-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEfficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok
- ผู้วิจัยพระครูปลัดเฉลิมพร อภิวโร (เเป้นกลม)
- ที่ปรึกษา 1ผ.ศ. ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา19/02/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/852
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 352
- จำนวนผู้เข้าชม 313
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างโดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 222 รูป ได้แก่ พระนักเทศน์ รุ่นที่ 26 ประจำปี 2562 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.978 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.39, S.D. = 0.790) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านผู้รับสารอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.44, S.D. = 0.806 2) ด้านสารอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.43,S.D. = 0.816) 3) ด้านช่องสารอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.43, S.D. = 0.810) 4) ด้านผู้ส่งสารอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.42, S.D. = 0.815) ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า พระสงฆ์ที่มีพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และพระสงฆ์ที่มีอายุต่างกันมีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ต่างกัน มีวุฒิการศึกษาแผนกสามัญศึกษาต่างกันวุฒิการศึกษาแผนกนักธรรมต่างกันมีวุฒิการศึกษา แผนกเปรียญธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) ไม่มีหลักสูตรที่เอื้ออำนวยต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแต่ละพื้นที่เพื่อให้การปฏิบัติงานของพระนักเผยแผ่ ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 2) ขาดความเข้มแข็งให้กับองค์กรที่ดูแลพระนักเผยแผ่ 3) ขาดการสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา 4) พระนักเผยแผ่ส่วนมากยังขาดความรู้ทั้งด้านภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม และสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) จัดทำหลักสูตรที่เอื้ออำนวยต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแต่ละพื้นที่เพื่อให้การปฏิบัติงานของพระนักเผยแผ่ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น 2) สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรที่ดูแลพระนักเผยแผ่ โดยการสร้างระบบเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในแต่ละจังหวัด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งกันและกัน 3) มหาวิทยาลัยสงฆ์ร่วมกับองค์กรคณะสงฆ์และหน่วยงานควรสนับสนุน และหาแนวทางการจัดตั้งสถาบันหรือวิทยาลัยพระนักเผยแผ่ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการพระนักเผยแผ่ 4) พระนักเผยแผ่ต้องศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม เพื่อขยายงานให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความองอาจและสามารถที่จะอธิบายธรรมะให้กับชาวต่างชาติได้ ขณะเดียวกัน ควรมีการสร้างเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่หลากหลายผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet วิทยุหรือโทรทัศน์ ส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were: 1.To study Efficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok 2.To study monks’ opinion on Efficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok and 3. To study problems, obstacles and recommendations for Efficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok
Methodology was the Mixed Methods of both quantitative and qualitative researches. The qualitative research collected data from 8 key informants, purposefully selected, with structured in-depth-interview script, by face-to-face-in-depth-interviewing. Data were analyzed by descriptive interpretation. The quantitative research, using survey method, collected data with questionnaires with the confident value at 0.921 from 222 samples who were preacher monks from the 26th group of 2562 B.E. Wat Prayurawongsawas Woraviharn, WatKalaya Sub-Districr, Thonburi District, Bankkok.Data were analyzed using statistical frequency, percentage, average, standard deviation.
Findings were as follows:
1. Level of monks’ opinions on Efficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok, by overall, were at high level (X̅ = 4.39, SD = 0.790) Each aspect was at high level from high to low as: Receivers were at (X̅ = 4.44,SD= 0.806 Message was at (X̅ = 4.43,SD=0.816, Channel was at (X̅ = 4.43, SD = 0.810, Senders were at (X̅ = 4.42, SD = 0.815,respectively.
2. The results of comparison of monks’ opinions on Efficiency in Buddhism Propagation of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bankkok, classified by personal data were that monks with different rain-retreats did not have different opinions on Buddhism Dissemination Efficiency of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bangkok,rejecting the set hypothesis. The monks with different ages, religious positions, formal educational levels, Dhamma and Pali educational levels had different opinions on Buddhism Dissemination Efficiency of Wat Prayurawongsawas Woraviharn, Bangkok at the statistically significant level at 0.05, accepting the set hypothesis.
3. Problems, obstacles and Suggestions were: 1) there was not appropriate curriculum to support the Buddhism dissemination in the areas so that the preacher monks can perform their duties effectively and efficiently. 2) lack of strength of the organizations that are responsible for Buddhism preaching monks, 3) lack of development support for Buddhism disseminating personnel, 4) most of preacher monks lacked skill and knowledge of English, cultures and media for Buddhism dissemination.
Recommendations were: 1) appropriate curriculum development to support the Buddhism dissemination in each areas so that the preacher monks can perform their duties more effectively and efficiently. 2) there should be Strength development for the organizations that are responsible for preacher monks by creating networks of provincial Buddhism dissemination so that preacher monks can exchange learning experiences and methods of good dissemination in the same direction, 3) Buddhist universities, Sangha organizations and concerned agencies should support and find the way to establish the Buddhism Dissemination Institute to create preacher monks for foreign countries and also the committee for the preacher monks responsibility, 4) preacher monks must be smart at English and cultures to be able to expand the disseminating works and to explain Buddhism to foreigners clearly and profoundly, at the same time, there should be Buddhism disseminating network creation in different forms such as internet, radio, television to promote the exchange of data, methods and good methods of effective Buddhism dissemination.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.82 MiB | 352 | 18 มิ.ย. 2564 เวลา 04:51 น. | ดาวน์โหลด |