โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe roles of buddhist monks develop the qualiy of liff of the elderly at amphoe chok chai nakhon ratchasima provice
  • ผู้วิจัยพระศุภชัย ปญฺญาวชิโร (เปลื้องกระโทก)
  • ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประเสริฐ ธิลาว
  • วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/888
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 617
  • จำนวนผู้เข้าชม 325

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษา บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพระสงฆ์ จำแนกตาม เพศ อายุ  ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ มีรายได้เพียงพอหรือไม่ และการมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและ บทบาทของพระสงฆ์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 398 คน และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research ) ซึ่งเก็บข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Data) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informant)

ผลการวิจัยพบว่า                                                            

                  1) บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมดทุกด้าน ด้านคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 สูงสุดรองลงมา คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธ์ภาพทางสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 คุณภาพชีวิตด้านพัฒนาทางด้านสติปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 คุณภาพชีวิตด้านพัฒนาทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51

2) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ มีรายได้เพียงพอหรือไม่ และ การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นต่อ บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วน ระดับการศึกษา มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

3) บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุควรมีการควบคุมอาหาร เน้นการออกกำลังกายการเดิน การวิ่งเพื่อสุขภาพ ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข เหล้า บุหรี่ กาแฟ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำอัดลมพระสงฆ์ควรมีบทบาทในการสร้างศูนย์กำลังใจ ในการดูแล ผู้สูงอายุ ควรมีสถานที่สร้างศูนย์สมุนไพรให้แก่ผู้สูงอายุ หรือมีข้อมูลในการทำสมุนไพรเพื่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ 2. คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ พระสงฆ์ควรเข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีจิตใจที่ดี ไม่เสียขวัญกำลังใจ ในขณะที่ทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ 3. คุณภาพชีวิตด้านพัฒนาทางอารมณ์ พระสงฆ์ควรมีบทบาทในการสร้างความสามัคคี การให้อภัยกัน การวางตัวเป็นกลาง เมื่อมีปัญหาในชุมชนให้ข้อคิด ข้อสติเตือนใจให้กับผู้สูงอายุ 4. คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม การเข้าสังคมในชุมชน การปรึกษาหารือกันในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการสร้างความขัดแย้งทำเกิดการโกรธกัน และ 5. คุณภาพชีวิตด้านพัฒนาทางด้านสติปัญญาผู้สูงอายุควรหาเวลาว่างอ่านหนังสือเป็นประจำ หรือให้ลูกให้หลานอ่านให้ฟัง เพื่อความอบอุ่นในครอบครัว มีสติไตร่ตรองพิจารณาสาเหตุต่างๆ ให้ถ่องแท้แน่นอนก่อน ก่อนที่ใช้อารมณ์หรือการใช้กำลังในการทำร้ายร่างกายของผู้อื่น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              Objectives of this research were: 1. To study the Buddhist monks’ roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province, 2.To study people’s opinions on the Buddhist monks’ roles, classified by gender, age, educational level, the length of residency, enough incomes and elderly care takers  and 3. To study the problems obstacles and the Buddhist monks’ roles of  Chok Chai District, Nakhon Ratchasima Province

              Methodology was the mixed methods: The quantitative research  collected data from 398 samples who were the people 18 years and  older living at Chok Chai District, Nakornrajasima Province. The qualitative research collected data from document and  key informants by in-depth-interviewing.

             Findings were as follows:                              

             1.  The Buddhist monks’ roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province, by overall , was at high level with the mean value at 3.77. All aspects were also at high levels. The aspect of quality of life and spirit was at 3.92, the highest in the ranks. Secondly the social relationship was at 3.84, intellectual development as at 3.81, emotional development was at 3.77 and physical health aspect was at 3.51, respectively

              2.   The results of people’s opinions comparison on the Buddhist monks’roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province, classified by personal factors were that people with different gender, age, the length of residency, sufficient incomes and elderly care takers did not have different opinions on the Buddhist monks’ roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province, rejecting the set hypothesis. People with different educational levels had different opinions on the Buddhist monks’ roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province at the statistically significant level at 0.05, accepting the set hypothesis.

              3.  The Buddhist monks’ roles in the elderly quality of life development at Chok Chai District, Nakornrajasima Province: 1) the quality of life, the physical health; the elderly should control food, should exercise by walking, jogging for health, avoid ruins, alcohol, cigarette, coffee, tonic drinks, carbonated soft drinks. Buddhist monks should have roles in morale center construction. There should be herbal garden or data on herbal medicine for the elderly cares. 2) quality of life, mental health; Buddhist monks should have roles in leading elderly to practice meditation to boost up the morale, not to lose morale in any circumstances, 3) the quality of life, emotional development; Buddhist monks should have roles in reconciliation, forgiveness and neutrality  creation, mindfulness reminding when problems arise in the communities. 4) the quality of life, social relationship; elderly should create dialogues, ideas exchange for community development rather than conflict and anger, 5) quality of life, intellectual development; elderly should read book regularly or let children read for them for family warmth, use mindfulness to think the things over and over before judgment, before using emotions to use force to do harm to others.  

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.87 MiB 617 19 มิ.ย. 2564 เวลา 00:11 น. ดาวน์โหลด