โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โรงเรียนสันติภาพ: ศึกษาและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ย โดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeaceful School: A Study and Development of Mediation Process by Buddhist Integration of Ban Pho Wai School, Muaeng District, Suratthani Province
  • ผู้วิจัยนางคนึงนิตย์ ศรีรักษ์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา15/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/891
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 466

บทคัดย่อภาษาไทย

         ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนในสถานศึกษาเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การไกล่เกลี่ยนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งที่สถานศึกษานำมาใช้เพื่อจัดการความขัดแย้ง เพราะการไกล่เกลี่ยเป็นการจัดการปัญหาที่จุดกำเนิด และเป็นการจัดการความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน การศึกษาวิจัยครั้งนี้การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมุ่งศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของความขัดแย้งของนักเรียน สร้างและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี และวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ (Pre-Experimental Design) จริง โดยทดลองใช้นักเรียนของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบความขัดแย้งของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 2. เพื่อศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยของสำนักงานศาลยุติธรรมและพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า

            1) สภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบความขัดแย้งของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ความขัดแย้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนบ้านโพหวายมี 2 ระดับ คือ การทะเลาะวิวาทด้านคำพูด และการทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1) สภาพทางครอบครัวที่ยากจน หย่าร้าง ทำให้เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ต้องไปอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องอื่น หรืออยู่กับพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง ส่งผลให้เด็กขาดความอบอุ่น รู้สึกว้าเหว่า ขาดที่พึ่งพาและที่ปรึกษาทางใจ 2) พฤติกรรมเบี่ยงเบนของเด็ก เช่น ความมีอคติต่อกัน การรักพวกพ้อง การล้อเลียนปมด้อยหรือความผิดปกติของผู้อื่น การวางอำนาจหรือการข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า การพูดจาโอ้อวดเกินความเป็นจริง และการแข่งขันหรือแย่งชิงผู้หญิงคนเดียวกัน เป็นต้น 3) สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรงเรียนบ้านโพหวายตั้งอยู่ในชุมชนแออัดสภาพของการแก่งแย่งชิงดี การต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด การใช้ความรุนแรงสภาพแวดล้อมของชุมชน อันธพาล ค้าของผิดกฎหมาย ฯลฯ อาจชักจูงให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกไม่ควร และ 4) สารเคมีในร่างกาย ซึ่งสารเคมีในที่นี้ คือ ฮอร์โมน ความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกาย มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ และพฤติกรรมบางอย่าง ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านความคิด การรับรู้และด้านอารมณ์ โดยการจัดการความขัดแย้งที่ผ่านมาของโรงเรียนบ้านโพหวาย คือ ครูเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แต่อย่างไรก็ตามการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยครู หรือบุคลากรในโรงเรียนบ้านโพหวายยังคงมีปัญหาอุปสรรค จากปัญหาทัศนคติของครู และบุคลากรที่ขาดทักษะที่เพียงพอในการเจรจาไกล่เกลี่ย เนื่องจากไม่มีกระบวนการที่ชัดเจนสำหรับการจัดการความขัดแย้ง ขาดความรู้ในการไกล่เกลี่ย

            ศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยของสำนักงานศาลยุติธรรม และพุทธศาสนาเถรวาท  เพื่อนำกระบวนการทั้งสองมาบูรณาการร่วมกัน และนำไปปฏิบัติดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ตั้งสติให้พร้อมสรรพ          (M; Mindfulness) ขั้นตอนที่ 2 ดับอารมณ์คู่กรณี (E-Emotion management) ขั้นตอนที่ 3 เน้นที่ฟัง/สื่อสารให้ลึกซึ้ง (D-Deep listening and Communication)  ขั้นตอนที่ 4 ตรึงให้อยู่ในประเด็น          (I-Issues Analysis) ขั้นตอนที่ 5 เข็ญวิธีการให้สอดรับ (A-Approaching to Strategies) ขั้นตอนที่ 6 ปรับทัศนคติเทียบเท่า (T-Thinking Wisely) ขั้นตอนที่ 7 ดึงเข้าสู่จุดสนใจ (I-Interest Finding) ขั้นตอนที่ 8 ให้ทางเลือกเพิ่มเติม (O-Options Creating) และขั้นตอนที่ 9 เสริมสร้างความสัมพันธ์ (N-New Relationship Building)

          นำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง            จ.สุราษฎร์ธานี ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนใหญ่ คือ 1) การเตรียมความพร้อม และสร้างความไว้วางใจ 2) ตั้งสติและปรับอารมณ์ 3) การวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุความขัดแย้ง 4) การจัดการปัญหาความขัดแย้ง 5) การหาทางออกหรือข้อตกลงร่วมกัน และ 6) เสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้คู่กรณีทำกิจกรรมร่วมกัน

           กล่าวโดยสรุป นอกจากผู้ไกล่เกลี่ยที่นำกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการไปใช้ในการจัดการความขัดแย้ง ทั้ง 6 ขั้นตอนแล้ว ผู้ไกล่เกลี่ยควรดำรงอยู่บนพื้นฐานของจิตใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ 4 กล่าวคือ ปราศจากความลำเอียงทั้ง 4 ประการ คือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง โมหาคติลำเอียงเพราะหลง และภยาคติลำเอียง เพราะกลัว จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยอย่างสมบูรณ์แบบ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             Due to the increasing violence resulting from problems on conflicts and quarrels among the youth in schools, therefore, mediation is considered as an important tool that schools can use to manage the conflicts because mediation is the problem management right from its origin as well as being sustainable problem management. The dissertation entitled “Peace School: A Study and Development of Mediation Process by the Buddhist Integration of Ban Pho Wai School, Muaeng District, Suratthani Province” used mixed-method research of both quantitative and qualitative research focusing on the analysis of problems, causes and effects of students’ conflicts. The mediation process was created and developed based on the Buddhist integration of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province. The study was the pre-experimental research using a one-group pretest-posttest design by experimenting with students of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province. The study consisted of three objectives: 1) to study the conditions of problems, causes, and effects of students’ conflict of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province; 2) to study the mediation process of the Court of Justice and in Theravada Buddhism; and 3) to present the mediation process by the Buddhist integration of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province.

              The results of the study were as follows:

              1) From the study on the conditions of problems, causes and effects of students’ conflicts of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province, it was found that conflicts of the secondary school students of Ban Pho Wai school consist of two levels, namely, verbal conflict and criminal battery, which are caused by: 1) The condition of the family that is poor or divorced by which the children have to live with the grandparents or other relatives, or living with either one of the parents resulting in the lack of affection, the feeling of solitude, lacking dependency and mental counseling; 2) Deviant behavior of children such as having prejudiced against one another, biasedly favoring one’s peer group, mocking on the inferiority complex and abnormalities of others, the abuse of power by bullying those who are weaker, boasting and exaggerating, and competing for the same girl, etc; 3) The social and environmental condition in which Ban Pho Wai school located is in a slum community with fierce competition and in an environment where children have to strive to survive and use violence. Including having gangsters as the neighbors and the business of illegal goods, etc., all of this may induce children to behave inappropriately and wrongly; and 4) The chemicals inside the body which is hormones. The imbalance of chemicals in the body has an influence on personality development and some behaviors causing disorder in thought, perception, and emotion. The past conflict management of Ban Pho Wai school was mediated by teachers. However, the mediation by teachers or personnel in Ban Pho Wai school still had problems and obstacles from the attitude problems of teachers and personnel who did not have sufficient skills in negotiating and mediating due to the lack of clear process for conflict management and knowledge in mediation.

          2) The study on the mediation process of the Court of Justice and in Theravada Buddhism was to integrate both processes together and put into practice, by which the study found as follows: Step 1: M-Mindfulness, Step 2: E-Emotion Management, Step 3: D-Deep Listening and Communication, Step 4: I-Issues Analysis, Step 5: A-Approaching to Strategies, Step 6: T-Thinking Wisely, Step 7: I-Interest Finding, Step 8: O-Options Creating, and Step 9: N-New Relationship Building.

       3) The presentation of mediation by the Buddhist integration of Ban Pho Wai school, Muaeng district, Suratthani province consisted of 6 main steps as follows: 1) The preparation of readiness and trust building; 2) Having mindfulness and emotional adjustment; 3) The analysis and finding of the causes of conflicts; 4) Conflict management; 5) The finding of a solution or mutual agreement; and 6) The strengthening of relationships by letting both parties do the activity together.

             In conclusion, in addition to mediators that have to lead the mediation by the Buddhist integration in managing all 6 steps of conflict, the mediators should be impartial without the Four Kinds of Prejudice (Agati) comprising: 1) Prejudice caused by love or desire (Chandāgati); 2) Prejudice caused by hatred or enmity (Dosāgati); 3) Prejudice caused by delusion or stupidity (Mohāgati); and 4) Prejudice caused by fear (Bhayāgati). This would contribute to being the perfect mediator.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ