-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อยอำเภอ โพทะเล จังหวัดพิจิตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCommunity Economic Network Management of Galangal Growers Group According to Apharihanniyadham in Thung Noi Subdistrict Municipality, Pho Thale District, Phichit Province
- ผู้วิจัยพระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.อัครเดช พรหมกัลป์
- ที่ปรึกษา 2พระครูนิวิฐศีลขันธ์, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/884
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 351
- จำนวนผู้เข้าชม 618
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ ) ศึกษาการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่ากับหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข่าทั้ง 7 หมู่บ้าน ในเขตตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 298 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยทำการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิค
การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลัก อปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.21, S.D. = 0.32) และการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.13, S.D. = 0.46)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่ม
เกษตรกรผู้ปลูกข่ากับหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยภาพรวมอยู่
ในระดับสูง (Pearson Correlatin (r) =0.744**) จึงยอมรับสมมติฐาน
3. แนวทางการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ควรดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการรับรู้มุมมองที่เหมือนกันควรมีการ ร่วมพูดคุย ประสานงาน กำหนดราคา และการ ป้องกันโรคระบาด 2) ด้านสร้างความคิดร่วมกันควรมีจัดทำข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลผลิต บันทึกข้อมูลการผลิต ต้นทุน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา 3) ด้านรับผลประโยชน์ร่วมกันควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปลูกข่าได้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น มีการจัดทำกฎระเบียบ แปรรูป และขอให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริม 4) ด้านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายควรมีโอกาสในการเลือกผู้นำกลุ่ม ร่วมกำหนดกฎระเบียบ และร่วมคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร 5) ด้านมีความสามัคคีกันในเครือข่าย ควรมีการเคารพซึ่งกันและกัน นอบน้อมให้เกียรติกัน แนะนำวิธีการแก้ไข้ปัญหา 6) ด้านการพึ่งพากัน ในการรักษาระบบนิเวศน์ มีการกำหนดเป้าหมาย จัดหาตลาด และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และ 7) ด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในเครือข่าย ควรมีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ให้ภาครัฐเข้ามาแนะนำหาแนวทางใหม่ ๆ และควรมีการแชร์ประสบการณ์ดี ๆ หรือใหม่ ๆ ให้แก่กันและกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the research were 1) to study the Community Economic Network Management of Galangal Growers Group according to Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province, 2) to study the relationship between the Community Economic Network Management of Galangal Growers Group and Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province, and 3) to present guidelines of Community Economic Network Management of Galangal Growers Group according to Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province.
This study was a mixed methodology. For quantitative research, the sample group used in this research was Galangal Growers from all 7 villages in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province. The sample consisted of 289 people. Taro Yamane's formula was applied for sampling. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested by analyzing the inferential statistics, Peason’s Product Moment Correlation Coefficient. Whereas, qualitative research used in-depth interviews with 17 key informants (monks and people) to support quantitative data using descriptive content analysis techniques.
The results of the study were as follows
1. The Community Economic Network Management of Galangal Growers Group according to Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province, in overall, was a moderate level ( = 3.21, S.D. = 0.32). The Community Economic Network Management of Galangal Growers Group in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province, in overall, was a moderate level
(= 3.13, S.D.=0.46).
2. The relationship between the Community Economic Network Management of Galangal Growers Group and Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province, in overall, were statistically significant at a level of 0.01 with positive relationship or corresponding characteristics in pairs in overall at a high level with Pearson Correlation (r) =0.744**). Therefore the hypothesis was accepted.
3. The approach of the Community Economic Network Management of Galangal Growers Group according to Aparihaniyadhamma in Thung Noi Sub-district Municipality, Pho Thale district, Phichit province should proceed as follows: 1) on the perception of the same point of view, there should be a discussion, pricing, coordination and epidemic prevention, 2) In terms of creating idea together, there should be information for comparing the production, recording the production cost in order to solve the problems, 3) in receiving mutual benefits, farmers should be encouraged to have the right to express their opinions, prepare rules, transform and ask the government to promote, 4) in the aspect of participation in the network, there should be the opportunity to select group leaders, set rules, and participate in the selection of the executive committee, 5) as for unity in the network, there should be mutual respect, humility, and suggestion for solving problems, 6) in the aspect of the interdependence of preserving the ecosystem, there should be a goal, supplying the market and receiving information, and
7) in terms of the exchange of experiences in the network, problems should be resolved together by the government to introduce new ways and should share good or new experiences with each othe
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.86 MiB | 351 | 18 มิ.ย. 2564 เวลา 13:58 น. | ดาวน์โหลด |