โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาผลของความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Result of the Commitment to the Organization according to Sangahavatthu 4 of the Personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel
  • ผู้วิจัยนางสาวชนัญชิดา เกษโกมล
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อานนท์ เมธีวรฉัตร
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  • วันสำเร็จการศึกษา13/04/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/946
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 307
  • จำนวนผู้เข้าชม 454

บทคัดย่อภาษาไทย

               งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับผลของความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance, ANOVA) ในการวิจัยเชิงคุณภาพทำโดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการสรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล

               ผลการวิจัย พบว่า

               1) การศึกษาผลของความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ความผูกพันต่อองค์กรก่อให้เกิดความไว้วางใจกันมีระดับดีที่สุด และด้านช่วยแก้ไขหรือลดความขัดแย้งน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่า ผลของความผูกพันก่อให้เกิดความไว้วางใจกันมากที่สุด

               2) เปรียบเทียบผลของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลโดยภาพรวมพบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

               3) แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาเป็นเกณฑ์ในการประกาศยกย่อง ให้รางวัลตอบแทน ความดีให้บุคลากรในสำนักงานฯ ได้รับรู้เพื่อเป็นการสร้างแรงบัน ดาลใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรที่นำมาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันต่อเนื่องเป็นประจำ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนในการวางตน มีความยุติธรรม และเป็นผู้มีวาจาสุภาพ เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกัน ไม่ปิดกั้นการสื่อ สารของบุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร และการสื่อสารด้วยข้อมูลที่ไม่บิดเบือนเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ควรจัดให้มีกลุ่มร่วมกันปรึกษา หารือแนวทางในการพัฒนาคุณ  ภาพชีวิตการช่วยเหลือกันเกื้อกูลกันทั้งในด้านการเงินและการใช้จ่ายอย่างประหยัด ด้านการพอเพียง การมีตัวแทนกลุ่มที่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่ม ควรมีการจัดกิจกรรม วิทยากรอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากความเป็นส่วนตัวมาเป็นพฤติกรรมเพื่อส่วนรวม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The purposes of this research were as follows: 1) to study the level of the commitment to the organization according to Sangahavatthu 4 of the personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel. 2) To compare the effect of the commitment to the organization according to the Sangahavatthu 4 of the personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel. 3) To propose guidelines for enhancing the commitment to the organization according to Sangahavatthu 4 of the personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel. he sample of this study consisted of 123 respondents. This research consisted of Quantitative Research and Qualitative Research. The reliability is 0.95. Data analysis was frequency, percentage, mean, standard deviation. Compare by testing hypotheses by t-test and Analysis of Variance (ANOVA). Qualitative research was done by interviews with 12 key informants, After that, the data obtained is summarize, analyze and synthesize the data.

               The research found that

               1) The study of the level of organization commitment to Sangahavatthu 4 of the personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel. In all aspects, it was found that overall is at a medium level.

           2) Compare of the results of the organizational commitment of personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel. Classified by personal information Overall, it was found that personnel with gender, age, education level, income, working period, position level were not significantly different at the level of 0.05, therefore rejected the research hypothesis.

           3) Guidelines for enhancing the organizational commitment of personnel, Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel Sangahavatthu 4 should be used as a criterion in the commendation Reward Goodness for personnel in the office Has been recognized in order to inspire work performance among personnel who are used to work and continue daily life on a regular basis Executives must be a good role model for all subordinates in their positions. Be fair And being a polite person Allowing subordinates to express their opinions And accepting opinions from subordinates Should provide opportunities for personnel to receive equal information Not blocking the communication of personnel is an important factor that creates a commitment to the organization. And data communication without distortion is 2-way communication. There should be a group to consult together. Discuss ways to improve the quality of life, help each other, both financially and economically. Sufficiency Having a trusted group representative from the group Should have activities Lecturer training to change behavior from privacy to behavior for the public.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 8.49 MiB 307 22 มิ.ย. 2564 เวลา 04:00 น. ดาวน์โหลด