-
ชื่อเรื่องภาษาไทยภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Leadership of Sub-district Headman, Village Headman of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit Province
- ผู้วิจัยพระอธิการธนิต ธมฺมสาโร (รามโพ)
- ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สมคิด พุ่มทุเรียน
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/886
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 1,138
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธและภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธกับภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ตามหลักพุทธธรรม
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนใน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 356 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยทำการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธและภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอ
ดงเจริญ จังหวัดพิจิตร พบว่า ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅ = ๓.๖๒) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านและภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅ = 3.66) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธกับภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบล
ห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร พบว่า ภาวะผู้นำเชิงพุทธ ในแต่ละด้านโดยภาพรวม
มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r= 0.569**)
3. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ตามหลักพุทธธรรม ควรดำเนินการ ดังนี้ 1) แบบมุ่งเกณฑ์ ควรมีการปฏิบัติงานโดยยึดระเบียบกฎเกณฑ์เป็นหลักในการทำงานอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางในการปฏิบัติงาน มีการทำงานตามขั้นตอนแบบแผนที่ได้วางไว้และปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบระมัดระวังเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2) แบบมุ่งงาน ควรมีการกำหนดวางแผนการปฏิบัติงานล่วงหน้า ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ มีการลำดับความสำคัญของงานที่ทำและมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ 3) แบบมุ่งสัมพันธ์ ควรมีการปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ เอาใจใส่ในทุกข์สุขของประชาชนโดยเท่าเทียมกัน ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานทุกคนเหมือนญาติพี่น้อง มีลักษณะเป็นมิตรกับทุกคน มีลักษณะเป็นนักประสานงานที่ดี และ
4) แบบมุ่งประสาน ควรสร้างความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทำงาน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมทางความคิด ไม่มีการแบ่งแยก มีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ มีวิธีการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน และเป็นประชาธิปไตย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were 1) to study the Buddhist and leadership of Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit Province 2) to Study the relationship between the Buddhist and the leadership of Sub-district headman of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit and 3) to present the guidelines for the development of Buddhist leadership of Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit According to the dharma .
This study was a mixed methods research. In terms of quantitative research, the sample was 356 persons in community of Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit by using Taro Yamane technique. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested by analyzing the inferential statistics, Peason’s Product Moment Correlation Coefficient. Whereas, qualitative research used in-depth interviews with 15 key informants (monks and people) to support quantitative data using descriptive content analysis techniques.
The findings of this thesis were as following:
1. The Buddhist leadership of the Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit Province, in overall, was at a high level with the mean equal to (X̅ = 3.62) standard deviation (S.D. = 0.39). When considering in each aspect, it was found that it was at a high level in all aspects, in general, was at a high level with the mean equal to (X̅ = 3.66), standard deviation (S.D. = 0.39). When considering in each aspect, it was found that it was at a high level in all aspects.
2) The relationship between Buddhist Leadership and the leadership of the Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit Province found that Buddhist leadership was found that each aspect of the Buddhist Leadership in overall had relationship to the leadership of the Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen District, Phichit Province with a positively high level (r = 0.569 **).
3) The approach to develop the Buddhist leadership of the Sub-district headman and village headmen of Huay Ruam Sub-district, Dong Charoen district, Phichit province According to the dharma should proceed as follows: 1) in the aspect of criteria-oriented Style, there should be conducted with strict adherence to the rules and regulations in order to achieve goals, setting up policies, targets, directions for the operation. There were working according to the plan as planed and work carefully to prevent any errors that may occur, 2) in the aspect of dedicated style, there should have a work plan in advance, work in accordance with the plan, a priority of the work done, a follow-up and evaluation of the work periodically, 3) in the aspect of related style, politeness should be treated to the people. Caring for the welfare of people equally, treating all colleagues like relatives, being friendly to everyone and having a good coordinator were treated, and 4) in the aspect of integrated style, unity, cooperation, working together, encouraging people to participate in idea, being without discrimination, being flexible in decision-making, having ways to build morale for the villagers and be democratic should be created
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|