โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Process of Leadership Development for Peace according to Buddhist Integration Miss Kulatida Limcharoen
  • ผู้วิจัยนางสาวกุลธิดา ลิ้มเจริญ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/954
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 339
  • จำนวนผู้เข้าชม 390

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ” มีวัตถุ  
ประสงค์ 3 ประการ
(1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพในวิทยาการสมัยใหม่และในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ (3) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 7 รูป/คน นำข้อมูลที่บันทึกมาสรุปในแต่ละประเด็น และทำการจัดหมวดหมู่เพื่อหาคำตอบตามเนื้อหาของการวิจัย

               ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพในวิทยาการสมัยใหม่ ต้องเป็นผู้นำที่เคารพในชีวิตของเพื่อนร่วมโลก ตระหนักถึงภัยที่ไม่มีที่สิ้นสุดของการใช้ความรุนแรง มุ่งเน้นความสัม พันธ์ของสังคมในเชิงพหุนิยม การเคารพความแตกต่าง และการใช้ลักษณะของความแตกต่างให้เกิดการสร้างสรรค์ มีความร่วมมือร่วมใจกันและกัน มีสัจจะ และสัจจะก็คือพระเป็นเจ้า ไม่มีความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามอยู่ในใจ ไม่เกลียดชังผู้อื่น ต้องเป็นศัตรูต่อความชั่ว และความอยุติธรรมต่างๆ การต่อสู้กับความอยุติธรรมเหล่านี้จักต้องใช้อหิงสาเป็นหลัก และพร้อมที่จะเผชิญกับความทุกข์ยากในลักษณะต่างๆ ผู้นำในกระบวนการสันติภาพนั้น ต้องมี 3 ระดับ คือ ส่วนยอดของปิรามิด ตัวแสดงหลักจะได้แก่ผู้นำที่มีบทบาทอย่างชัดเจนในวิกฤตการณ์ความขัดแย้ง ภาวะผู้นำในชั้นที่สองมีฐานะหลากหลายในพื้นที่ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่ได้รับการนับหน้าถือตาในแวดวงต่าง ๆ อาทิเช่น การศึกษา สาธารณสุข ธุรกิจ การเกษตร เป็นต้น หรืออาจเป็นกลุ่มเครือข่ายหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา วิชาการ หรือองค์กรสาธารณกุศลเพื่อ และผู้นำในระดับชั้นรากหญ้า (ฐานปิรามิด) ตำแหน่งแห่งที่และบทบาทของพวกเขาไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการมีสถานะทางสังคมที่สำคัญและความมีชื่อเสียงเหมือนผู้นำในระดับชั้นแรก ด้วยจุดนี้นี่เองที่ทำให้การทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งของพวกเขาค่อนข้างยืด หยุ่นมากกว่า สำหรับชั้นสุดท้ายอันเป็นฐานของปิรามิด ผู้นำในระดับนี้จึงมีบทบาทอย่างสำคัญในงานที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้คน พวกเขาอาจเป็นผู้นำชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ หรือคนทำงานของเอ็นจีโอท้องถิ่น ซึ่งทำงานเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือชาวบ้านในแง่มุมต่างๆ

               ผลการวิจัยแนวคิดภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่าส่วน ภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพในพุทธศาสนานั้น 1) จักขุมา คือ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองสภาพเหตุ การณ์ออกและจะวางแผนเตรียมรับหรือรุกได้อย่างไร 2) วิธุโร คือ เป็นผู้ชำนาญในงาน รู้จักวิธีการ ไม่บกพร่องในหน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบ 3) นิสสยสัมปันโน คือ เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและได้รับความเชื่อถือจากผู้อื่น โดยมีตัวอย่างหลักธรรมที่สำคัญซึ่งผู้นำควรจะมีได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม 7 โดยต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และหลักภาวนา 4 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าว องค์ธรรมที่ เป็นคุณสมบัติของผู้นำ ท่านได้กล่าวถึง สัปปุริสธรรม 7 ประการ มีดังต่อไปนี้ คือ รู้หลักการ รู้จุดหมาย รู้จักตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน รู้บุคคล

               กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการนั้น พบว่า แนวทางในการพัฒนาภาวะเพื่อสันติภาพ สามารถบูรณาการได้ 4 มิติการพัฒนา คือ (1) กายภาพ การพัฒนาบุคลิก ภาพ เพราะบุคลิกภาพเป็นภาพสะท้อนคุณค่าภายใน โดยใช้ศีลเป็นเครื่องมือในการพัฒนา (2) พฤติภาพ การพัฒนาพฤติกรรม อันเป็นการการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบการสื่อสารในองค์กร มุ่งสื่อการสื่อสารเชิงบวก สามารถจัดการความขัดแย้ง และหลอมร่วมให้กลุ่มคนต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 (3) จิตภาพ การพัฒนาจิตใจจะส่งผลให้จิตใจมีสุขภาพจิตดี สมรรถภาพจิตดี และคุณภาพจิตดี มีจิตใจเสียสละ มีจิตสาธารณะพร้อมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยใช้หลักสติปัฏฐาน 4 (4) ปัญญาภาพ แนวทางการพัฒนาประกอบด้วยการรู้จักวิเคราะห์และเข้าใจสภาพต่างตามสภาพที่เป็นจริง โดยใช้หลักอริยสัจ 4

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation entitled ‘A Process of Leadership development for Peace according to Buddhist Integration’ has three objectives: 1) to study the ideas concerning leadership for peace in modern sciences, 2) to study the ideas concerning leadership for peace in Buddhist scriptures, and 3) to develop and propose the process to develop the integrated Buddhist  leadership for peace. This research employed the qualitative method done by studying related research works, interview of 22 scholars and focus groups discussion of 7 people and then the collected data were analyzed to answer the given research questions.

In the research, it was found that according to modern sciences the ideas on leadership for peace means a person whose leadership was respected by worldly friends where the awareness of endless danger is prioritized; in solving the existing violence he/she makes use of the plural society relationship, respect for differences and creative utilization of such differences for mutual cooperation whereby truthfulness and non-bias over the opposite sides are followed up. Instead of fighting one another he/she together fights against social injustice through non-violent means and furthermore he/she becomes ready to encounter with various difficulties.

As far as the research on the ideas of leadership for peace in Buddhist scriptures is concerned, it shows that the leader for peace must comprise of the following aspects: 1) he/she must have good vision, 2) he/she must have expertise in the required works and its methods where the given responsibility is properly observed, 3) he/she must have good public relationship and gains due respect from others. In this matter, the seven good virtues for being a good person, four bases of social solidarity and five precepts are necessary to be followed. Besides, three-fold training and four types of development are also essential in getting the mentioned leadership developed.

With respect to the process to develop the integrated Buddhist leadership for peace, four dimensions are required: 1) in physical one, the personality should be developed through precepts because it by nature reflects upon the internal value, 2 in behavioural one, the development of behaviour leads to the positive communication whereby the conflict solution can be actualized through seven good virtues for being a good person in harmonizing various groups of people where they can work together happily, 3) in mental one, the development of mind will give rise to the healthiness of mind in terms of its potentiality and quality and thereby bringing public mind to them wherein they can provide their hands to support one another through four foundations of mindfulness,  and 4) in intellectual one, to get this dimension developed one should be able to analyze and understand various situations as they are through three-fold training. In conclusion, the leadership for peace must satisfy the following processes: 1) first level needs self-administration whereby the body, speech and mind are mindful according to threefold training, 2) the second level requires the administration on the relationship with others, 1) administration of worldly things, 2) taking time and place into account before delivering any words according to seven good virtues for being a good person, and 3) living life peacefully and it needs two conditions: 1) negotiation is life, and 2) conciliation is life respectively.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.52 MiB 339 22 มิ.ย. 2564 เวลา 05:25 น. ดาวน์โหลด