-
ชื่อเรื่องภาษาไทยนรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHell and Heaven in Theravada Buddhism
- ผู้วิจัยพระมหาสมจินต์ สมฺมาปญโญ (วันจันทร์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
- ที่ปรึกษา 2อาจารย์สมภาร พรมทา
- วันสำเร็จการศึกษา07/12/1990
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/953
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 571
- จำนวนผู้เข้าชม 3,293
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์โลกศาสตร์ และวรรณกรรมพุทธศาสนายุคปัจจุบันบางส่วน ทั้งนี้เพื่อนำเสนอทฤษฎีเป็นการยืนยันว่า นรกและสวรรค์มีอยู่จริงทั้งที่เป็นสถานที่ (รูปธรรม) และภาวะทางจิตใจ (นามธรรม) และนำเสนอวิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ตั้งแต่ยุคคัมภีร์พระไตรปิฎกมาจนถึงยุคปัจจุบัน
ในการศึกษา ผู้วิจัยได้แบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 5 บท โดยเริ่มศึกษาแนวคิดเรื่องโลกในแง่ที่เป็นสังขารธรรมคือสัตว์สิ่งของที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น และในแง่ที่เป็นสถานที่อยู่อาศัยของสัตว์สิ่งของเหล่านั้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “ปรโลก” กับกำเนิด ต่อจากนั้นจึงศึกษานรกและสวรรค์ในคัมภีร์พระไตรปิฎก นรกและสวรรค์ในคัมภีร์โลกศาสตร์ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดของบุคคลในพุทธศตวรรษที่ 15-20 และศึกษานรกและสวรรค์ใน วรรณกรรมพุทธศาสนายุคปัจจุบันซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดของคนรุ่นใหม่
ผลของการศึกษาพบว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกมีเรื่องนรกและสวรรค์มาก เฉพาะในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค) เพียงเล่มเดียว กล่าวถึงนรก 46 ครั้ง และกล่าวถึงสวรรค์ 75 ครั้ง ข้อความที่ว่าด้วยเรื่องนรกและสวรรค์เหล่านี้ มักจะเป็นการกล่าวสรุปถึงคติ(ที่ไป) ที่บุคคลผู้ทำความชั่วและความดีจะต้องไปเกิดหลังการตาย ส่วนข้อความที่ว่าด้วยเรื่องนรกและสวรรค์อย่างพิสดารทั้งในด้านลักษณะและประเภท มี ปรากฏเช่นกัน แต่ไม่มากนัก คัมภีร์พระไตรปิฎกยังกล่าวถึงนรกและสวรรค์ที่เป็นภาวะทางจิตใจอีกด้วย
คัมภีร์โลกศาสตร์กล่าวถึงนรกและสวรรค์เฉพาะที่เป็นสถานที่อยู่อาศัยเท่านั้น โดยประมวลสรุปแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฏีกา และปกรณ์วิเสส ทำให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ในยุคต่อมา เริ่มคลาดเคลื่อนไปจากคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้ว ส่วนแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ในวรรณกรรมพุทธศาสนายุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายที่เห็นว่า นรกและสวรรค์มีอยู่จริงทั้งในฐานะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และในฐานะเป็นภาวะทางจิตใจ การศึกษาจึงควรให้ความสำคัญทั้ง 2 ประการ
2. ฝ่ายที่เห็นว่า นรกและสวรรค์ที่เป็นภาวะทางจิตใจเท่านั้นมีอยู่แน่นอน สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน มีอยู่ในปัจจุบันนี้ และควรให้ความสำคัญเฉพาะนรกและสวรรค์ในแง่นี้เท่านั้น ส่วนนรกและสวรรค์ที่เป็นภพ-ภูมิในชาติหน้านั้นอยู่ที่ไหนไม่มีใครรู้ จึงไม่ควรให้ความสำคัญและศึกษาตาม
ผู้วิจัยเห็นว่า ทรรศนะที่มีจุดเน้นแตกต่างกันอย่างนี้ น่าจะมีการผสมผสานให้กลมกลืนกันเพื่อให้อนุชนเห็นความสำคัญทั้งนรกและสวรรค์ที่เป็นสถานที่ และที่เป็นภาวะทางจิตใจ เพราะนรกและสวรรค์ทั้ง 2 สถานะ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา มีความสำคัญในฐานะเป็นปริยัติสัทธรรม แม้ว่านรกและสวรรค์ที่เป็นสถานที่อยู่อาศัย จะไม่สามารถนำมาพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ชัดได้ แต่เมื่อนำทฤษฎีโลก 3 ทฤษฎีปรโลก ทฤษฎีกำเนิด 4 ทฤษฎีเทพ 3 และทฤษฎีอภิญญา 6 มาศึกษาประกอบแล้ว ทำให้สามารถยืนยันได้อย่างสมเหตุสมผลว่า นรกและสวรรค์ที่เป็นสถานที่ในชาติหน้ามีอยู่จริงในฐานะเป็นองค์ประกอบของสังสารวัฎ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purpose of this thesis is to study the concepts of hell and heaven in Theravada Buddhism by means of the suorces which are Tripitaka scriptures, world science scriptures and some modern Buddhist literary works, to present the theory confirming that the hells and the heavens really exist as both lodging places and mental states, and to give the pictures of the development of the concepts of hell and heaven in Theravada Buddhism from ancient age to present.
In studying, the subject matter is devided into 5 chapters. Anexamination bigins with an interpretation the worlds as the worlds of formation and location. Then the researcher shows that the ideas of worlds-beyond are related to the ideas of Four Kinds of birth in Buddhism. Finally, the researcher will take the concepts of hell and heaven in Tripitaka scriptures, world science scriptures and modern Buddhist literary works to an investication.
World science scriptures can be viewed as an idea reflection of the 10th-15th century Buddhists, and modern Buddhist literary works as a belief reflection of the contemporary Buddhists.
As the results of study, we find that there are so many hell and heaven stories in Tripitaka scriptures. Only in the eighteenth volume of Tripitaka scriptures the hell is mentioned fuorty-six times, andheaven seventy-five times. It is remarkable that these hell and heaven statements usually denote the places where a sinful or virtuous man will take place after death. There so few hell and heaven statements in Tripitaka scriptures denote hells and heavens as the mental states or give the detailed pictures of the hells and heavens as in world science scriptures.
In world science scriptures the hells and heavens are mentioned as lodging places only. Comparing the concepts of hell and heaven in Tripitaka scriptures with the concepts of hell and heaven in latter scriptures, we find that there are some misconceptions about hell and heaven among some Buddhists who wrote latter scriptures.
The concepts of hell and heaven in modern Buddhist literary works can be devided into two gruops:
1. Hells and heavens both lodging places and mental states.
2. Hells and heavens as only mental states.
According to the researcher, these different concepts are not contradictory, The hell and heaven teachings are the besic Themes of Buddhism. Though no one can empirically verify the hell and heaven statements in Buddhism, but by a coherence of the teachings related to hell and heaven concepts in Buddhism we can say that the hells and the heavens have their significances as a factor of Karma and Rebirth.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 29.25 MiB | 571 | 22 มิ.ย. 2564 เวลา 05:11 น. | ดาวน์โหลด |