โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยมาตรฐาน กับภาษาไทยถิ่นนครพนม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Phonological Comparison between Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect
  • ผู้วิจัยนายเกียรติยศ สุโพธิ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วีระกาญจน์ กนกกมเลศ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์
  • วันสำเร็จการศึกษา29/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/880
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 687
  • จำนวนผู้เข้าชม 3,384

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุ 1) เพื่อศึกษาระบบเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ของภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบระบบเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ของภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถิ่นนครพนม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บอกภาษา คือ ชาวบ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 10 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเสียงโดยใช้แบบทดสอบวรรณยุกต์ภาษาถิ่น และบัญชีคำศัพท์จำนวน 200 คำ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยมาตรฐาน กับภาษาไทยถิ่นนครพนม แล้วสรุปข้อมูลตามทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. เสียงสระภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นนครพนม มีเสียงสระเดี่ยวที่ใช้ตรงกัน 18 หน่วยเสียง ได้แก่ /i, i:, ɨ, ɨ:, u, u:, e, e:, ə, ə:, o, o:, ɛ, ɛ:, a, a:, ɔ, ɔ:/ และมีเสียงสระประสมที่ใช้ตรงกัน 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /iə, ɨə, uə/

2. เสียงพยัญชนะภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นนครพนม มีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวที่ใช้ตรงกัน 19 หน่วยเสียง คือ /p-, t-, c-, k-, Ɂ-, ph-, th-,  kh-, b-, d-, f-, s-, h-, m-, n-, ŋ-, l-, w-, y-/ ซึ่งปรากฏในตำแหน่งต้นพยางค์ทุกหน่วยเสียง ส่วนเสียง /ch-/ ภาษาไทยถิ่นนครพนม ใช้เสียง /s-/ แทนและเสียง /r-/ ภาษาไทยถิ่นนครพนม ใช้เสียง /l-/ แทน และภาษาไทยมาตรฐาน มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /pr-, pl-, tr-, kr-, kl-, kw-, phr-, phl-, khr-, khl-, khw-/ ส่วนภาษาไทยถิ่นนครพนม มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ 2 หน่วยเสียง ได้แก่ /kw-, khw-/ ซึ่งจะปรากฏเฉพาะในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น และพยัญชนะท้ายใช้ตรงกันทั้ง 9 หน่วยเสียง คือ /-p, -t, -k, -Ɂ, -m, -n, -ŋ, -w,  -y/

3. เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นนครพนม มีเสียงแตกต่างกันในการผันเสียงวรรณยุกต์ โดยภาษาไทยมาตรฐาน สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ 5 หน่วยเสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา แต่ภาษาไทยถิ่นนครพนม สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้แค่ 4 หน่วยเสียง คือ เสียงสามัญ เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ซึ่งวรรณยุกต์เสียง “เอก” ไม่ปรากฏในภาษาไทยถิ่นนครพนม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             The study aimed 1) to study of phonological systems; the vowels, consonants and tonal levels of Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect; and 2) to Compare phonological systems; the vowels, consonants and tonal levels between Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect. The study was qualitative in nature, collecting data from 10 native speakers at
Na Thon Tha Village, Na Thon Sub-district, That Phanom District, Nakhon Phanom Province, and collecting audio data using the Dialect tonal test of 200 words for a comparative study with phonological system of Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect.

              Results of the study were found as follows:

1. The vowels of Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect were similar with 18 vowel phonemes including /i, i:, ɨ, ɨ:, u, u:, e, e:, ə, ə:, o, o:, ɛ, ɛ:, a, a:, ɔ, ɔ:/ and 3 diphthongs: /iə, ɨə, uə/.

2. The consonants of Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect had 19 similar  single consonant phonemes including /p-, t-, c-, k-, Ɂ-, ph-, th-, kh-, b-, d-, f-, s-, h-, m-, n-, ŋ-, l-, w-, y-/, occurring in first consonants all, but /ch-/ sound in Nakhon Phanom Dialect represented /s-/ sound and /r-/ sound in Nakhon Phanom Dialect represented /l-/ sound.  Standard Thai had 11 cluster consonants: /pr-, pl-, tr-, kr-, kl-, kw-, phr-, phl-, khr-, khl-, khw-/, but Nakhon Phanom Dialect had only 2 cluster consonants including /kw-, khw-/, occurring in beginning consonants only, and
the both
languages had 9 similar final consonant phonemes: /-p, -t, -k, -Ɂ, -m, -n, -ŋ, -w, -y/.

3. The tonal levels of Standard Thai and Nakhon Phanom Dialect were different in tonal levels inflection. Standard Thai could have been inflected in 5 tonal levels: 1) mid tone,
2) low tone, 3) falling tone, 4) high tone and 5) rising tone, but Nakhon Phanom Dialect could have been inflected in only 4 tonal levels including 1) mid tone, 2) falling tone, 3) high tone, and 4) rising tone, not occurringlow tone”.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6001203011 6001203011 17.61 MiB 687 18 มิ.ย. 2564 เวลา 10:51 น. ดาวน์โหลด