-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษElderly Health Behavior Surveillance Model Development by Information Technology of The Sub-District Health Promotion Hospital in The Province
- ผู้วิจัยนายจรูญศักดิ์ สุนทรเดชา
- ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี (ฐิตพัฒน์ สิริธโร) รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา14/01/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/890
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 321
- จำนวนผู้เข้าชม 659
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์รูปแบบของการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2. พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 3.ทดลองและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสำรวจปัญหาและพัฒนารูปบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุขั้นตอนที่ 2 การฝึกอบรมและพัฒนาคน เครื่องมือและกระบวนการและขั้นตอนที่ 3 การทดลองและการประเมินผลและใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบของการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า ด้านการเพียรพยายามหาวิธีการ ประกอบด้วยการวางแผนเพื่อจัดทำแผนเฝ้าระวังอันเป็นระบบ และกลไกการดำเนินงานเชิงรุกในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ด้านการสืบสานแนวทางขจัดปัญหา ประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการประ กอบด้วยการนำข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไปสู่การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาให้กระบวนการดีขึ้น ด้านการรักษามาตรฐานการเฝ้าระวัง ประกอบด้วยการเขียนรายงานเพื่อนำข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์ในระดับนโยบาย ระดับสังคม และระดับปฏิบัติการ
2. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพบว่า แนวทางการพัฒนาออกเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านคน คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ Application และ 2) การพัฒนาด้านเครื่องมือและกระบวนการ โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (App ดูแล) มาใช้เพื่อลดขั้นตอนและความผิดพลาดในกระบวนการต่าง ๆ
3. การทดลองและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบเทคโน โลยีสารสนเทศ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่า การประเมินผลด้วยแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมก่อนการฝึกอบรม และหลังการทดลองใช้ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านทั้งก่อนการฝึกอบรมและหลังการทดลองใช้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This settings for this research were the Sub-District Health Promotion Hospitals with the following objectives: 1. to analyze the elderly health surveillance model using the information communication technology of the hospitals, 2. to develop the elderly health surveillance model using the information communication technology of the hospitals, and 3. to trial and evaluate the elderly health surveillance model using the information communication technology of the hospitals. The methodology comprised research and development, which consisted of the following 3 steps: Step 1: survey the problems through data analysis and develop the elderly health surveillance model. Step 2: train and develop personnel, tools and processes. Step 3: trial and evaluate the model. Data were analyzed using descriptive interpretation.
The findings were as follows:
1. The elderly health surveillance model of Sub-District Health Promotion The effort to find the process and methods consisted of a systematic surveillance plan and proactive mechanism for elderly health behavior surveillance. The continuous problem elimination process consisted of data collection and data analysis. The effort to develop the process consisted of implementing the data of the elderly health behavior surveillance to solve the problems and to improve the surveillance process. To maintain the surveillance standards the data on the elderly health behavior surveillance to be implemented at the policy, social and operational levels were reported.
2. Regarding the development of the elderly health surveillance model using the information communication technology of Sub-District Health Promotion Hospitals, it was found that there were 2 approaches to the elderly health behavior surveillance model development: 1. Human development; to give them knowledge of the elderly health behavior surveillance of the Sub-district health promotion hospitals and the knowledge of application usage. 2. The tools and process development; to use the information communication technology “App Dolae” to reduce the steps and errors in all processes.
3. Regarding the trial and evaluation of the elderly health surveillance using the information communication technology of Sub-District Health Promotion Hospitals, it was found that the evaluation of knowledge, attitude and behavior before and after training using the evaluation results overall were at the high level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 61.5 MiB | 321 | 19 มิ.ย. 2564 เวลา 03:41 น. | ดาวน์โหลด |