-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of a Casual Model of Happiness from Vipassana Meditation based on Buddhist Psychology
- ผู้วิจัยนางสาวพุธิธาดา เดชพิทักษ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
- วันสำเร็จการศึกษา22/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/971
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 373
- จำนวนผู้เข้าชม 227
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดของวิปัสสนากรรมฐานและความสุขตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อตรวจสอบความตรงและนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสา เหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้เชี่ยว ชาญทางด้านพุทธจิตวิทยา จิตวิทยา อภิธรรมและวิปัสสนาจารย์ จำนวน 14 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและ ทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2) ปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 3) ธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐาน 4) ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ได้แก่ 1) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2) ปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตัวแปรแฝงภายใน 2 ตัว ได้แก่ 1) ธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐาน 2) ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยพบความเชื่อมโยงของตัวแปร ดังต่อไปนี้ 1) ความเชื่อม โยงระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับความสุข 2) ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับความสุข 3) ความเชื่อมโยงระหว่างธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรมกับความสุข 4) ความเชื่อมโยงระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรม และ 5) ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรม
3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแน พุทธจิตวิทยา พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยมีค่าไค-สแควร์ (X²) = 84.38 องศาอิสระ (df) = 76 ความน่าจะเป็น (p) = .24 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) = 0.017 ทั้งนี้ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .92 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องอาศัยธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐานเป็นตัว แปรส่งผ่านจึงจะทำให้เกิดความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย คือ ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา 4 = การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 4 + ธรรมเกื้อกูล 3 + ปัจจัยแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 5
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study aimed 1) to study the concepts of Vipassana meditation and happiness based on Buddhist Psychology; 2) to construct the casual model of happiness from Vipassana meditation based on Buddhist Psychology; and 3) to validate and propose the casual model of happiness from Vipassana meditation based on Buddhist Psychology. The study was a mixed method research using the quantitative research in order to support the results of the qualitative research. Key informants consisted of 14 specialists in Buddhist psychology, psychology, Abhidhamma pitaka and Vipassana meditation selected by a purposive sampling method. For the quantitative research 402 respondents of population were selected by a random sampling method. The tools of data collection in the study included an in-depth interview and questionnaire. The data analysis for the qualitative study was based on the content analysis and analytic induction. The quantitative data was analyzed by descriptive statistics and correlation analysis was done by a computer program, and LISREL was used to validate the casual relationship model with mediator and the direct and indirect effects as well. The results of the study revealed as follows:
1. The casual model of happiness from Vipassana meditation based on Buddhist Psychology consisted of 4 variables, 1) Vipassana meditation practice, 2) Environmental factors during practicing, 3) the Dhamma supporting Mindfulness-based meditation, 4) the happiness based on Buddhist Psychology.
2. The casual model of happiness from Vipassana meditation based on Buddhist Psychology included 2 exogenous latent variables comprising 1) Vipassana meditation practice, and 2) environmental factors during practicing, and 2 endogenous latent variables including 1) the Dhamma supporting Mindfulness-based meditation, and 2) the happiness based on Buddhist Psychology.
3. The validity of the casual model of happiness from Vipassana meditation based on Buddhist Psychology aligned with the empirical data revealed that the chi-square (x2) was 84.38, degree of freedom (df) as 76, the probability as 0.24, and the root mean square error of approximation (RMSEA) was 0.017. The happiness based on Buddhist Psychology got the direct effect from environmental factors while practicing was equal to 0.92 at the significantly statistical level of .01. While variable Vipassana meditation practice would have to have happiness if there was the Dhamma supporting as a mediator. Moreover, the knowledge from this research is happiness based on Buddhist Psychology 4 = Vipassana meditation 4 + Dhamma supporting Mindfulness-based meditation 3 + Environmental factors during practicing 5
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.54 MiB | 373 | 23 มิ.ย. 2564 เวลา 03:43 น. | ดาวน์โหลด |