โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านงานพุทธศิลปกรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes in Buddhist Art
  • ผู้วิจัยพระนิตินันต์ สนฺตกาโย (บุญสิริพิพัฒน์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
  • วันสำเร็จการศึกษา25/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/975
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 401
  • จำนวนผู้เข้าชม 254

บทคัดย่อภาษาไทย

               การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านงานพุทธศิลปกรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพุทธศิลปกรรม หลักธรรมและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการรู้คิดและปัญญา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านพุทธศิลปกรรม (3) เพื่อนำเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านพุทธศิลปกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research Method ที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร (Document Research) การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้อแนวคำถามสัมภาษณ์รวมทั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ด้านพุทธศิลปกรรม ด้านประวัติศาสตร์พุทธศิลปกรรม ด้านพุทธศาสนา ด้านจิตวิทยาศิลปะ และด้านศิลปะบำบัด และนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปแบบอุปนัยแล้วเขียนพรรณนา

               ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาพุทธศิลปกรรม หลักธรรมและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการรู้คิดและปัญญา ประกอบด้วย 1. การศึกษาด้านพุทธศิลปกรรม เจาะจงที่ศึกษาเฉพาะในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย งานพุทธจิตรกรรม งานพุทธประติมากรรม และงานพุทธสถาปัตยกรรม และค้นพบว่าพุทธศิลปกรรมถูกสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการคิดด้วยหลักสุนทรียศาสตร์ หลักสัญญศาสตร์และหลักพุทธธรรม  2. การศึกษาด้านกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธ พบว่าต้องอาศัยหลักพุทธธรรม คือหลักโยนิโสมนสิการ/ปรโตโฆษะ หลักขันธ์ 5 หลักสัทธรรม 3 หลักปัญญา 3 และหลักสติ 3. การศึกษาด้านกระบวน การรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าต้องอาศัยหลักทฤษฏีการเรียนรู้และรับรู้ของจิตวิทยาการู้คิดและปัญญาของกลุ่มเกสตอลส์

               การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านพุทธศิลปกรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านงานพุทธศิลปกรรม อธิบายกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาวิเคราะห์ผ่านหลักขันธ์ 5 ได้ว่า กระบวนการจะเริ่มต้นจากการรับรู้สู่การคิด เกิดขึ้นโดยอายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายใน เรียกได้ว่ามีการรับรู้หรือเกิดผัสสะ อายตนะประสบอารมณ์เช่นนั้น จึงทำให้เกิดวิญญาณ คือความรู้ต่ออารมณ์นั้น ต่อจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการรับรู้ไปสู่ปัญญา เมื่อเกิดการรับรู้ สัญญาก็จะเกิดขึ้น คือมีความหมายรู้อารมณ์ ว่าสูข หรือ ทุกข์ เรียกว่า เวทนา ต่อเนื่องไปถึง สังขาร หรือการปรุงแต่งให้บุคคลคิด พูดหรือทำ ไปในทางกุศลหรืออกุศล นำไปสู่ปัญญาที่รู้แจ้ง รู้เห็นตามความเป็นจริง ปรโตโฆษะที่ดีชักนำไปสู่ศรัทธาเชื่อต่อการคิดเองได้และช่วยเป็นสื่อนำด้วยโยนิโสมนสิการ นำไปสู่การสร้างศรัทธาที่ก่อให้เกิดโยนิโสมน สิการ ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการเรียนรู้ ให้มีการพัฒนาปัญญาเริ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการคิดที่ใช้ปัญญา นำไปสู่การแก้ปัญหา เป็นทางแห่งการดับทุกข์ได้

               การนำเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านพุทธศิลปกรรม ได้โดยใช้แผนภาพ  การทำหน้าที่ของแผนภาพปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาตามแนวพุทธจิตวิทยาผ่านพุทธศิลปกรรม เป็นการสื่อสารให้เกิดกระบวนการรู้คิดและปัญญาระหว่าง 2 บุคคล และ 1 วัตถุ คือ กัลยาณมิตร พุทธศาสนิกชน/คฤหัสถ์ และพุทธศิลปกรรม ซึ่งพุทธ ศาสนิกชน/คฤหัสถ์มีความศรัทธาเป็นเบื้องต้นจะได้รับความรู้จากกัลยาณมิตร โดยนำพุทธศิลปกรรมใช้เป็นสื่อในการให้ความรู้ โดยผ่านหลักธรรมและทฤษฏีเกสตอลส์ด้วยกฎการจัดวางระเบียบเข้าด้วยกัน 4 ข้อ (The law of organization) แล้วเข้าสู่กระบวนการรู้คิดและปัญญา ตามแนวพุทธจิตวิทยาวิเคราะห์ผ่านหลักขันธ์ 5 เป็นการเข้าสู่การรับรู้ภายใน ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการรู้คิด และเกิดปัญญาเกิดขึ้นโดยตามลำดับ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The research on Buddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes in Buddhist Art comprises to Buddhist Psychology Factors Influencing Cognitive Processes in Buddhist Art

               The purposes of this research are (1) to study the Concept of Buddhist Art,  Buddhist Principle and Buddhist psychology principle which related to Cognitive Processes. (2) ) to study Buddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes in Buddhist Art. (3) to present of Buddhist Psychology Factors Influencing Cognitive Processes in Buddhist Art. This is a qualitative research in nature. The researcher uses an in-depth interview from the key informants who are scholars, specialists in the Buddhist Art, academics in the fields of psychology and Buddhism and a focus group discussion. A content analysis and inductive analysis with the descriptive explanation are used for analyzing data.

               The Result of Research was found as follows:

               From a study the Concept of Buddhist Art, Buddhist Principle and Buddhist psychology principle which related to Cognitive Processes. Firstly, It found three purposive sampling to study the Concept of Buddhist Art that was comprised of Buddhist Mural Painting,  Buddhist Sculpture, Buddhist Religious Architecture. The three main methdologies of creatable Buddhist Art have been identified as Aesthetic, Semiology, and Buddhist Principle. Secoundly, Buddhist Principle had been found as a factor Generating Cognitive Processes that consisted of Another’ s Utterance and Reasoned Attention, Five Aggregates, Essential Doctrine, Knowledge, and Consciousness. Thiredly, Study in Cognitive Processes wrere found that it was indeed important to used Learning and perception theory of Gestalt Psychology.

                Buddhist Psychology Factors Influencing Cognitive Processes by anlysis of  Five Aggregates was described that external sense-field againted internal sense-field was occurred perception. Both sense-fields produced consciousness to acknowledge emotions. From this stage continuous to perceptual process through wisdom process. When perception ocured then mental formations also were produced and felt happiness or sadness that was called sensation. Next to mental formations appear, a person wiil be able to thinking, speaking and perfroming both googness and badmess. Final of this processes influence wisdom that is the truly understanding base on the truth. Good Another’ s Utterance lead to faith then Reasoned Attention also direct to faith. Reasoned Attention was a beginning of learning to develop wisdom.  When cognition was arrived, thinking to correctly solve the problem will be lead to diaapear the suffering.

               Buddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes in Buddhist Art was presented by diagrame. The function of  diagrame was communicated by True Frined, Secular and Buddhist Art. Faithful Seculars learnt knowledge according to used Budddhist art as a tool to teaching Dhumma that intregrated with The Law of Organization of Gestalt Psychology. This stage transferred to Buddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes by anlysis of Five Aggregates to internal perception through Cognitive Processes at the end.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9.17 MiB 401 23 มิ.ย. 2564 เวลา 03:57 น. ดาวน์โหลด