบสุข ร่มเย็น น่าเลื่อมใสศรัทธา ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              Objectives of this dissertation were of 3: 1; to study the general conditions of monasteries management that created happiness with 5 S’s activities in Singburi Province, 2, to study factors affecting the management of monasteries that created happiness with the 5 S’s activities in Singburi Province and 3, to a management model of monasteries that created happiness with the  5 S’s activities in Singburi Province.

              Methodology was the mixed methods collected data by both qualitative and quantitative methods. The qualitative research collected data by in-depth-interviewing 18 key informants and from 13 participants who were experts in focus group discussion. The tools were in-depth-interview scripts and discussion topic. Data were collected by sound and picture recording, taking notes and analyzed by descriptive interpretation with frequency table. The quantitative research by survey method collected data by the researcher from  samples who were administrative monks in Singburi Province with the questionnaires that had reliability value equal to 0.988 and analyzed data with frequencies, percentage, mean and standard deviation

             Findings were as follows:

             1. The general conditions of the 5 S’s based happiness creating monasteries management in Singburi Province was that this is the main policy of the Sangha Order because it is the policy from the Supreme Sangha Council emphasizing that every monastery must conduct self development with 5 S’s activities. Abbots must pay attention to monastery development for the betterment. Higher ranking monks in Singburi Province were interested in monasteries development with 5 S’s activities. There was appointment of the committee to move the project. They were the Singburi  Office of National Buddhism and Local Administrative Organizations.  

              2. Factors affecting the  Management Model of Monasteries that Created Happiness with the  5 S’s Activities in Singburi Province Found that the implementation of the 5 S’s Activities process POCCC include P = Planning O = Organization C = Commanding C = Coordinating C = Controlling. Control With            A Management Model of Monasteries that Created Happiness with the  5 S’s Activities in Singburi Province correlate very well (r = 0.940, sig. = 0.000) and the administrative building was blessed by him a week 4: 1) Awasappaya 2) Aharsappaya 3) Bukhkhlsappaya 4 Dhamsappaya), it is a Develop a Management Model of Monasteries that Created Happiness with the  5 S’s (r = 0.844, sig. = 0.000).

             3. The management model of the monasteries that created happiness with 5 S’s activities in Siongburi consisted of 5 models:  1) S1; Seiri, cleaning up. There were monasteries plan and operation charts showing the area usage, dividing areas into monks’ abodes and Buddha’s area, roads into monasteries were clean, beautiful without garbage, in ready-to-use condition and safe. 2) S2, Seiton, convenience. It was convenient to contact, parking areas, clear signs for bus entering and descending, well maintained, materials equipment and utensils must be well kept in good order, clean and ready to use. Light and electrical system in the monasteries areas must be adequate, safe for dwellers and guests who come to practice religious activities. 3) S3; Seiso, cleanliness, there should be appropriate and enough trees, especially the trees in the Buddhism history, that yield pleasant shadows. Garbage treatment and sewage must be provided and sufficient  with healthy setting. Basement under the buildings and the monastery compound should be well organized, neat, clean without disordered and dirty materials. 4)  S4, Seiketsu, healthy standard. Water jars and water containers must be placed in good order. They must be clean with lids by healthy standard. 5) S5, Shitsuke, happy habit,. There must be the ways to look after the old buildings that are not in use but cannot be evacuated. They must be kept in good order and neat. The whole monastery compound must be peaceful, tranquil, admirable, quiet, without disturbing stingy odors and suitable for Dhamma practice.

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9.87 MiB 456 18 มิ.ย. 2564 เวลา 04:23 น. ดาวน์โหลด