-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์และพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Class Concepts of Martin Luther King, Jr., and Buddhism
- ผู้วิจัยนางสาวธัญญาภรณ์ โตชำนาญวิทย์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา11/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/896
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,225
- จำนวนผู้เข้าชม 1,099
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ เรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ และ พระพุทธศาสนา” เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้วิธีการเชิงพรรณา และนำเสนอวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ และ พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางศึกษาการเสริมสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมกัน ในการศึกษานี้ผู้วิจัยวางวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 3 ประเด็น คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ 3. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ และ พระพุทธศาสนา ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาคือพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาและฎีกาและหนังสือตำราที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ส่วนข้อมูลมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้จาก การแปลเอกสารหนังสือจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ ตำรา หนังสือ
ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของพระพุทธศาสนา ชนชั้นในสมัยพุทธกาล เรียกว่า วรรณะ แปลว่าสีผิวและชาติ การแบ่งแยกชั้นคนในระยะแรกอาจถือตามสีผิว เชื้อสายหรือเผ่าพันธุ์ การแต่งงานระหว่างเผ่าเกิดขึ้น การตั้งข้อรังเกียจสีผิว ชนชั้นวรรณะได้วิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ (Brahmins) กษัตริย์ (Kshatriyas) แพศย์ (Vaishyas) ศูทร (Shudras) และนอกวรรณะคือ จัณฑาล (Untouchables) ลักษณะการแบ่งวรรณะ มีการกีดกันกันและกันด้วยระบบความเชื่อ การประกอบอาชีพ มีความรังเกียจศักดิ์ศรีสถานภาพของกันและกัน วิธีการสร้างความเท่าเทียมกันในเชิงวิชาการ คือ 1. การผ่อนปรนหรือการสมานลักษณ์ (Accommodation) 2. การกลืนกลาย (Assimilation) 3. ความร่วมมือ (Cooperation) 4. ความเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) วิธีการสร้างความเท่าเทียมกันด้วยศีล 5 ได้แก่ 1) เว้นจากการฆ่า การประทุษร้ายกัน 2) เว้นจากการลัก ขโมย โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ทำลายทรัพย์สิน 3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม การล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่ หวงแหน 4) เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง 5) เว้นจากน้ำเมา คือสุราเมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท และวิธีการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันด้วยเบญจธรรม 5 คือ (1) เมตตากรุณา(2) สัมมาอาชีวะ (3) กามสังวร (สำรวมในกาม) (4) สัจจะ (5) สติสัมปชัญญะ เป็นธรรมที่คู่กับศีล 5 เรียกว่า กัลยาณธรรม แปลว่า ธรรมงาม เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้งดงาม สร้างอัธยาศัยที่ดี
2. แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ มาจากอลาบาม่า ต่อสู้เพื่ออิสรภาพ (fight for freedom)และ เป็นแรงบันดาลใจสู่ความเท่าเทียม เป็นบาทหลวงสาธุคุณชาวผิวสี เป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ โดยใช้นโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี แนวคิดการต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียม คือ 1.การต่อสู้แบบสันติ 2.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3.ความรับผิดชอบของบุคคลและส่วนรวม 4.ราคาของเสรีภาพ เป็นคนที่เสาะแสวงหาการเรียนรู้แสวงหาปัญญา ยืนหยัดในหลักการความยุติธรรมเท่าเทียม อมตะสัจจะสุนทรพจน์ของมาร์ติน ลูเธอร์คิงเกี่ยวกับความฝัน ที่ว่าคนผิวขาวและผิวดำจะเท่าเทียมกันและอยู่ด้วยกันอย่างสันติภาพ สุนทรพจน์นี้ถูกถ่ายทอดไปทั่วโลก
3. วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ และ พระพุทธศาสนา ผลกระทบของความขัดแย้งจะทำบุคคล สังคม ชุมชนหมดกำลังใจ ท้อแท้ เบื่อหน่าย หมดกำลังใจ เสื่อมโทรม นำไปสู่ความตึงเครียด แบ่งเป็นพรรคเป็นพวก บั่นทอนมิตรภาพ เกิดความบาดหมาง หมดความเชื่อใจ หวาดระแวง แตกความสมานฉันท์ เสียทรัพยากร เกิดการบิดเบือนข้อมูล กลายเป็นความรุนแรง ยุ่งเหยิง สับสน ไร้ระเบียบ ไร้เสถียรภาพทางชีวิตและสังคม นี้คือ เหตุผลว่าทำไมจึงต้องใช้สันติวิธี โดยหลักวิชาการแล้ว สังคมเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งจำเป็นต้องใช้สันติวิธี เพราะเหตุผล คือ สันติวิธีเป็นวิธีที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม การจัดการความขัดแย้งแบบสันติวิธี วิธีการต่อต้านชนชั้นเพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของมาร์ติน ลูเธอร์คิงจูเนียร์ และ พระพุทธศาสนา กล่าวคือ
1. สร้างความรัก เว้นการทำร้ายเบียดเบียนกัน มีเมตตา และยึดหลักอหิงสา ที่มีวิถีในความกล้าหาญ อดทนต่อสู้ เริ่มต้นด้วยการไม่เห็นแก่ตัว การอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเสมอภาคสมถะ ถ่อมตน เรียบง่าย ติดดิน ไม่ทะเยอทะยาน มีความหนักแน่น เน้นการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นการใช้ความรัก ความเมตตาต่อศัตรู
2. เคารพสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมเท่าเทียม ยึดหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นพี่น้องว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติ
3. การเคารพให้เกียรติยอมรับความแตกต่าง ความเป็นเอกภาพ ความประสานสอดคล้อง หรือประสมกลมเกลียว
4. การไม่ว่าร้าย เสียดสี ปุกปั่นยุยง การไม่ว่าร้าย เสียดสี ปุกปั่นยุยง ใช้ปิยะวาจา วาทกรรม แนวคิด เนื้อเดียวกัน สัจจะที่ท่านเป็น ไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนเปรียบเทียบแนวทางการต่อสู้การเรียกร้อง ใช้สติปัญญา ความดีงาม ความรู้ความสามารถของบุคคล ที่ชักนำให้บุคคลทั้งหลายมาประสานกัน และพากันไปสู่จุดหมายที่ดีงาม
5. การให้ปัญญาเรียนรู้เข้าใจซึ่งกันและกัน การอธิบายเหตุและผล เพื่อให้สังคมเกิดการยอมรับซึ่งกันและกันได้ การให้ความรู้ความเข้าใจที่ดีต่อกัน ก็คือ หลักโยนิโสมนสิการ (ความคิดใคร่ครวญแยบยล)
6. ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ความพร้อมใจกัน รู้ข้อมูลของกันและกันด้วย ตรวจสอบกันได้ เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
7. เกณฑ์วัดพื้นฐานจริยธรรมด้วยการกระทำ เชื่อมั่นในการกระทำ หรือหลักกรรม คนเราจะดีจะชั่ววัดกันที่กระการทำ กล่าวคือ อกุศลกรรมบถ เป็นเครื่องสะท้อนความดีความชั่ว
8.. สังคมสันติสุขบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม การต่อต้านระบบชนชั้นวรรณะ ยอมรับและเคารพกันที่การกระทำ ก่อให้เกิดวิถีสันติภาพ 3 ด้าน คือ สันติภาพทางกาย การกระทำบางสิ่งที่คนควรจะทำ สันติภาพทางวาจา พูดถึงกันด้วยความเคารพ รวมถึงมีการสำรวมทางวาจาให้เรียบร้อย ดีงาม และสันติภาพทางใจ ได้แก่การตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled “An analysis of Class concepts of Martin Luther King, Jr., and Buddhism” which was a qualitative research using a documentary method with descriptive study. It was analyzed and synthesized and presented the class concepts of Martin Luther King, Jr. and Buddhism as a guideline for strengthening the social equality. There were 3 objectives in this research which were 1. to study the class concept in Buddhism 2. to study the class concept of Martin Luther King, Jr. and 3. to analyze the class concepts of Martin Luther King, Jr., and Buddhism. The primary sources used in the study were Tipitaka, exegesis and sub-commentary, and relevant textbooks respectively. The information regarding Martin Luther King Jr. was from the translation work of English original textbooks, theses, treatises, and books.
The research findings were:
1. The class concepts in the Buddhist view, the word class in Buddhism era was called Varna meaning skin color and caste. In the beginning of class system, the division started from skin color, race or ethnic group and the tribal intermarriage then originated the disgust of skin color. The castes system was developed into 4 castes which were Brahmins, Kshatriyas, Vaishyas, Shudras, and outcast which is untouchables. Characteristic of the caste system was impeded by the believe system, occupation, hatred of pride and status of each other. In order to build an equality in terms of academic: 1. Accommodation, 2. Assimilation, 3. Cooperation, and 4. Consensus. The equality building in terms of the five precepts: 1) to refrain from killing and hurting, 2) to refrain from stealing, cheating, taking thing which is not belonging and destroying, 3) to refrain from sexual misconduct and violation of the other’s love one, 4) to refrain from harsh words, lying, and unskillful speech, and 5) to refrain from liquors and intoxicated substances that cloud the mind. The way to strengthen the equality with the five ennobling virtues (Panca Dhamma) consisted of (1) loving-kindness and compassion, (2) right livelihood, (3) sexual restraint, (4) truthfulness, (5) mindfulness and awareness. This was the dhamma that enjoined by the five morality (Panca Sila) called Kalyāṇadhamma meaning the nobbling virtues; the mental nourishment to be beautiful with good courtesy.
2. The class concept of Martin Luther King, Jr., as Martin Luther King came from Alabama who fought for freedom and was an inspiration to equality. He was the colored reverend and the activist leader in the civil rights movement for the black using policy and against way of the non-violence approach following Mahatma Gandhi. The fight for equality calling consisted of 1. Non-violent resistance, 2. Social change, 3. Responsibility as an individual and as a whole, and 4. Price of freedom. He searched for learning and knowledge. He stood up for the justice principal and equality. The immortal speech of Martin Luther King, Jr., was about his dream that those white and black would be equal and live together with peace. This speech was broadcasted all around the world.
3. For an analysis of the class concepts of Martin Luther King, Jr. and Buddhism, the impact of conflict would cause individual, society, and community to lose their courage, despaired, hopeless, degenerated, and destructive feelings leading to stressful situation. This led to parties, broken relationship, conflict, untrusty, hostility, resource loss, information distortion resulted in violence, confusion, chaos, indiscipline, and instability of life and society. These were all the reasons why the peaceful mean was needed. Academically when the society was in conflict, the society must use the non-violent resolution because non-violent mean was the right way according to the morality. The conflict resolution by peaceful mean was the anti-class method in order to strengthen the equality according to Martin Luther King, Jr., and Buddhism were:
1. To build love by abstaining from killing and hurting, with loving-kindness, and hold on to the ahimsa principle which acquired bravery and patience in fighting. It started with non-selfishness, living with love, equality, contentment, humbleness, simplicity, down to earth, unambitiousness, persistence, nonviolence focusing on the use of love and loving-kindness to the enemy.
2.To respect rights and freedom; and equality and justice, hold the principle of human dignity, freedom right, equity, and brotherhood as all human beings were born free and equality in honor.
3. To value and accept the differences, unity, concord and harmony, or conformity.
4.To abstain from gossip, sarcasm, denigration, sarcastic, instigation, but to use nice words, pleasant, harmonious, and trustworthy speech. To refrain from killing, comparing the fight, calling way, but use wisdom, virtue, individual knowledge and ability which lead to harmony and way to a noble destination.
5. To offer gnostic knowledge in mutual learning and understanding, explanation and reasoning for the society to accept each other. To give knowledge and understanding to each other was the concept of Yonisomanasikara (appropriate attention; systematic attention).
6. To be harmonize and accordance as one, know the information of each other, be able to examine each other, then this would create the mutual trust.
7. To measure the ethical foundation criteria by action, trust in action or the laws of Kamma. An individual would be good or bad should be measured by action which was unwholesome course of action that reflected the good deed and bad deed.
8.To have a peaceful society based on the equality foundation, anti-class and castes system, accept and respect each other by action, which resulted into three dimensions of peaceful means: physical peace: pleasant action, verbal peace: talk with respect including pure, kind, and calm speech, and mental peace: good intention and think for the benefit of others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.44 MiB | 1,225 | 19 มิ.ย. 2564 เวลา 04:28 น. | ดาวน์โหลด |