โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Leadership of The Executives of The Thailand Institute of Scientific and Technological Research
  • ผู้วิจัยนายคณาพงษ์ พึ่งมี
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา09/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/883
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 278
  • จำนวนผู้เข้าชม 809

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำนวน 9 คน การวิจัยเชิงปริมาณได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรที่ทำงานในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรกับภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  

ผลการวิจัยพบว่า  

1. ในด้านการนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.23, S.D. = 0.590)  เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ (เมตตา) ( = 4.25, S.D. = 0.600) ด้านการนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ (กรุณา) ( = 4.25, S.D. = 0.649) ด้านการนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้  (มุทิตา) (  = 4.24, S.D. = 0.608) ด้านการนำหลักธรรมพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ (อุเบกขา) ( = 4.20, S.D. = 0.680) ในด้านทฤษฎีภาวะผู้นำ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.27, S.D. = 0.519) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การทำงานของผู้บริหาร (= 4.30, S.D. = 0.603) ด้านการดูแลทรัพยากรมนุษย์ (    = 4.24, S.D. = 0.622) ด้านความพึงพอใจของบุคคลากร (  = 4.15, S.D. = 0.589) ด้านการยกระดับองค์กร (  = 4.40, S.D. = 0.544)

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ทำงาน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเรื่องภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มีตำแหน่งงานต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

                   3. ปัญหา อุปสรรคของ ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพบว่า ยังมีบุคลากรบางส่วนที่มีปัญหาเนื่องจากไม่ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเอง และ ยังขาดการให้ข้อมูลความรู้และประโยชน์ให้เรื่องหลังธรรม ดังนั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยสามารถปรับปรุงด้านการให้ข้อมูลด้านหลักธรรม เพื่อให้บุคคลากรในองค์กรซึมซับจนสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานและปรับเปลี่ยนตนเองให้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถรักษาความเป็นองค์กรต้นแบบต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objective of this thesis is to: 1. To study the Buddhist leadership of the Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2. To compare the opinions of Buddhist Executives of the Institute of Science and Technology of Thailand Classified by personal factors 3. To study the problems, obstacles and recommendations for the Buddhist leadership of the executives of the Thailand Institute of Scientific and Technological Research The research is a mixed methods research by using qualitative research. The researcher collected data by in-depth interview from executives and officers in the Science and Technology Institute of Thailand, amount 9 people. The quantity research was determined by 285 samples of personnel working at the Institute of Science and Technology of Thailand using questionnaires. The Qualitative and quantitative data analysis Use computer software to find Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation , test hypotheses to compare personnel's opinions with Buddhist leadership of executives by classifying factors person F-test with.

 

The findings of the research as follows:

1. In the application of the four Brahmavihara principle to be applied overall is at high level. (X̅ = 4.23, S.D. = 0.590).   When classified in each aspect, it was found that regarding the application of  Brahmavihara IV, (Metta) (  = 4.25, S.D. = 0.600), In the application of Brahmavihara IV (Kruna) (  = 4.25, S.D. = 0.649), the application of the Brahmavihara IV (Muthita) (  = 4.24, S.D. = 0.608), in the application of the Brahmavihara IV (Upelclcha) (  = 4.20, S.D. = 0.680), in the field of leadership theory overall is at a high level (  = 4.27, S.D. = 0.519),  when considering in each aspect, it was found that Executive work (  = 4.30, S.D. = 0.603), in human resource care (  = 4.24, S.D. = 0.622), in personnel satisfaction ( X̅ = 4.15, S.D. = 0.589), in the aspect of organizational enhancement ( X̅  = 4.40, S.D. = 0.544).

2. The comparison of Buddhist leadership of Executives of the Thailand Institute of Scientific and Technological Research classified by personal factors, it was found that personnel with different gender, age, educational level and experience, had opinions about Buddhist leadership of Executives of Science and Technology Institute of Thailand not different Therefore rejecting the research hypothesis as for personnel with different positions, had opinions differ significantly at the 0.05 level, therefore agreeing to the research hypothesis.

                  3. Problems, Obstacles of Buddhist Leadership of Executives of Thailand Institute of Scientific and Technological Research, found that there are still some personnel who have problems because they do not want to adjust themselves and lack of information, knowledge and benefits for Dharma. Therefore, the Institute of Science and Technology of Thailand, able to improve the provision of information about the principles in order for personnel In the organization to absorb and adapted for their work and adjust  themselves for the better and can continue to maintain the role and the best organization

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.52 MiB 278 18 มิ.ย. 2564 เวลา 13:42 น. ดาวน์โหลด