โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCausal Relationship Model of Buddhish Integrate of Effective Management of Local Government in Phichit Province
  • ผู้วิจัยพระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล)
  • ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี, (ฐิตพัฒน์ สิริธโร), รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา22/12/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/899
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 398
  • จำนวนผู้เข้าชม 557

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. เพื่อวิเคราะห์โมเดลจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร 3. เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิจิตร

               การวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร จำนวน 550 คน โดยการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เพื่อแยกประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรออกเป็น 4 ประเภท และการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.978 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครสร้าง (SEM) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และนำโมเดลจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรเข้าสู่การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 รูป/คน เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรมีความสอดคล้องของกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าสถิติ ไค-สแควร์ เท่ากับ 204.64, df เท่ากับ 179, ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.092, GFI เท่ากับ 0.97, AGFI เท่ากับ 0.95, RMR เท่ากับ .013 และRMSEA เท่ากับ 0.006 ค่าตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรได้ร้อยละ 89

               2. โมเดลจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลพุทธบูรณาการ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 2.1 ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ 5 ปัจจัย คือ การบริหารจัดการ, ภาวะผู้นำ, การมีส่วนร่วม, ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ (อิทธิบาท) และบุคลากรที่มีคุณภาพ 2.2 ประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร 6 ด้าน คือ ด้านผลสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายตามข้อบัญญัติ, ด้านผลสำเร็จของการจัดเก็บรายได้, ด้านผลสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย, ด้านผลสำเร็จของโครงการที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นในการจัดบริการสาธารณะ, ด้านผลสำเร็จของโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน และด้านผลสำเร็จของโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด                                                                                                                                                                                                                                                                                           3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 KPA คือ หัวใจของการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย Knowledgeable รอบรู้ Prudent รอบคอบ และAround รอบข้าง ส่วนที่ 2 3GF=B คือ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรมี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 3G = 3Good คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1.1 Good capital ทุนดี ได้แก่ มีภาวะผู้นำ และบุคลากรมีคุณภาพ 1.2 Good process กระบวนการดี ได้แก่ การบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วม 1.3 Good support สิ่งสนับสนุนดี ได้แก่ งบประมาณมีความพอเพียง และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบที่ 2 F = Factors leading to success ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย รักหน้าที่ มีความเข้าใจ ใส่ใจการงาน ไม่ประมาทขาดสติ ดำริ ความพยายาม องค์ประกอบที่ 3 B = Buddhism Integrated Effective Management of LocalAdministrative Organizations in Phichit Province ประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร มี 6 ด้าน ประกอบด้วย บรรลุข้อบัญญัติ จัดเก็บรายได้ เบิกจ่ายพอเพียง ฟังเสียงเครือข่าย แจกจ่ายประโยชน์แก่ส่วนรวม มีส่วนร่วมตามยุทธศาสตร์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The objectives of this research were: (1) to study the correlation of causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of local administrative organizations in Phichit Province with empirical data, (2) to analyze causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of local administrative organizations in Phichit Province and (3) to develop the causalrelationship model of Buddhism Integrated Effective Management of local administrative organizations in Phichit Province .

               The present study was conducted using mixed-methods approach. The samples of the study were 550 people from the populations of 5,818 people working at 102 local administrative organizations in Phichit Province. The sampling method was the multi-stage sampling, consisting of Stratified Random sampling to stratify the local administrative organizations in Phichit Province into 4 groups and then collecting data by simple random sampling, by slot drawing from the questionnaires analyzed data with frequency, percentage and standard deviation, hypothesis testing with Standard Error of Mean, SEM. The qualitative data were collected from structured in-depth interview from 20 key informants and the focus group discussion with 9 participants for the development of the causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in Phichit Province . 

               Findings were as follows:

               1.   Causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in Phichit Province was correlated with the empirical data that could be found from statistical value of qui-square, equal to 204.64, df was at 179, p-value was at 0.092, GFI was at 0.97,AGFI was at 0.95, RM

               2.  Causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in Phichit Province  consisted of: (2.1) 5 factors of causal relationship including administration, leadership, participation, factors leading to success (Itthipadha) and qualified personnel, and (2.2) Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in PhichitProvince consisted of 6 dimensions including the achievement in the set rules, the revenue collection, the budget expenditure, the integration with other organizations to manage public affairs, the useful projects for local administrative arganizations and public which related to the provincial development strategic plans.

               3. Causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in Phichit Province consisted of 2 parts. Part 1 is KPA which is the heart of the organization management in provincial munipicality in Phichit Province. It includes knowledgeablity, prudence and benefits of others. Part 2 is 3GF=B which is causal relationship model of Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations in Phichit Province. There are 3 elements, consisting of 3G or 3Good: good capital, good process and good support. F stands for factors leading to success. The factors are willingness, understanding, attention, carelessness and endeavor. The third element is B which is Buddhism Integrated Effective Management of Local Administrative Organizations.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.56 MiB 398 19 มิ.ย. 2564 เวลา 05:15 น. ดาวน์โหลด