-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการการดำเนินคดีพระสงฆ์ที่พึงประสงค์ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Desirable Process for Prosecuting Monks in the Present Thai Society
- ผู้วิจัยนายสุรพงษ์ สิทธิกรณ์
- ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติกวี, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/955
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,919
- จำนวนผู้เข้าชม 277
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค การดำเนินคดีของพระสงฆ์ตามกระบวนการศาลยุติธรรมในสังคมไทย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค การดำเนินคดีของพระสงฆ์ตามกระบวนการศาลยุติธรรมในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาวิธีระงับอธิกรณ์ของพระสงฆ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการการดำเนินคดีพระสงฆ์ที่พึงประสงค์ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive random sampling) จำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยจำแนกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ประกอบด้วย พระสังฆาธิการ พระวินยาธิการ อัยการ ตำรวจ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ทนาย ความ ผู้ต้องหาหรือจำเลย นักวิชาการด้านกฎหมายและนักวิชาการด้านพุทธศาสนา เครื่องมือวิจัยใช้การศึกษาข้อมูลทางด้านเอกสาร (document research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดสัมมนาทางวิชาการ (seminar group) ใช้กระบวนการตรวจสอบสามเส้า (Triangulations) วิเคราะห์ข้อมูลโดย การตีความ (interpretation) ทำการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ซึ่งได้จากการศึกษาเอกสาร (Document Research) โดยคำนึงถึงบริบท (context) และใช้การเขียนข้อความแบบบรรยาย (descriptive)
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1) การดำเนินคดีกับพระสงฆ์ ควรใช้หลักตามพระธรรมวินัยก่อน และหากพระสงฆ์ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อสึกแล้วควรใช้วิธีการดำเนินคดีเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป แต่ปัจจุบันการออก พระราชบัญญัติสงฆ์ พุธศักราช 2561 ในหมวด 3-4 ว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งตีความว่าพระสงฆ์เป็นเจ้าพนักงานทางการปกครอง เมื่อกระทำผิดกฎหมายอาญาต้องนำพระสงฆ์ขึ้นสู่ศาลทุจริตประพฤติมิชอบ ที่มีวิธีการพิจารณาความแบบระบบไต่สวนตั้งประเด็นเอาผิดผู้ต้องหาหรือจำเลย อันส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้คดียาก ศาลจะรับฟังพยานเอกสารภาครัฐมากกว่าฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลยทำ ให้ พระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหามีโอกาสสู้คดีให้พ้นจากความผิดยาก จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในประเด็นดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้แสดงความบริสุทธิ์ โดยยึดตามพระธรรมวินัยของพระ พุทธเจ้าเป็นที่สุดตามพระธรรมวินัยที่ปรากฏในพระไตรปิฎกก่อน
2) การสึกพระโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงฆ์ พุทธศักราช 2561 มาตรา 29 และ 30 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มีอำนาจจัดการให้พระสงฆ์รูปนั้นสละสมณะเพศได้ แม้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่อาบัติปาราชิกก็ตาม เป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวน หรือพนัก งานอัยการ มากกว่าที่พระธรรมวินัยกำหนดไว้
3) กระบวนการการดำเนินคดีพระสงฆ์ ควรมีผู้พิพากษาสมทบที่เป็นพระสงฆ์หรือผู้มีความรู้ด้านพุทธศาสนา ร่วมในการพิจารณาคดีด้วย เพราะบริบทของพระแตกต่างกลับประชาชนทั่วไป หากมีการสึกพระในระหว่างพิจารณาคดี แม้จะมีคำพิพากษาแต่ยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม เมื่อในที่สุดศาลสุดท้ายพิพากษายกฟ้อง พระสงฆ์ก็ยากที่จะได้รับการเยียวยา ให้กลับมาสู่สถานะเดิมได้ อันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเสียหายต่อพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation entitled “The Desirable Process for Prosecuting Monks in the Present Thai Society” consisted of three objectives: 1) to study the current condition of problems and obstacles of the prosecution of monks in accordance with the process of the Court of Justice in Thai society; 2) to study the means for settling disciplinary cases (Adhikaraṇa) of monks in Theravada Buddhist scriptures; and 3) to present the desirable process for prosecuting monks in the present Thai society. This was a qualitative research by using the purposive random sampling. The key informants consisted of the Sangha administrators, rule-keeper monks, prosecutors, polices, inquiry officials, lawyers, defendants, legal scholars and Buddhist scholars, in a total of 15 persons. The research instruments used were documentary research, in-depth interview and seminar group by employing the triangulations method. The data were analyzed by means of interpretation, inductive conclusion, and content analysis, derived from the study of documents by considering the context and presented in the descriptive method.
From the study, it was found as follows:
1) The prosecution of a monk should be according to the Vinaya rules and if he commits major offences and has to disrobe, he should also be treated and prosecuted the same way as ordinary people. However, at present, the Sangha Act B.E. 2561 (2018) in Section 3-4 on the Sangha Administration has interpreted that monks are administrative officials, which means, when a criminal offense is committed, a monk must be brought to the criminal court for corruption and misconduct cases which has an inquisitorial system of trial by raising the issue against the accused or the defendant, causing the accused or the defendant to fight a difficult case. The court will consider more the documents from the governmental units than from the accused or defendant, giving the accused monk less opportunity to defend himself from the accusation. Therefore, the law should be revised on these issues based on the Vinaya rules according to the Tipiṭaka in order to allow monk to demonstrate their innocence.
2) The disrobement of monk by the results of the law under the Sangha Act B.E. 2560, Section 29 and 30 have granted the inquiry officials or the prosecutors the authority to force the monk to leave monkhood, even though he has not committed any major offences. This represents the authority that has been given to the inquiry officials or the prosecutors more than what the Vinaya rules specify.
3) The process of prosecution of monks should include a lay judge who is a monk or those with knowledge of Buddhism in the trial because the context of the monk is different from the general public. If a monk is made to disrobe during the trial even if the verdict is not yet final, but when the final court dismisses the case, it causes difficulties for a monk to get healed and return to the old position, causing injustice and damage to Buddhism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.35 MiB | 1,919 | 22 มิ.ย. 2564 เวลา 05:36 น. | ดาวน์โหลด |