โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model for the Development of Core Competency of Teachers Based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma School, Pali Section, in the Sangha Administrative Region 4
  • ผู้วิจัยพระมหาสุวรรณ สุวณฺโณ (จุลพงษ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี), ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระราชวชิรเมธี, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/945
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 122
  • จำนวนผู้เข้าชม 422

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จำนวน 331 รูป โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยผู้เชี่ยวชาญร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูป/คน แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 รูป/คน

                     ผลการวิจัยพบว่า

                    1. สภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) การบริการที่ดี 3) การพัฒนาตน เอง 4) การทำงานเป็นทีม และ 5) จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก

                     2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม คือ โรงเรียนควรกำหนดแผนการพัฒนาครูให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักเรียน 2) ด้านการบริการที่ดีตามหลักกัลยาณมิตรธรรม คือ โรงเรียนควรปลูกฝังให้ครูมีใจรักในการสอนและตื่นตัวต่อการสอนอยู่เสมอ 3) ด้านการพัฒนาตนเองตามหลักกัลยาณมิตรธรรม คือ โรงเรียนควรมีแผนพัฒนาครูให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมและมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน 4) ด้านการทำงานเป็นทีมตามหลักกัลยาณมิตรธรรม คือ โรงเรียนควรมีกิจกรรมให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรม คือ โรงเรียนควรกำหนดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของครูให้ชัดเจนตามหลักวิชาชีพความเป็นครูแผนกบาลี เพื่อให้โรงเรียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

                     3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตร มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีประ โยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The dissertation entitled “A Model for the Development of Core Competency of Teachers Based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma School, Pali Section, in the Sangha Administrative Region 4” consisted of three objectives: 1) to study the core competency of teachers in Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4; 2) to create a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4; and 3) to assess a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4. The research was divided into three phases namely: 1) The first phase was to study the conditions of competency of teachers in Pariyattidhamma school, Pali section by collecting the data from a sample consisted of 331 students of Pariyattidhamma school, Pali section. The statistics used were frequency, percentage, average and standard deviation (S.D.). The interviews with 17 experts were also employed by means of a structured interview; 2) The second phase was to create a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section by means of a focus group discussion with 9 experts and analyzed the gained data; and 3) The third phase was to assess a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section. The statistics used were average and standard deviation (S.D.) by 17 experts.

               From the study, it was found as follows:

                1. The conditions of competency of teachers in Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4 are divided into 5 aspects as follows: 1) The focus on achievement from work implementation; 2) A good service; 3) Self-development; 4) Teamwork; 5) Ethics and Code of Professional Conduct. The overall aspect was at a high level. When considering each aspect, it was found that self-development was at the highest level with the highest average. While the focus on achievement from work implementation was at a high level with the lowest average.

              2. From a study on a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4, it was found as follows: 1) The focus on achievement from work implementation based on Kalyāṇamitta Dhamma, namely, the school should set a plan for developing teachers to have knowledge and ability in the management of teaching and learning in order to achieve the objectives of the school; 2) Providing a good service based on Kalyāṇamitta Dhamma, namely, the school should cultivate the teachers to have the love in teaching and always be alert in teaching; 3) Self-development based on Kalyāṇamitta Dhamma, namely, the school should have a plan to develop teachers to be knowledgeable, moral, and capable of transferring knowledge to students; 4) Teamwork based on Kalyāṇamitta Dhamma, namely, the school should arrange activities for students to work as a team; and 5) Ethics and Code of Professional Conduct based on Kalyāṇamitta Dhamma, namely, the school should clearly define the duties and responsibilities of teachers in accordance with the teaching profession in Pali section, in order to achieve the school goals.

              3. The results of the assessment of a model for the development of core competency of teachers based on Kalyāṇamitta Dhamma of Pariyattidhamma school, Pali section, in the Sangha Administrative Region 4 found that a model was accurate, appropriate, possible and utilized. The assessment showed the highest level in every aspect.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 19.71 MiB 122 18 ธ.ค. 2564 เวลา 01:12 น. ดาวน์โหลด