-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษImplementation of Strategic Plan for Upgrading The Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province
- ผู้วิจัยพระครูนิภาภัทรกิจ (สามารถ ฐิตสทฺโธ)
- ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี (ฐิตพัฒน์ สิริธโร) รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา22/12/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/897
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 810
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของกรอบความสัมพันธ์เชิงสา เหตุของการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. เพื่อวิเคราะห์กรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อนำเสนอผลการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากพระสงฆ์ในพื้นที่ 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 420 รูป จากจำนวนพระสงฆ์ทั้งหมด 6,275 รูป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสม การโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณ วุฒิ จำนวน 17 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 เพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นกรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และประเมินผลด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และการใช้ประโยชน์ด้วยของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จำนวน 8 รูป/คน ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เพื่อนำไปพัฒนากรอบความสัมพันธ์เชิงสา เหตุการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายใน สู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสอดคล้องของกรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในส่วนของกรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 32.18, df เท่ากับ 23, p เท่ากับ .096, GFI เท่ากับ .99, AGFI เท่ากับ .95, RMR เท่า กับ .0086, RMSEA เท่ากับ .031 และค่าตัวแปรทั้งหมดในกรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 52 ซึ่งสนับสนุนว่ากรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
2. กรอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ด้านการทำงานร่วมมือภาคีเครือข่ายให้เกิดสัมฤทธิ์ผล ต้องมีการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ การประชุมชี้แจง การบูรณาการทุกภาคส่วน และการจัดทำกิจกรรมหรือโครงการร่วมกัน ด้านการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล ต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การรักษาระเบียบวินัย มีความเป็นธรรม และรับฟังความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 4.0 ต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางพัฒนา จัดทำแผนงาน โครงการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนาหลักสูตรเชิงพุทธและนวัตกรรมให้ทันสมัย ต้องมีการจัดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพุทธ จัดการศึกษาวิจัย การประกวด ส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการศึกษา นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่ และทุก ๆ ด้านต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
3. การนำเสนอผลการนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมของทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการร่วมมือภาคีเครือข่ายให้เกิดสัมฤทธิ์ผล ด้านการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 4.0 ด้านการพัฒนาหลักสูตรเชิงพุทธและนวัตกรรมวิชาการให้ทันสมัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้วยหลักอารยวัฒิ 5 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำไปสู่ความเจริญอย่างประเสริฐ และใช้หลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งเป็นหลักธรรมในการพัฒนาบริหารจัดการองค์กรไปขับเคลื่อนแผนงาน โครงการต่าง ๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To analyze the consistency of the causal relationship framework of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province with empirical data. 2. To analyze the causal relationship framework of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province. 3. To present the results of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research was used by survey method to collect data from 420 samples derived from 6,275 monks in the area of 15 districts of Nakhonsawan Province, with questionnaires which had the whole confidence value equal to 0.985. Data were analyzed by using the ready-made program for Social science research. Descriptive statistics was included frequency, percentage, mean and standard deviation. Testing the hypothesis by analyzing the structural equation model. And qualitative research, Data were collected from 17 key informants with structured in-depth interview script that had validity value equal to 1. The data were synthesized for causal relationship framework and evaluated for accuracy, appropriateness and practicality by 8 experts. The results were at highest levels of all aspects. Then the results were analyzed to form a causal relationship framework of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province. Data were also analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Consistency of the causal relationship framework of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province and empirical data In the part of the causal relationship framework were consistent with empirical data, considering from the Chi-Square value was equal to 32.18, df was equal to 23, p was equal to .096, GFI was equal to .99, AGFI was equal to .95, RMR was equal to .0086, RMSEA was equal to .031. All values of variables in the causal relationship framework can explain 52 percent of variance, which supports that the causal relationship framework was consistent with empirical data.
2. Causal Relationship Framework of Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province was that, the work in cooperation with the network partners to result the success, must have clear strategic plan to set strategies and inform all parties concerned to work and carry out all activities together as a holistic body. Good governance development aspect, there must be plans for working together, abiding by rules and regulations, listening to coworkers’ opinions. Information technology 4.0 development aspect, there must be a systematic data base construction, promoting the use of technology to analyze data for new work, new project process to upkeep with the drastic changes. Modern Buddhism and innovation curriculum development, there must be Buddhist innovation promotion by research, study, contest and promote personnel to have higher education so that they will be able to disseminate Buddhism with new technology. There must be monitoring and follow-up the implementation of all activities.
3. Presentation of the Implementation of Strategic Plan for Upgrading the Internal Administration Process of Sangha in Nakhonsawan Province by overall aspects were with the highest average levels. Considering each aspect in 4 areas: cooperation network partners for achievement; development of good governance; Information system 4.0 development; development of modernized Buddhism curriculum and academic innovation; all these 4 aspects were with the highest average levels. There was additional suggestion to drive the strategic plans with the Arayavaddhi 5 which is a principle that leads to great prosperity and Saraniyadhamma 6 which is a principle for organizational management development to implement plans and projects according to the strategic plans in each area.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|