โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Causal Relationship Model Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province
  • ผู้วิจัยพระครูนิติจันทโชติ (ธรรมนูญ จนฺทโชโต)
  • ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี (ฐิตพัฒน์ สิริธโร) รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา14/01/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/894
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 581

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. วิเคราะห์โมเดลจำลองหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3. พัฒนาโมเดลหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่อาศัยอยู่เขตตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย, เขตตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว และเขตตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 570 คนจากประชากรทั้งหมด จำนวน 6,614 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่า กับ 210.53 องศาอิสระเท่ากับ 180 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.059 ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่า กับ .017 ค่าตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนได้ร้อยละ 89

2. โมเดลจำลองหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชน ในจังหวัดนคร สวรรค์  ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การเตรียมความพร้อมเป็นการดำเนินการช่วงก่อนเกิดภัยเพื่อให้มีองค์ความรู้ ขีดความสามารถ และทักษะต่าง ๆ พร้อมที่จะรับมือกับสาธารณภัย ด้านที่ 2 การป้อง กันเป็นการจัดการก่อนการเกิดภัยแล้ง โดยการวิเคราะห์ วางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรมในการป้องกัน และลดโอกาสในการสร้างความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล ชุมชนและสังคม รวมถึงการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ด้านที่ 3 การจัดการภาวะฉุกเฉินเป็นการเผชิญกับปัญหาภัยแล้งโดยมีกระบวนการในการจัดการอย่างเป็นระบบผ่านทรัพยากรชุมชน และด้านที่ 4 การฟื้นฟูเป็นการจัดการภายหลังจากการประสบปัญหาภัยแล้ง เพื่อปรับปรุง ซ่อมเสริมให้ชุมชนกลับมาสู่สภาวะปกติ

3. การพัฒนาโมเดลหลักพุทธบูรณาการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วยบวร คือ บุคคล วัดและชุมชน และราชการ ส่วนที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วย 3 ด้าน ทกส คือ ด้านที่ 1 ทุน ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ (ผู้นำและผู้ตาม) และทุนทางสังคม (ความสามัคคี ความเสียสละและประโยชน์ส่วนรวม) ด้านที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วย ด้านการเตรียมความพร้อม การป้องกัน การจัดการภาวะ ฉุกเฉิน และการฟื้นฟู และด้านที่ 3 สิ่งสนับสนุน ประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ การฝึกอบรม/ ถอดบทเรียน  กองทุนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการเยียวยาด้านจิตใจ  และส่วนที่ 3 เป้าหมาย คือ ธรรมนูญชุมชนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ประกอบด้วย เบญจพลัง คือ พลังชุมชน พลังทางสังคม พลังความรู้ พลังภูมิปัญญาท้องถิ่น และพลังสื่อ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. to study the consistency of a Causal Relationship Model Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province with the empirical data. 2. to analyze a model of the Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province. and 3. to develop a model of the Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province.

Methodology was the mixed methods: The quantitative research was used survey method by collected data from 570 samples from the populations of 6,614 people who were farmers using water for agriculture living at Nonggrod Sub-district, Banpotpisai District, Nongtao Sub-District, Kaoleow District, Bangkien Disrict and Choomsaeng District, Nakhonsawan Province. Sampling method applied simple random sampling by lottery drawing and collected data by questionnaires with validity value at 0.966. The data were analyzed with the social research program. Descriptive statistics used were frequencies, percentage, mean and standard deviation and hypothesis test with structural equation model The qualitative research method collected data from 18 key informants who were experts with structured –In-depth-interview script that had validity value equal to 1 and analyzed data by descriptive interpretation.

Findings were as follows:

1. The Causal Relationship Model Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province with the empirical data considering from the statistics of qui-square equaling to 210.53, degree of freedom was equal to 180, probability was equal to 0.059. Root mean square (RMSEA) was equal to .017. The values of all variables in the model could explain the variance of the community drought problem solving at 89 percent

2. A model of the Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province consisted of 4 aspects: 1. Preparedness, 2, Prevention before the drought occurred by analyzing, planning for prevention activities and reduce the chance for damages to occur to people, communities, society as well as preventing the damages that might happen in the future. 3. Emergency response, the confrontation with the drought by the systematic process of the community resources and 4. Recovery, the management after drought to restore, improve and repair to bring the community back to normal condition.

3. Development of the Intergrated Buddhist Principles to Solve Drought Problems of Community in Nakhonsawan Province was found, that there were 3 important parts, part 1. Stakeholders consisting of people, monasteries and officials, part 2. Process, consisting of 3 sides: side 1 was the capital, human capital (leaders and followers) and social capital (harmony, charity and holistic benefits). Side 2, Process consisted of readiness preparation, prevention, emergency management and recovery and side 3, supporting facilities consisted of information technology (IT), training/ lesson retrieving, recovery fund for the drought problem prevention and mental recovery and side 3, goal, the community ruling governance for the community drought problem solving consisting of 5 forces; community force, social force, knowledge force, community knowledge force and media force. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ