โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Master of Arts Program in indfulness Studies (International Program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • ผู้วิจัยนายณัฎฐ์ชยธร มุขสุดาชัยสิริ
  • ที่ปรึกษา 1พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/893
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 270
  • จำนวนผู้เข้าชม 642

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อสนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)” วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาความจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (3) เพื่อนำเสนอหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ทรงคุณวุฒิ  พระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตร นักวิชาการด้านหลักสูตร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักเรียนครูสติ (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะวิเคราะห์และพรรณนา

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า   

1) ความต้องการ  และความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต  (หลักสูตรนานาชาติ)  วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า สังคมในปัจจุบันทั้งตะวันตกและตะวันออกเป็นสังคมยุคดิจิทัล มีความเร็ว ความแรง ความไว ในการสื่อสารอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนขาดสติในการอยู่ร่วมกันก่อให้ปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรงในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร สังคม และโลก จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรสติศึกษาขึ้น เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง สังคมมีปัญหา และเป็นนโยบายสำคัญของสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา จะต้องเข้ามาพัฒนาคนในสังคมเกิดสันติสุข  ปัจจุบันจึงมีการปรับปรุงหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนาที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เยาวชนทั่วประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ จะต้องเปิดหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิตเพื่อโจทย์บุคคลทุกช่วงวัยตามนโนบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม                              

2) การพัฒนาหลักสูตรสติศึกษา ได้พัฒนาตามกรอบ  4 ด้าน คือ 1) แนวคิด (Concept) ตามรูปแบบตะวันตก ตะวันออก และพระพุทธศาสนาทุกนิกาย 2) เนื้อหา (Content) โดยยึดหลักปริยัติ ปฏิบัติ ในรูปแบบของตะวันตกและตะวันออก 3) บริบท (Context) วิเคราะห์ผู้เรียน สร้างบรรยากาศแวดล้อมในการเรียนการสอน มีความเหมาะสม สถานที่ปลอดโปร่ง สะดวกสบาย มีสื่ออุปกรณ์ในการเรียนมีความหลากหลาย 4) การสื่อสาร (Communication) ผู้สอนสามารถถ่ายทอดสู่ผู้เรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตร

3) นำเสนอหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  เป็นหลักสูตร  3  MODEL 3 หลัก คือ  3  MODEL  1) AFDDCER Model  2) CEMTAEMELQ  Model 3) MILER  Model และ  3  หลักพุทธศาสตร์  1)  หลักสติปัฏฐาน 4 2) หลักไตรสิกขา  3) หลักภาวนา (Development) 4  จึงส่งผลให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์ใน 4 ด้าน คือ 1) มีความเป็นพลวัฒน์ (Dynamics) 2) มีความเป็นสากล (International) 3) มีความเป็นสหสาขา (Interdisciplinary) 4) มีความเป็นบูรณาการ (Integration)

ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบสันตินวัตกรรม ประกอบด้วย 3  MODEL  1) AFDDCER Model  2) CEMTAEMELQ  Model 3) MILER  Model

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The dissertation entitled “The Development of Master of Arts Program in Mindfulness Studies (International Program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University” was a qualitative research consisting of three objectives: 1) to study the needs for developing the Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2) to develop the Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University; and 3) to present the Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. The key informants consisted of experts, monks who were specialized in the curriculum, scholars in curriculum, lecturers, officers, and students of Mindfulness Certificate Program (international program) by means of an in-depth interview and focus group. The data was analyzed and presented in a descriptive method.

The results of the study were as follows:

1) From the study of the needs for developing the Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya university, it was found that the present societies both in the West and the East are digital societies, with high speed in communication that cause people to lose mindfulness in coexisting with each other leading to conflict and violence at individual, family, social, and global levels, therefore, it is necessary to develop the Master of Arts program in Mindfulness Studies. This is because the world has changed, society has problems, and it is also an important policy of the educational institutions on Buddhism to take part in developing people in society to have peace. At present, there has been a revision of the program in the teaching of Buddhism having mindfulness and concentration as a base. International Buddhist Studies college, therefore, has the needs to open the Master of Arts program in Mindfulness Studies for individual of all ages according to the policy of Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

2) The development of the program in Mindfulness Studies was conducted covering the four areas as follows: 1) Concept following the Western and Eastern ways as well as Buddhism of all sects; 2) Content adhering to the Western and Eastern doctrines and practices; 3) Context by analyzing the students and creating a suitable atmosphere for the teaching and learning, with a serene and convenient venue, including a variety of learning materials; and 4) Communication in which the lecturers can teach the students in an amicable manner or acting like a good friend (Kalyāṇamittatā).

3) The Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) was presented in three models, namely: 1) AFDDCER Model; 2) CEMTAEMELQ Model; and 3) MILER Model together with the application of the three Buddhist doctrines consisting of: 1) Four Foundations of Mindfulness (Satipaṭṭhāna); 2) Threefold Training (Trisikkhā); and 3) Four Ways of Development (Bhāvanā). All this would result in the program with more completeness by covering all four aspects as follows: 1) Dynamics; 2) International; 3) Interdisciplinary; and 4) Integration.

          Therefore, the researcher has found peace innovation as in a model for the development of the Master of Arts program in Mindfulness Studies (international program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, which consists of the models: 1) AFDDCER Model; 2) CEMTAEMELQ Model; and 3) MILER Model.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 8.79 MiB 270 19 มิ.ย. 2564 เวลา 04:05 น. ดาวน์โหลด